รายงานการสรุปสาระสำคัญจากการสังเคราะห์การเรียนรู้โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีการบูรณาการ

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการสรุปสาระสำคัญจากการสังเคราะห์การเรียนรู้

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีการบูรณาการ

วันที่  ๑๒  มิถุนายน  ๒๕๕๗  เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น

ณ ห้องรับรอง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ประธานที่ประชุม   อาจารย์สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล     รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อาจารย์พัทธยา  เกิดกุล
  2. อาจารย์จารุณี    ขาวแจ้ง
  3. อาจารย์ขนิษฐา   เมฆกมล
  4. อาจารย์จีรภา     ศรีท่าไฮ
  5. อาจารย์นิศารัตน์  รวมวงษ์

เริ่มประชุมเวลา  ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน            

             ประธานสรุป จำนวนและประเภทโครงการบริการวิชาการ  ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ( ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ – ๓๑  พฤษภาคม ๒๕๕๗ )  มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งสิ้น ๑๓ โครงการ และมีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน    จำนวน ๔ โครงการ มีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการวิจัย จำนวน ๒ โครงการ โครงการที่นำผลไปใช้กับการเรียนการสอน จำนวน ๑ โครงการ และมีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย  จำนวน ๑ โครงการ  มีโครงการที่ไม่มีการบูรณาการ กับพันธกิจใด จำนวน ๕  โครงการ

วาระที่ ๒ เรื่องการวางแนวทางการปรับปรุงการบูรณาการงานบริการวิชาการ

             ประธานเสนอแนวทางโดยการสังเคราะห์จากผลสรุปการเรียนรู้จากทุกโครงการที่มีการบูรณาการงานบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย  ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการใช้แบบฟอร์ม สรุปผลการเรียนรู้ ( After Action Review ) และการรายงานผลการบูรณาการวิชาการกับพันธกิจอื่น  ( FM-Plan ๓)คณะกรรมการจึงมีการนำข้อมูลทุกรายโครงการมาร่วมกันสังเคระห์   ได้ผลสรุปดังนี้

[...]

Tags: , , ,

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ 6 วันที่  18 กรกฎาคม  2557  เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อระดมสมองเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  6 คน  ได้แก่

  1. อ.อรัญญา บุญธรรม         ประธานกลุ่ม
  2. อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ      สมาชิก
  3. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม    สมาชิก
  4. อ. ลลนา ประทุม            สมาชิก
  5. อ. กมลณิชา อนันต์          สมาชิก
  6. อ. ธันยพร บัวเหลือง        เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล
  2. อาจารย์ผู้สอน
1.1   ทัศนคติที่ดีต่อการใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

1.2   ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสะท้อนคิด และการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิด

1.3   ประสบการณ์การสอนโดยใช้การสะท้อนคิดในวิธีอื่นๆ

1.4   ประสบการณ์การสอนโดยใช้การสะท้อนคิดโดยวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

1.5   เวลาในการเตรียมการสอน อย่างน้อยอาจารย์ต้องมีเวลาเพื่อเตรียมคำถามสำหรับใช้ในการกระตุ้นการคิดของนักศึกษา

1.6   ความเป็นกัลยาณมิตรในตัวผู้สอน

-การมีทัศนคติที่ดีต่อผู้เรียน การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน รับฟังทุกความคิดเห็นโดยไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิ และการให้กำลังใจ ให้คำชมเชยผู้เรียนเมื่อมีโอกาส เช่น เมื่อแสดงความคิดเห็น เมื่อถามคำถาม เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. นักศึกษา

2.1   ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสะท้อนคิด และการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิด

2.2   ทัศนคติที่ดีต่อการใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

2.3   มีทัศนคติที่ดี และมีประสบการณ์ที่ดีต่อการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น และการถามคำถาม

2.4   ประสบการณ์การเรียนสอนโดยใช้การสะท้อนคิดในวิธีอื่นๆ เช่น การเขียนบันทึกการสะท้อนคิด

2.5   ประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิดโดยวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

2.6   ความพร้อมด้านอารมณ์ เนื่องจากผู้เรียนต้องมีสมาธิในการรับฟังผู้อื่น ก่อนที่จะคิดและสื่อสารออกไป    การมีความเครียด ความวิตกกังวลหรืออารมณ์ทางลบอื่นๆที่มากเกินจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนวิธีนี้

 

