สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
วันที่ประชุมจัดการความรู้ 17 มกราคม 2556 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องรับรอง ๑ อาคารอำนวยการ
ผู้จดบันทึก
อ. จริยาพร วรรณโชติ
อ.นุชนาถ ประกาศ
อ.สุภา คำมะฤทธิ์
ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้
- อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
- อ. สาคร พร้อมเพราะ
- อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
- อ. ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล
- อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
- อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
- อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
- อ. ดร ทองสวย สีทานนห์
- อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
- อ. ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
- อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
- อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
- อ. นุชนาถ ประกาศ
- อ. จริยาพร วรรณโชติ
- อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
- อ. สุภา คำมะฤทธิ์
- อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
- อ. อรพรรณ บุญลือ
การใช้กระบวนการพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพยาบาล การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเป็น 1 ใน 5 ขั้นตอน ที่พบว่านักศึกษาพยาบาลมีปัญหามากที่สุด จึงเป็นที่มาของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในภาควิชา ในการแลกเปลี่ยเรียนรู้ครั้งแรกนี้เป็นการค้นหาปัญหาที่แท้จริงจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ2 ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จากกการสอบถามนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในครั้งนี้ นักศึกษาได้เขียนบรรยายถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
1.ปัญหาที่นักศึกษาพบจากการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.1.การเรียบเรียงข้อวินิจฉัยการพยาบาลไม่ถูกต้อง สับสนกับการใช้ภาษาเขียน หาเหตุผลประกอบไม่ถูก ทำให้ไม่กล้าตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.2.ความครอบคลุม ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม การตั้งให้ครบองค์รวมทำได้ยาก
1.3. ความรู้ไม่พอ ไม่ค่อยอ่านหนังสือ ขาดความรู้เรื่องพยาธิสภาพของโรค หนังสือห้องสมุดบางครั้งไม่เพียงพอ และบางครั้งหาพยาธิสภาพมาเชื่อมต่อกับข้อวินิจฉัยการพยาบาลไม่ได้
1.4. ข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอ เพราะรวบรวมข้อมูลไม่เป็น ไม่ครบถ้วน แปลความหมายของข้อมูลไม่ถูกต้อง แปลและวิเคราะห์ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ถูกต้อง ไม่มีแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ดูAssignment ไม่ครบถ้วน อ่านข้อมูลในChart ผู้ป่วยไม่ออกหรือไม่เข้าใจ มีปัญหาซักถามข้อมูลจากผู้ป่วยไม่ได้และไม่พบญาติ ข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้ไม่สอดคล้องกับข้อวินิจฉัยปัญหาของผู้ป่วย
1.5. แยกแยะความสำคัญของปัญหาไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาไม่ถูกต้อง
1.6. การวิเคราะห์ข้อมูลมักจะเขียนตามทฤษฎี เชื่อมโยงกับปัญหาจริงของผู้ป่วยไม่ได้
1.7.กรณีได้ผู้ป่วยหลายโรค ปัญหาซับซ้อน ปัญหาทางอายุรกรรมมีมาก บางครั้งไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคใดแน่ชัด จะมีความยากในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.8. ไม่แม่นยำในหลักการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล ทำให้เชื่อมโยงปัญหาของผู้ป่วยในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลไม่ได้ ใช้เวลานานในการเขียนข้อวินิจฉัยนาน บางครั้งตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาลทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ทำเพื่อให้มีส่งอาจารย์
1.9. อาจารย์แต่ละท่านแต่ละตึกมีแนวทางในการแนะนำการเขียนข้อวินิจฉัยต่างกัน บางคนให้ตั้งได้บางคนไม่ให้ตั้ง
2.นักศึกษามีวิธีการแก้ไขการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลอย่างไร
2.1. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1.) อ่านหนังสือเรื่องพยาธิสภาพของโรคให้มากขึ้น บางครั้งต้องอ่านหลายๆรอบ คิดว่าต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยก่อนจึงจะกำหนดข้อวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลได้ดี
