สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 เทคนิคการสอนการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
วันที่ประชุมจัดการความรู้ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องรับรอง ๑ อาคารอำนวยการ
ผู้เขียนความรู้ อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
ผู้จดบันทึก
อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้
- อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
- อ. สาคร พร้อมเพราะ
- อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
- อ. ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล
- อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
- อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
- อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
- อ. ดร ทองสวย สีทานนห์
- อ. ยศพล เหลืองโสมนภา
- อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
- อ. ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
- อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
- อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
- อ. นุชนาถ ประกาศ
- อ. จริยาพร วรรณโชติ
- อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
- อ. สุภา คำมะฤทธิ์
- อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
- อ. อรพรรณ บุญลือ
สรุปรูปแบบการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อนำไปใช้ในกับนักศึกษา
X คือ ปัญหาผู้ป่วย (end outcome)
Y1 คือ พยาธิสรีภาพ/กรอบแนวคิด/ทฤษฎี
Y2 คือ โรค/ภาวะ
หลักการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ก่อนที่เราจะได้ปัญหา
1. ต้องมีข้อมูลสนับสนุนมาก่อน คำนิยามว่าเป็น negative data ประกอบด้วย 6 items ประกอบด้วย
1) การตรวจร่างกาย ( ดู คลำ เคาะ ฟัง)
2) การซักประวัติ
3) สัญญาณชีพ
4) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
5) การตรวจพิเศษ
6) แผนการรักษา
2. ข้อมูลสนับสนุนต้องสะท้อน
1. X ( ทั้ง 6 items (ถ้ามีครบ) )
2. Y1 ( ทั้ง 6 items (ถ้ามีครบ) )
3. Y2 ( ทั้ง 6 items (ถ้ามีครบ) )
3. เราจะได้ข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอจะสามารถตั้งเป็นปัญหาได้
EX ภาวะพร่องออกซิเจน (X) เนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก็าซลดลง(Y1)จากปอดอักเสบ
ข้อมูลสนับสนุน X คือ 1)……2)…..3)……4)……5)……6)…..
Y1 คือ 1)……2)…..3)……4)……5)……6)…..
Y 2 คือ 1)……2)…..3)……4)……5)……6)…..
4. เกณฑ์การประเมินผลได้จาก Negative Data ทั้ง 5 ข้อ (ยกเว้นข้อ 6 ที่เราไม่เอามาใส่ ) เราเรียกว่า positive data
5. กิจกรรมการพยาบาล ให้ใช้หลักมิติทางการพยาบาล คือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
6. การประเมินผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ข้อตกลงวิธีการสอนการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลและนำไปใช้ในกับนักศึกษา
ขั้นตอนวิธีการสอน
- Assessment ใช้ Functional Health Pattern ที่นักศึกษาเคยใช้มาตั้งแต่ปี 2 ซึ่งครอบคลุมองค์รวม
- แนวการเขียน วินิจฉัยการพยาบาลใช้ NANDA โดยผสมผสานกับความรู้ด้านพยาธิสรีรภาพของผู้ป่วยด้วย
- แนวทางการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยเพื่อมาเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ควรจากการเริ่มให้ศึกษาข้อมูลจากchart ผู้ป่วย Laboratory finding & Investigation, Treatment of Doctor’s ,order sheet & Progress note ให้ทราบข้อมูลแล้ว approach ผู้ป่วยเพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายด้วยตนเอง วัดสัญญาณชีพ นำมาวิเคราะห์ แล้วแบ่งกลุ่มยา และผล Laboratory ตามปัญหาพยาธิสภาพของโรค เพื่อเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลต่อไป
- การดำเนินการเพิ่มเติมสำหรับนำไปใช้กับนักศึกษาในวิชาภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1
- พิมพ์หลักการแนวทางการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเบื้องต้นแนบไว้คู่มือการปฏิบัติภาคปฏิบัติวิชาภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1