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. ลักษณะรายวิชา

-การสอนวิธีนี้เน้นการพัฒนาการคิด ต้องใช้เวลามากพอควรสำหรับการสะท้อนความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มในแต่ละประเด็น จึงเหมาะสำหรับรายวิชาที่สามารถออกแบบการเรียนการสอนเป็นกลุ่มย่อย เช่น การฝึกภาคปฏิบัติ การสอนภาคทดลองที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อยไม่เกินกลุ่มละเกิน 8 คน และอาจไม่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่เน้นวัดความรู้ ความจำที่มีเนื้อหามาก

-เหมาะสำหรับการพัฒนาการการตระหนักรู้ในศักยภาพของตนเอง ทราบจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของตนเอง

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. บรรยากาศ และสถานที่

- เนื่องจากเป็นการเรียนที่ต้องใช้การแสดงความคิดเห็นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างสมาชิกด้วยกันจึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้การเรียนการสอนวิธีนี้มีประสิทธิภาพสถานที่ที่ใช้ควรมีความเหมาะสมที่จะเอื้ออำนวยในการเรียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. การออกแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้มีการให้คะแนนการแสดงความคิดเห็นในการวัดและประเมินผล

-พบว่าการออกแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้มีการให้คะแนนการแสดงความคิดเห็นในการวัดและประเมินผล เป็นแรงจูงใจให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

มีแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

อาจารย์สามารถนำแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 6 เวลา 14.30 น.

อ. อรัญญา บุญธรรม   ผู้จดบันทึก

 

 

 

 

Tags: , , , ,

เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ 5 วันที่  19 พฤษภาคม  2557  เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

เรื่อง เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  6 คน  ได้แก่

  1. อ.อรัญญา บุญธรรม         ประธานกลุ่ม
  2. อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ      สมาชิก
  3. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม    สมาชิก
  4. อ. ลลนา ประทุม            สมาชิก
  5. อ. กมลณิชา อนันต์          สมาชิก
  6. อ. ธันยพร บัวเหลือง        เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
1. ก่อนการสอนโดยการนำวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้   อาจารย์ผู้สอนควรทำความเข้าใจและ สร้างข้อตกลงร่วมกันกับนักศึกษาว่าจะนำวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษา  สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิด คือนักศึกษาต้องมีความกล้าที่จะตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น หรือซักถามในสิ่งที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ความคิดเห็นนั้นจะเหมาะสมหรือได้รับการยอมรับจากกลุ่มหรือไม่

2. ในการสอนภาคทดลอง อาจารย์ผู้สอนควรเขียนแผนการสอนภาคทดลองก่อนการสอนแต่ละครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาและวิธีการสอน  ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้นักศึกษาในกลุ่มเกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ

เมื่อถึงกิจกรรมการเรียนในภาคทดลองอาจารย์จะถามคำถามและเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม   นอกจากนั้นระหว่างการทำกิจกรรมอาจารย์ประจำกลุ่มจะสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อพบเหตุการณ์ใดที่คาดว่าจะเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกนึกคิด ต่อเหตุการณ์นั้น หรือเกิดการเรียนรู้ อาจารย์จะบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้ เมื่อมีโอกาสเหมาะสมจึงใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้สึกนึกคิดและแสดงออกมา โดยส่วนใหญ่จะทำในช่วงสุดท้ายประมาณครึ่งชั่วโมงของการเรียนการสอนในแต่ละครั้งโดยใช้คำถามกว้างๆก่อนเช่น วันนี้ใครได้เรียนรู้อะไรบ้าง แล้วจึงค่อยๆใช้คำถามที่ลึกลงไปในแต่ละเหตุการณ์ บางเหตุการณ์ที่อาจารย์บันทึกไว้แต่นักศึกษาไม่ได้กล่าวถึงอาจารย์จะยกเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนความคิดความรู้สึก วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆของการกระทำ แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด ความรู้สึกกับเพื่อนนักศึกษารวมทั้งอาจารย์ประจำกลุ่ม รวมทั้งอาจระดมสมองเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในบางครั้งอาจใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในครึ่งชั่วโมงแรกของการเรียนภาคทดลองในแต่ละครั้ง โดยคำถามเกิดขึ้นจากการที่อาจารย์ได้ตรวจบันทึกสรุปการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการเรียนภาคทดลองแต่ละครั้ง

