สรุปผลการอบรมที่ Fontys University ประเทศเนเธอร์แลนด์ วันที่ 6-14 เมษายน 2556

ภาพกิจกรรม

[...]

Tags: , , ,

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

Tags:

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 1 – กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎี

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
ครั้งที่ 1 วันที่  4 มีนาคม 2556    เวลา 09.00 – 10.00น.

ณ ห้องปฎิบัติการสูติศาสตร์ (ห้องLab)ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี 

1. เรื่อง“ กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”
2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการนำกลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ส่วนที่อาจารย์รับผิดชอบสอนในชั้นเรียน
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  11 คน  ได้แก่
1. นางขนิษฐา                    เมฆกมล          ประธานกลุ่ม
2. นางจันทร์เพ็ญ                 อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม
3. นางธนพร                               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม
4. นางทิพวรรณ                  ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม
5. นางจันทรมาศ                 เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม
6. นางสาวเพ็ญนภา              พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม
7. นางสาวจรัญญา               ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม
8.นางสาวกรรณิการ์              แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม
9.นางสาวกฤษณี                 สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม
10.นางอารีรัตน์                   วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม
11.สาวจารุวรรณ์                  ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ภาควิชาร่วมกันวางแผนในการพัฒนาทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์ในภาควิชา ก่อนการลงสู่การเรียนการสอน โดยการเรียนรู้จากการไปประชุม อบรม สัมมนาต่างๆ แล้วนำผลจากการไปประชุมแต่ละครั้งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สมาชิกท่านอื่นๆภายในภาควิชา อีกทั้งมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการนำอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งได้รับจากหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  การเรียนรู้ด้วยตนเอง ทบทวนองค์ความรู้ ทักษะการปฎิบัติต่างๆ  ก่อนที่จะมีการถ่ายทอดสู่การเรียนการสอนจริง

2. การประชุมครั้งนี้ ได้ให้สมาชิก Cop ได้ร่วมกันวางแผนพร้อมแบ่งหน้าที่ในการสอนภาคทฤษฎีของวิชา พย.1321มารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยให้อาจารย์ท่านที่มีส่วนรับผิดชอบนำเนื้อหาพร้อมอุปกรณ์ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อนำไปสอนนักศึกษาด้วย ดังนี้
- แนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะตั้งครรภ์  สอนโดย อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง/ อ.ธนพร ศนีบุตร
- แนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะคลอด  สอนโดย อ.กรรณิการ์ แซ่ตั๊ง / อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์
- แนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด  สอนโดย อ.กฤษณี สุวรรณรัตน์/ อ.ขนิษฐา เมฆกมล
จบการประชุมครั้งที่ 1 เวลา 10.00 น
อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง ผู้บันทึก

 

Tags: , , ,

การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)

 

ผู้เขียน  อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

5. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

 

ภาวะตกเลือดหลังคลอด  เป็นสาเหตุการตายของมารดาหลังคลอดทั่วโลกประมาณ 1.5 แสนราย  สาเหตุของการตกเลือดมีหลายสาเหตุเช่น ตั้งครรภ์มากว่า 4ครั้ง มดลูกยืดขยายมาก ทารกตัวโต การคลอดยาวนาน หรือพบแม้ในมารดาที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น  องค์การอนามัยโลกได้ใช้ Active management of the third oh labor  พบว่าสามารถลดการเกิด PPH ได้มากว่าร้อยละ 60

หลักการวินิจฉัยและการดูแลพยาบาล  : PPH วินิจฉัยได้โดยมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 4 ประการ(4Ts) คือ Tone, Trauma, Tissue, Thrombin-Bleeding Disorders

 

Update Postpartum Hemorrhage : Labor management at Khonkhaen hospital

         

          การตกเลือดหลังคลอดองค์การอนามัยโลกกำหนดตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 2 โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นกำหนดไม่เกินร้อยละ 5 พบสาเหตุที่เกิดPPH ในโรงพยาบาลจาก 4 สาเหตุ คือ การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี การฉีกขาดของช่องทางคลอด รกหรือเศษรกค้างและความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด

