ประเด็นและการจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ ประเด็นและการจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

ผู้เขียน  อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

5. อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

 

ประสบการณ์ความเสี่ยงและประสบการณ์การทำงานในห้องคลอดที่เกิดขึ้น เช่น การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีอาการชักและสามารถควบคุมได้ แต่ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยอาการภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นในปอด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ควรมีวิธีในการบริหารจัดการ

ประสบการณ์การทำงานในห้องคลอดโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นการทำงานภายใต้การควบคุมของแพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งได้ดูแลทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย 840 กรัม ที่กุมารแพทย์ปฎิเสธการช่วยเหลือ แต่บทบาทของพยาบาลในการดูแลทุกชีวิตที่เกิดมา

ยกตัวอย่างการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลหนองเรือ

ผู้ป่วย G2P1 มีปัญหาเรื่องเบ่งคลอดนาน และคลอดยาก พยาบาลจึงช่วยดันขณะคลอด ทำให้เกิดการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับรุนแรง เมื่อเกิดการทบทวนความเสี่ยงพบว่า ผู้ที่ดันท้องผู้คลอด เป็นผู้กระทำผิด  แต่เนื่องจากพยาบาลเคยพบเห็นการกระทำดังกล่าวมาก่อน

  • ความเสี่ยง (Risk) ทำให้เรามองหาโอกาสเกิดปัญหา ปรับจากการตั้งรับสู่การสำรวจแก้ไข ป้องกันเชิงรุก
  • ความปลอดภัย (Safety) ให้ความรู้สึกเชิงการบรรลุเป้าหมาย และอยากทำทุกวิถีทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น

ซึ่งความเสี่ยงและความปลอดภัย เป็นเรื่องที่มาควบคู่กัน เพียงผู้ปฏิบัติงานควรปรับเปลี่ยนการพยาบาล ปรับเปลี่ยนมุมอง หรือปรับเปลี่ยนความคิด อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงเป็นความปลอดภัยได้ และเมื่อเรารับรู้ความเสี่ยงจะทำให้ บริหารจัดการได้

ประเด็นความเสี่ยงทางผดุงครรภ์ [...]

Tags: ,

กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสูติศาสตร์และนรีเวชกรรม

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสูติศาสตร์และนรีเวชกรรม

ผู้เขียน  อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

5. อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นกฎหมายและจริยธรรมทางการดุงครรภ์มาอย่างต่อเนื่อง บางครั้งเป็นประเด็นปัญหาใหญ่นำเสนอเป็นข่าว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการพยาบาลและมีความเกี่ยวข้องกับวิชาชีพอื่นๆ ร่วมด้วย พยาบาลผดุงครรภ์ ควรเข้าใจประเด็นกฎหมาย จริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พรบ. และมาตราต่างๆ (ควรคำนึงถึง Risk management team, Risk management system ร่วมด้วย) รวมถึงกฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการด้วยความเท่าเทียม โดยคำนึงถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย

ประเด็นสำคัญทางกฎหมายที่ปัญหาการฟ้องร้องส่วนใหญ่เกิดจากการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานและการทำคลอด ปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟ้องร้อง ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างบุคลากรกับผู้ป่วย การไม่ได้อธิบายข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ได้ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดังนั้น การป้องกันการฟ้องร้องจึงต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการอธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความเข้าใจ หากผู้ป่วยมีข้อสงสัย เราก็ควรต้องสงสัยด้วย เมื่ออธิบายข้อดีข้อเสียแล้วให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรมีการบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและการให้บริการอย่างละเอียด ชัดเจน เพื่อนำไปสู่หลักฐานประกอบหากมีการฟ้องร้อง

Tags:

การพัฒนากระบวนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (พย.1310)

โดยผลการประชุม….อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

1. การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา

-ทบทวนความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อนการฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง

-ควรจัดทำ pre-test เนื้อหาสาระหลักของรายวิชา

2. การเตรียมอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ / อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

-จัดสัมมนาเพื่อการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลนักศึกษาก่อนการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา

-ประชุมระดมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติก่อนการจัดทำแผนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนามที่จัดให้นักศึกษาตามวัตถุประสงค์รายวิชา  รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อการสอนภาคปฏิบัติของปีที่ผ่านมา

-จัดทำแผนการสอนรายวิชาอย่างรอบคอบร่วมกับอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ  อาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก  และพัฒนาจากการประเมินของนักศึกษา

3.การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง/อาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ

-พิจารณาร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงในเรื่อง แหล่งฝึก  และการหาแหล่งสนับสนุนยานพาหนะในการเดินทางเข้าชุมชนของนักศึกษา

4. การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในอนาคต

-วิทยาลัยควรจัดหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับลงพื้นที่ชุมชนเพื่อการสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาอย่างเพียงพอ

5.  การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยนักศึกษา

-นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

- มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานชุมชน

6.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

-เพิ่มการสอนในคลินิกเรื่องบทบาท รพ.สต.ในการให้บริการเชิงรุก

-เพิ่มกิจกรรมการตรวจสุขภาพเด็กดี

7. การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยสถานที่ฝึกหรือพยาบาลในแหล่งฝึก

-นักศึกษายังขาดความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติงาน  โดยเฉพาะการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ ที่ รพ.สต.

