จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ประเด็น: จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง   กับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล”

ครั้งที่ 1/2557   วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557    เวลา 09.00 -16.00 น.

ห้องประชุมเทาทอง 1 มหาวิทยาลัยบูรพา

เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ “ประเด็น: จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง   กับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล”

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใน “ประเด็น: จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล”
  2. เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้

ประธานการประชุม นางนันทวัน  ใจกล้า

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน ได้แก่

  1. นางนันทวัน           ใจกล้า
  2. นายมงคล              ส่องสว่างธรรม
  3. นางสาวปัทมา         บุญช่วยเหลือ
  4. นางสาวบุษยารัตน์    ลอยศักดิ์
  5. นางสาวกรรณิการ์     แซ่ตั๊ง

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1. ประเด็นที่น่าสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

“จริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล” งานรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นงานที่ต้องทำร่วมกันระหว่างแพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่น ๆ ขณะเดียวกันทุกคนก็มีหน้าที่เฉพาะของตัวเองที่จะต้องทำให้ถูกต้อง เพราะเป็นบทบาทที่จริยธรรมวิชาชีพและกฎหมายกำหนดไว้ การละเลยหน้าที่ของตนเองหรือการทำเกินกว่าหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและหากเกิดความเสียหายขึ้น โอกาสที่จะถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้องตามกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา และหรือตามกฎหมายวิชาชีพ ก็เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ การเรียนรู้และป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาด จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด (ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล และแสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2557)

สมาชิกกลุ่ม

2.แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอน

แนวทางการปฏิบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ทุกรายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาจริยศาสตร์ กฎหมายและวิชาชีพทางการพยาบาล โดยชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของจริยธรรม สิทธิมนุษยชน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล   มีการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านสาธารณสุขให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย  รวมถึงสหสาขาวิชาชีพที่เป็นผู้ร่วมงานและตนเองด้วย

สมาชิกกลุ่ม

  [...]

Tags: , , ,

รายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรัง ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรัง
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 3 วันที่ 6 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 ณ ห้องรับรอง เวลา 09.00 -10.00 น.

เรื่อง การจัดกระบวนการการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ PLC
1. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้
เพื่อให้พัฒนานักศึกษาภายใต้ระบบครอบครัวเสมือนสู่จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ PLC
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 17 คน ได้แก่
1. อ.ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล ประธานกลุ่ม
2. อ.ปัทมา บุญช่วยเหลือ ผู้จัดการ
3. อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร สมาชิก
4. อ.สาคร พร้อมเพราะ สมาชิก
5. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร สมาชิก
6. อ.นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล สมาชิก
7. อ.สุปราณี ฉายวิจิตร สมาชิก
8. อ.ยศพล เหลืองโสมนภา สมาชิก
9. อ.วารุณี สุวรวัฒนกุล สมาชิก
10. อ.ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์ สมาชิก
11. อ.รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ สมาชิก
12. อ.รุ่งนภา เขียวชอ่ำ สมาชิก
13. อ.จริยาพร วรรณโชติ สมาชิก
14. อ.อรพรรณ บุญลือ สมาชิก
15. อ.ปรีดาวรรณ บุญมาก สมาชิก
16. อ.ปัทมา บุญช่วยเหลือ สมาชิก
17. อ.สุภา คำมะฤทธิ์ เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(เรื่องเล่าความสำเร็จ) อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)
1. ประเด็นที่น่าสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -จุดเน้น ของ PLC
• เป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าการสอน
• การทำงานร่วมกัน
• ความรับผิดชอบต่อตนเอง
การเรียนรู้
-เหตุผลของการจัดการเรียนรู้
-สิ่งที่จัดการเรียนรู้
-วิธีการจัดการเรียนรู้
-การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1. การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1.1 ความรักความเมตตา
1.2 ใส่ใจข้อมูลของผู้รับบริการ
1.3 มีความเชิงระบบ
1.4 ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
1.5 ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
2. สุนทรียสนทนา
3. การคิดเชิงเป็นระบบ (System thinking)
-จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
คุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1) จิตบริการ (Service Mind)
2) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
3) การให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม (Participation) สมาชิกกลุ่ม
2.แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอน แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชาภาคปฏิบัติของรายวิชาในภาควิชา คือ ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1-3 ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการนำความรู้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละวัยและแต่ละราย สมาชิกกลุ่ม

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ (สรุปประเด็นความรู้ พร้อมคำอธิบาย โดยสังเขป)
ตามเอกสารแนบท้าย
แนวทางการนำความรู้ไปใช้ (ระบุรายละเอียด)
นำความรู้เกี่ยวกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไปใช้ในการเรียนการสอนโดยเน้นการสอนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทั้งผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยเรื้อรัง โดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 เวลา 10.00 น.

ลงชื่อ …………………………………………… ผู้จดบันทึก
(นางสาวสุภา คำมะฤทธิ์)
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ

สรุปการประชุมวิชาการ

สรุปการประชุมวิชาการ
ตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน
ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2556
การจัดกระบวนการการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ PLC
PLC เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพและคุณภาพของผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ร่วมมือ ร่วมใจ (Collaborative learning) การเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในพื้นที่ (field) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing learning) อย่างต่อเนื่อง
จุดเน้น ของ PLC
• เป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าการสอน
• การทำงานร่วมกัน
• ความรับผิดชอบต่อตนเอง