- แนะนำหนังสือ, website ที่เป็นตัวอย่างในการเขียนซึ่งเข้าถึงได้ง่ายไว้ในคู่มือด้วย
หมายเหตุ อ.คณึงนิตย์ ได้มอบหมายให้นักศึกษาซื้อหนังสือคู่มือการใช้กระบวนการพยาบาลไว้ทุกคนเป็นแนวทางในการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลแล้วตั้งแต่ปี 2
หลักการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องยาก ประเด็นที่สำคัญ คือ การมีความรู้ในโรคนั้น ๆ อย่างดี พอ ถ้าหากมีความรู้ได้อย่างดีแล้ว เราสามารถดึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย เช่น ข้อมูลสนับสนุน ได้มาจาก การตรวจร่างกาย การซักประวัติ สัญญาณชีพ การตรวจทางห้องปฏิบัตการ การตรวจพิเศษ และแผนการรักษา สาเหตุที่ให้การตรวจร่างกายกายมาอันดับ 1 เพราะเป็นการใช้ทักษะที่เรียนมาจากทฤษฎีนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่จำเป็นต้องรอแพทย์ในการวินิจฉัย หากเรามีความรู้ว่าผู้ป่วยกำลังมีปัญหาใด สามารถ early detection and prediction ได้เลยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้การพยาบาลได้ทันท่วงที ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพ่ิมมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ดีนั้น อ่านแล้วต้องทำให้เข้าใจว่าเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยอย่างไร และเราจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไรในบทบาทของพยาบาล บางครั้งหลายครั้งที่อ่านข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในหนังสือที่เขียน อ่านแล้วต้องถามตัวเองต่อว่า แล้วข้อวินิจฉัยนั้นเป็นปัญหากับผู้ป่วยอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ในผู้ป่วยปอดอักเสบนั้นการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลว่า ภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลงจากปอดอักเสบ ในผู้ป่วยปอดอักเสบแต่ละรายนั้น ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยทุกรายเหมือนกันไหม
การเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลนั้น นอกจากจะสะท้อนได้ถึงชั้นภูมิความรู้ของผู้เขียนแล้ว ยังสะท้อนถึงทักษะ ประสบการณืของผู้เขียน รวมทั้งการมีศิลปะในการใช้ภาษาของผู้เขียนด้วย ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 การเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจะมีความลึกซึ้งในการเขียนไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากชั้นปีเล็กกว่ามีความรู้เรื่องโรค และพยาธิสภาพของโรคไเท่ากัน ทั้งนีการจัดการเรียนการสอนในวิชาพยาธิวิทยามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากผู้เรียนๆด้วยความเข้าใจ จะทำให้ผู้เรีรยนสามารถเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้ตรงประเด็น
หากจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในชั้นปีที่ 2-4 นั้น น่าจะมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนในวิช่าวิชาวิทยาศาตร์พื้นฐาน และพื้นฐานวิชาชีพให้เข้มข้นมากขึ้น เช่น วิชาพยาธิวทยา วิชาการยวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เป็นต้น รวมทั้งวิชาหมวดวิชาชีพ เช่น วิชาแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล ที่ต้องเรีบยนในชั้นปีที่ 2 (2 หน่วยกิต) ผู้เรียนควรได้รับการสอนให้สามารถรวบรวมข้อมูลในระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิได้ แยกแยะระดับของข้อมูลได้อย่างชัดเจนถูกต้อง 100% และสามารถนำผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการตรวจพิเศษมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนได้ถูกต้อง ซึ่งนักศึกษาได้เรียนในวิชาการประเมินสุขภาพ ในชั้นปีที่ 2 เมื่อเรียนในวิชาปัญหาสุขภาพ ปละปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ อาจารย์ผู้สอนจะต้องใช้ความสามารถในด้านการสอน เพื่อเชื่อมโยง กระตุ้น และสอนแนะให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาแล้วในการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลได้ถูกต้อง ตรงประเด็น และสามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้