8.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

-วิทยาลัยควรมียานพาหนะสนับสนุนการเดินทางของนักศึกษาในการเข้าชุมชนที่อยู่ไกลจาก รพ.สต. เนื่องจากทรัพยากรของ รพ.สต. มีไม่เพียงพอ

9.การทวนสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

-มีการประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติทุกคนเพื่อพิจารณาคะแนนและเกรดของนักศึกษา

-มีคณะกรรมการจากภาควิชาฯ 3 คน  ตรวจสอบความถูกต้องในการตัดสินคะแนนของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติแต่ละท่าน

-มีคณะกรรมการงานประมวลผล 3 คน  ตรวจสอบความถูกต้องในการตัดสินคะแนนของนักศึกษาภาพรวม

10.การดำเนินการเพื่อปรับปรุงการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

-จัดฝึกประสบการณ์การทำรายงานกรณีศึกษาครอบครัวและการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านให้นักศึกษาใช้กระบวนการพยาบาลบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทรซึ่งนักศึกษาสามารถใช้กระบวนการพยาบาลในการศึกษาและมีความเข้าใจรวมทั้งสามารถนำไปปฏิบัติในการทำงานได้ดี

-ใช้ผลงานวิจัยในการอ้างอิงในการทำรายงายกรณีศึกษา

-เพิ่มกิจกรรมการปฏิบัติการให้บริการรักษาที่  รพ.สต.  และการตรวจสุขภาพเด็กดี  ในแผนการจัดการเรียนการสอนของภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556

-การฉีดวัคซีนในเด็กเล็กและเด็กนักเรียนในโรงเรียน  ให้อยู่ภายใต้การนิเทศของอาจารย์อย่างใกล้ชิด

-เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการศึกษาของนักศึกษาให้อาจารย์เตรียมให้พร้อมใช้โดยประสานงานกับแหล่งฝึก (รพ.สต.) เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน

Tags: , , ,

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องรับรอง ๑ อาคารอำนวยการ

ผู้เขียนความรู้       อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ

ผู้จดบันทึก

อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ

อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร

อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

  1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
  4. อ. ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล
  5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
  7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
  8. อ. ดร ทองสวย สีทานนห์
  9. อ. ยศพล เหลืองโสมนภา
  10. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
  11. อ. ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
  12. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
  13. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  14. อ. นุชนาถ ประกาศ
  15. อ. จริยาพร วรรณโชติ
  16. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  17. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
  18. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
  19. อ. อรพรรณ บุญลือ

 

สรุปรูปแบบการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อนำไปใช้ในกับนักศึกษา

รูปแบบการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาล

X           คือ ปัญหาผู้ป่วย (end outcome)
Y1          คือ พยาธิสรีภาพ/กรอบแนวคิด/ทฤษฎี
Y2          คือ โรค/ภาวะ

[...]

Tags: , ,

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชา พย. 1205 การสอนและการให้คำปรึกษา

ผู้เขียน  อาจารย์เชษฐา  แก้วพรม

 

การพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีทักษะสะท้อนคิดควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีคุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีแล้วยังช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะทางปัญญาด้วย  ทีมวิจัยได้ทดลองแนวคิด “การเขียนบันทึกการเรียนรู้ (Reflective Journal)” มาประยุกต์ใช้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพโดยหวังว่าการเขียนบันทึกการเรียนรู้จะช่วยพัฒนานักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเป็นนักสะท้อนคิด (Reflective Practitioner) ในอนาคต

 

การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษา  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ข จำนวน 102 คน

 

ทีมผู้สอนกำหนดให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้หลังสิ้นสุดการเรียนภาคทดลองแต่ละสาระการเรียนรู้จำนวน 5 ครั้ง ผู้วิจัยใช้แนวคิด Reflective Cycle ของกิบบ์  ในการกำหนดหัวข้อในการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษาประกอบด้วย (1) การอธิบายประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนภาคทดลอง (2) การบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียน  (3) การวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์กับองค์ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎี  และ (4) การสรุปการเรียนรู้และวางแผนนำความรู้ไปใช้อนาคต  จากนั้นทีมผู้สอนได้ทำการตรวจบันทึกการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนของ Williams และคณะ (2000) เพื่อดูระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษา

[...]

Tags: , , ,