2.)อ่านหนังสือเรื่องกระบวนการพยาบาล ทบทวนเรื่องการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลเพิ่มเติม
3.) รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ตรวจร่างกายผู้ป่วยเพิ่ม วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆเพิ่มขึ้น กลับไปค้นหาปัญหาของผู้ป่วยเพิ่มเติม ซักประวัติผู้ป่วย หรือญาติ อย่างมีหลักการ
4.) สอบถามจากรุ่นพี่นักศึกษาพยาบาล หาตัวอย่างของพี่เถาว์ หรือถามจากเพื่อน หรือพี่พยาบาลในตึกที่ตนปฏิบัติงาน
5.) ดูการตั้งข้อวินิจฉัยของหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานอยู่เป็นแนวทางในการเขียน
6.) ไม่ควรใช้หนังสือเล่มเดียว อ่านหนังสือหลายเล่มแล้วนำมาประมวลผล ประยุกต์ และดัดแปลงใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ตนเองดูแล
7.) เพิ่มความตั้งใจมากขึ้น ทำความเข้าใจและพยายามลำดับความสำคัญของการคุมคามชีวิตของผู้ป่วย เพื่อลำดับความสำคัญของปัญหาให้ถูกต้อง
8.) ค้นหาการวินิจฉัยการพยาบาลในอินเตอร์เน็ต เลือกเว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง บางครั้งมีมากกว่าในหนังสือ
9.) หา key word ในแต่ละโรคให้ได้ เพื่อจะเข้าใจโรคที่ผู้ป่วยเป็นก่อนจึงจะทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย
10.) ทำไปก่อนให้ส่งทันเวลาและรอให้อาจารย์แก้ nursing care planให้
2.2. ปรึกษาอาจารย์ประจำตึก ทำตามคำแนะนำของอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ตรวจ plan งานให้แล้ว ไม่เข้าใจซักถามจากอาจารย์เพิ่มเติม
สรุป
จากกการสอบถามนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่3 ที่กำลังขึ้นฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ2 นักศึกษาได้เขียนบรรยายถึงปัญหาของตนเองในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของการใช้กระบวนการพยาบาล พบว่านักศึกษายังคงมีปัญหาในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลทั้งที่เกิดจากตัวนักศึกษาเองที่ยังขาดความรู้เรื่องพยาธิสภาพของโรค และขาดความเข้าใจเรื่องการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล และการที่นักศึกษาได้ดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคหลายโรคในคนเดียว ทำให้การจะระบุข้องวินิจฉัยการพยาบาลให้มีความครอบคลุมทำไปได้ยาก รวมทั้งอาจารย์ประจำตึกมีแนวทางในการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลแตกต่างกันในบางครั้งอีกด้วย และนักศึกษายังได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ซึ่งแนวทางหนึ่งที่นักศึกษามีเหมือนกันคือเริ่มจากแก้ไขที่ตัวของนักศึกษาเองก่อน เช่น การศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองโดยเฉพาะความรู้เรื่องพยาธิสภาพของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งบางครั้งเรียนจากในห้องเรียนแล้วจำไม่ได้หรือไม่เข้าใจต้องพยายามค้นคว้าเพิ่ม การสืบหาปัญหาขอผู้ป่วยทั้งจากการตรวจร่างกาย การซักประวัติจากผู้ป่วย และญาติ การค้นจากเอกสารchart ประจำตัวผู้ป่วยเพิ่มเติม นอกจากนั้นการค้นคว้าจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เช่น การขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ประจำตึก เพื่อน รุ่นพี่ พี่พยาบาลในตึกนั้นๆ หรือค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต ก็เป็นสิ่งที่มีนักศึกษาให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเช่นกัน
………………………………………………………….
การเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเป็นเหมือนยาขมสำหรับนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปี โดยปัญหาที่พบเช่น ปัญหาไม่สัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วย ข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอ เกณฑ์การประเมินผลไม่ครบ กิจกรรมการพยาบาลไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ส่ิงเหล่านี้มักจะปรากฏในข้อประเมินของอาจารย์ผู้สอนเป็นประจำ จากการวิเคราะห์จากความเห็นและประสบการณ์พบว่า ปัญหาที่แท้จริงของการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลน่าจะเป็น เพราะ เด็กขาดความรู้เกี่ยวกับโรคนั้น ๆ จึงไม่สามารถ assessment ได้อย่างครบคลุม เป็นที่มาของการขาดข้อมูลสนับสุนและการให้กิจกรรมการพยาบาลที่ครบคลุม