กระบวนการดูแลเริ่มตั้งแต่ในการคัดกรองภาวะเสี่ยงในระยะฝากครรภ์ การติดตามและแก้ไขความเข้มข้นของเม็ดเลือด  แต่มักมีปัญหาบางรายฝากครรภ์ช้าจึงได้รับการคัดกรอง  เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดจะมีการคัดกรองตามแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใช้หลัก AMTSLมาใช้ในกระบวนการคลอด  และเมื่อเกิดการตกเลือดหลังคลอดก็จะใช้ Clinical practice guideline : prevention and management of postpartum hemorrhage เมื่อได้ให้การดูแลตามสถานการณ์ต่างๆพบประเด็นความท้าทายทางการพยาบาลดังนี้

1.บริบทและระบบการให้การบริการของห้องคลอด : ปรับรูปแบบการปฏิบัติงานให้ขัดเจนและสะดวกต่อการใช้  ใช้ Flow chart update on postpartum hemorrhage ซึ่งใช้สัญลักษณ์สีเข้ามาช่วยให้เห็นบทบาทและการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น

2.สมรรถนะของพยาบาลห้องคลอด : พยาบาลในห้องคลอดสามารถตัดสินใจให้การดูแลรักษาระหว่างรอแพทย์โดยใช้ CPG มารองรับและเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน  ต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญและมีการประเมินทักษะอย่างต่อเนื่อง

3.บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์  : ห้องคลอดได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนระบบการดูในระยะที่ 3 ของการคลอด (เป็นระยะที่ให้การพยาบาล skin to skin contract) โดยลงมือปฏิบัติเชิงรุกผ่านโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว  พยายามปรับผังการดูแลคัดกรองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและเหมาะสม

Tags:

อนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น : ความเสี่ยงและความท้าทาย

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ อนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น : ความเสี่ยงและความท้าทาย

 

ผู้เขียน  อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

5. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทย ปี พ.ศ.2555 พบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ซึ่งผลกระทบจากการตั้งครรภ์นั้น มีหลายประการ เช่น ปัญหาการทำแท้งที่ผิดกฎหมาย การทิ้งทารก ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น เป็นต้น สถานการณ์นี้นับว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งอายุของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ในครั้งแรก ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน  40 % ของหญิงวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์จะตั้งครรภ์ สาเหตุของการไม่ป้องกันการตั้งครรภ์เนื่องจากวัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าจะคุมกำเนิดอย่างไร ไม่รู้สถานที่ที่ให้บริการสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ ประมาท การคุมกำเนิดล้มเหลว และถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น จากสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ และสาเหตุเหล่านี้ เราจึงควรป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยการเพิ่มทางเลือกให้หญิงตั้งครรภ์ เช่นการเข้าถึงบ้านพักพิง การให้ความช่วยเหลือเรื่องอาชีพ การสร้างงาน จัดหาครอบครัวบุญธรรม เพิ่มประสิทธิภาพการให้คำปรึกษา ให้ความรู้แก่ประชาชน พัฒนางานบริการวางแผนครอบครัว ส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องเรื่องเพศในวัยรุ่น สร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว อาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมด้วย

 

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ความเสี่ยงและความท้าทาย

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนับเป็นปัญหาระดับโลก   เป็นปัญหาที่มาพร้อมความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากับตัวหญิงวัยรุ่นเองและทารก เป็นผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอการแก้ไขปัญหา โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสถานบริการสาธารณสุข การสอนให้วัยรุ่นมีภูมิคุ้มกัน การพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของวัยรุ่น ก่อนที่จะเข้าไปให้การจัดการบริการที่มีคุณภาพสำหรับหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้นั้นต้องทำความเข้าใจในบริบทความแตกต่างของวัยรุ่นหญิง เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มวัยรุ่นทำงาน กลุ่มวัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น จะต้องทำอย่างไรในการจัดการให้แต่ละกลุ่ม ยอมรับการตั้งครรภ์ และมีการป้องกันการคุมกำเนิดที่เหมาะสม การเข้าถึงวัยรุ่นได้นั้นอาจต้องคำนึงถึง การเข้าถึงคลินิกฝากครรภ์ของวัยรุ่น การนัดเวลามาฝากครรภ์ที่ตรงกับบริบท การตอบสนองต่อความต้องการของวัยรุ่น รวมทั้งความต่อเนื่องของการให้บริการ

 

การนำเสนอผลงานการวิจัย  (Oral  presentation) [...]

Tags: , ,