3.ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นช่วงที่อาจารย์สามารถนำการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ตลอดระยะเวลาที่อาจารย์สนทนากับนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการ Pre – Conference  , Post – Conference  , พูดคุยในช่วงการ Feed back การปฏิบัติงานของนักศึกษารายบุคคล สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ ท่าทีของการเป็นกัลยาณมิตรของอาจารย์ที่พร้อมที่จะรับฟังทุกความคิดเห็นโดยไม่ตัดสินและไม่ตำหนิความคิดของนักศึกษา และท่าทีที่ยินดีกับทุกคำถามของนักศึกษาหรือสมาชิกกลุ่ม

 

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. 2.      ข้อดีของการนำการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ในการเรียนการสอน
  2. มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดกำลังใจ
  3. จากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆหลากหลายขึ้น เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
  4. นักศึกษาสามารถเข้าใจปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  5. นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างลึกซึ้งและสามารถพัฒนามุมมองในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  6. เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดวิธีอื่นๆเป็นวิธีการที่ไม่เพิ่มภาระงานให้กับนักศึกษา
   

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

มีแนวทางการนำเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

อาจารย์สามารถนำเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์

 จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 5 เวลา 14.30 น.

อ. อรัญญา บุญธรรม   ผู้จดบันทึก

 

 

 

Tags: , , ,

การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ 4 วันที่  1 มีนาคม  2557  เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

เรื่อง การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  6 คน  ได้แก่

  1. อ.อรัญญา บุญธรรม         ประธานกลุ่ม
  2. อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ      สมาชิก
  3. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม    สมาชิก
  4. อ. ลลนา ประทุม            สมาชิก
  5. อ. กมลณิชา อนันต์          สมาชิก
  6. อ. ธันยพร บัวเหลือง        เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างสามารถพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดได้
-การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง(Structured Dialogue)เป็นรูปแบบวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะสะท้อนคิดได้  โดยใช้การพูดคุยเพื่อแสดงความคิดเห็นความรู้สึกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างมีโครงสร้าง มีการเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ

- สมาชิก 4 ใน 6 คน มีประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

(Wong. et.al.,1997)
  1. ประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
-สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง โดยพบว่ามักจะใช้ได้ดีในกลุ่มที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป และไม่เกิน 8 คน

- สมาชิกทุกคนใช้กรอบแนวคิดของแนวคิด Reflective Cycle ของกิบบ์  ในการกำหนดประเด็นที่ใช้ในการสนทนาประกอบด้วย (1) การอธิบายประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนภาคทดลอง (2) การบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียน  (3) การวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์กับองค์ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎี  และ (4) การสรุปการเรียนรู้และวางแผนนำความรู้ไปใช้อนาคต

- ใช้บ่อยในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในช่วง Post – Conference โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แบ่งปันประสบการณ์หรืออาจารย์เป็นผู้หยิบยกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในการนิเทศนักศึกษา -ใช้บ่อยในการนิเทศการปฏิบัติงานนักศึกษาแบบ 1 : 1บนหอผู้ป่วย โดยเมื่ออาจารย์พบเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นที่จะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เช่นปัญหาบางอย่างในการปฏิบัติงานของนักศึกษาแต่ละคน

- ใช้บ่อยในการเรียนภาคทดลองซึ่งมีสมาชิกกลุ่มไม่เกิน 8 คน เช่น วิชาการสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล

- ใช่ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยระดมสมองสมาชิกในกลุ่มเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

 

 

(Gibb. et.al.,1997)

อ.อรัญญา      บุญธรรม

อ. โศภิณสิริ      ยุทธวิสุทธิ

อ. มงคล         ส่องสว่างธรรม

อ. ลลนา       ประทุม

  1. ประโยชน์ที่ได้จากการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
  2. มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดกำลังใจ
  3. จากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆหลากหลายขึ้น เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
  4. นักศึกษาสามารถเข้าใจปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  5. นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างลึกซึ้งและสามารถพัฒนามุมมองในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สมาชิกกลุ่มทั้ง    6 คน

 ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

มีแนวทางการนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

อาจารย์สามารถนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 4 เวลา 14.30 น.

อ. อรัญญา บุญธรรม   ผู้จดบันทึก

 

 

Tags: , ,

สรุปการเรียนรู้โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ณ Northumbria University สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๒๑ มิถุนายน – ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗

————————————————————-

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

————————————————————-

Tags: , , ,