การพัฒนากระบวนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (พย.1310)

โดยผลการประชุม….อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1. การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา -ทบทวนความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อนการฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง -ควรจัดทำ pre-test เนื้อหาสาระหลักของรายวิชา 2. การเตรียมอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ / อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา -จัดสัมมนาเพื่อการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลนักศึกษาก่อนการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา -ประชุมระดมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติก่อนการจัดทำแผนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนามที่จัดให้นักศึกษาตามวัตถุประสงค์รายวิชา  รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อการสอนภาคปฏิบัติของปีที่ผ่านมา -จัดทำแผนการสอนรายวิชาอย่างรอบคอบร่วมกับอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ  อาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก  และพัฒนาจากการประเมินของนักศึกษา 3.การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง/อาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ -พิจารณาร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงในเรื่อง แหล่งฝึก  และการหาแหล่งสนับสนุนยานพาหนะในการเดินทางเข้าชุมชนของนักศึกษา 4. การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในอนาคต -วิทยาลัยควรจัดหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับลงพื้นที่ชุมชนเพื่อการสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาอย่างเพียงพอ 5.  การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยนักศึกษา -นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ – มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานชุมชน 6.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -เพิ่มการสอนในคลินิกเรื่องบทบาท รพ.สต.ในการให้บริการเชิงรุก -เพิ่มกิจกรรมการตรวจสุขภาพเด็กดี 7. การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยสถานที่ฝึกหรือพยาบาลในแหล่งฝึก -นักศึกษายังขาดความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติงาน  โดยเฉพาะการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ ที่ รพ.สต. 8.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -วิทยาลัยควรมียานพาหนะสนับสนุนการเดินทางของนักศึกษาในการเข้าชุมชนที่อยู่ไกลจาก รพ.สต. เนื่องจากทรัพยากรของ รพ.สต. มีไม่เพียงพอ 9.การทวนสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา -มีการประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติทุกคนเพื่อพิจารณาคะแนนและเกรดของนักศึกษา -มีคณะกรรมการจากภาควิชาฯ 3 คน  [...]

Tags: , , ,

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชา พย. 1205 การสอนและการให้คำปรึกษา

ผู้เขียน  อาจารย์เชษฐา  แก้วพรม   การพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีทักษะสะท้อนคิดควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีคุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีแล้วยังช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะทางปัญญาด้วย  ทีมวิจัยได้ทดลองแนวคิด “การเขียนบันทึกการเรียนรู้ (Reflective Journal)” มาประยุกต์ใช้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพโดยหวังว่าการเขียนบันทึกการเรียนรู้จะช่วยพัฒนานักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเป็นนักสะท้อนคิด (Reflective Practitioner) ในอนาคต   การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษา  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ข จำนวน 102 คน   ทีมผู้สอนกำหนดให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้หลังสิ้นสุดการเรียนภาคทดลองแต่ละสาระการเรียนรู้จำนวน 5 ครั้ง ผู้วิจัยใช้แนวคิด Reflective Cycle ของกิบบ์  ในการกำหนดหัวข้อในการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษาประกอบด้วย (1) การอธิบายประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนภาคทดลอง (2) การบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียน  (3) การวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์กับองค์ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎี  และ (4) การสรุปการเรียนรู้และวางแผนนำความรู้ไปใช้อนาคต  จากนั้นทีมผู้สอนได้ทำการตรวจบันทึกการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนของ Williams และคณะ (2000) เพื่อดูระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษา Related Posts by Tagsปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้ เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง การเตรียมนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้เรื่องการสะท้อนคิด แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การพัฒนาทักษะการ [...]

Tags: , , ,