การเรียนรู้
สอนน้อย…..เรียนรู้มาก (Teach Less Learn More: TLLM)
การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนทั้งในและนอกห้องเรียน การสอนต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดใหม่ การวิเคราะห์รอบด้าน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมุ่งมั่นเพื่อการแสวงหาความรู้ เน้นคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เหตุผลของการจัดการเรียนรู้
1. ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดในมิติต่างๆ ได้แก่ ความต้องการความสนใจ แรงบันดาลใจ
2. กระตุ้นผู้เรียนให้ได้ใช้ศักยภาพของตนในการเรียนรู้
3. ช่วยผู้เรียนให้เกิดแนวคิดและการเรียนรู้ในสาระสำคัญของสิ่งที่เรียน
4. เตรียมผู้เรียนไปสู่การดำรงชีวิตในอนาคตมากกว่าการทดสอบต่างๆ
สิ่งที่จัดการเรียนรู้
1. คุณภาพของผู้เรียนทั้งตัวบุคคล
2. ความอยากรู้
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง
4. ความคิดวิจารณญาณ
5. กระบวนการเรียนรู้
6. ค่านิยม เจตคติ และระบบคิดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
7. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
วิธีการจัดการเรียนรู้
1. เชื่อมโยงสิ่งที่จัดการเรียนรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติ
2. เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แนะนำ เป็นตัวแบบให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
3. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
4. ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนรายบุคคล
5. ประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
6. ส่งเสริมจิตใจนวัตกรรม ความกล้าหาญในการสร้างสิ่งใหม่
การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1. การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1.1 ความรักความเมตตา
1.2 ใส่ใจข้อมูลของผู้รับบริการ
1.3 มีความเชิงระบบ
1.4 ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
1.5 ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
2. สุนทรียสนทนา
คือ ความสามารถในการสนทนาอย่างครุ่นคิด และผลิดอกออกผลเป็นกระบวนการพูดจา เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านการครุ่นคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ มุมมองใหม่ที่ผลิดอกออกผล เกิดการสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค

3. การคิดเชิงเป็นระบบ (System thinking)
3.1 สภาวะที่เป็นจริงของธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นวงกลม
3.2 แต่เรามักเห็นเป็นเส้นตรง เพราะกรอบความคิดแบบเชิงเส้น
3.3 ภาษาแบบเชิงเส้น เราจะเห็นเพียงการแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ
3.4 ภาษาแบบวงกลมเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน
3.5 ปัญหาปัจจุบันเกิดจากการแก้ปัญหาในอดีต
3.6 แรงกดดันยิ่งมาก แรงต้านยิ่งเยอะ
3.7 สิ่งต่างๆดูเหมือนจะดีในตอนต้น แต่กลับแย่ลงในตอนหลังทางออกง่ายๆ จะพาเรากลับมาที่เดิม
จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
คุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1) จิตบริการ (Service Mind)
2) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
3) การให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม (Participation)
ระบบครอบครัวเสมือน
เป็นการนำรากฐานความคิดของความรัก ความอบอุ่น ความมีมิตรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยของความเป็นครอบครัวในสังคมไทยมาเป็นรากฐานในการกำหนดคุณลักษณะที่มุ่งหวัง บทบาท หน้าที่ และกิจกรรมของครอบครัวเสมือนที่ให้แต่ละครอบครัวร่วมสร้างสภาวะครอบครัวเสมือนจริงอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณที่มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นวงจร เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การพัฒนานักศึกษาภายใต้ระบบครอบครัวเสมือนสู่จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบเชิงโครงสร้าง และรูปแบบเชิงกระบวนการ
รูปแบบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย
1. อาจารย์ มีบทบาทเป็นอาจารย์พ่อ อาจารย์แม่ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพ่อ แม่ของนักศึกษา อาจารย์ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพทุกปีการศึกษา
2. นักศึกษา มีบทบาทเป็นลูก โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จะถูกจัดแบ่งกุ่มคละกัน เข้าสู่ครอบครัว นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมในการทำบทบาทหน้าที่ของตนในครอบครัว ในบทบาทของลูกและพี่น้อง เรียนรู้บทบาทของตนเองและในครอบครัวและการอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุขในโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ทุกปีการศึกษา
3. บุคลากรสายสนับสนุน มีบทบาทเป็นลุง ป้า น้า อา ตามความเหมาะสมของวัยวุฒิในแต่ละครอบครัว โดยบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการเตรียมความพร้อมและเรียนรู้บทบาทหน้าที่ในครอบครัวในกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่พร้อมกับอาจารย์และนักศึกษาทุกปี
4. ผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับวิทยาลัย มีบทบาทเป็นปู่ ย่า ตา และยายในครอบครัวโดยความสมัครใจและเต็มใจ ทำหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวประดุจลูกหลาน มีการไปมาหาสู่กันในเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ ตลอดปีการศึกษา

รูปแบบเชิงกระบวนการ
การอยู่ร่วมกันของครอบครัวของครอบครัว จะใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา การฟังอย่างลึกซึ้ง การศึกษาด้วยใจที่ใคร่ครวญไม่ด่วนสรุป ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล โดยอาศัยโครงสร้างระบบครอบครัวเสมือนเป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างบริบท เนื่องจากครอบครัวเสมือนจะเป็นตัวเอื้อต่อการเกิดบรรยากาศคามเป็นกัลยาณมิตรระหว่างสมาชิกในครอบครัว และนำไปสู่การพัฒนาในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ด้วยการออกแบบกิจกรรมและใช้กิจกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่นการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และวัดและประเมินผลด้วยการถอดบทเรียน สรุปผล เรียนรู้ การสะท้องคิด เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

ครั้งที่  2 วันที่  19  มิถุนายน 2557  เวลา 09.00-10.30 น.

……………………………………………………………………………

 

เรื่อง  การจัดการผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. นางราตรี         อร่ามศิลป์
  2. นางจารุณี        ตฤณมัยทิพย์
  3. นางสาวลลิตา    เดชาวุธ
  4. ดร.พรฤดี         นิธิรัตน์
  5. นายทองใหญ่     วัฒนศาสตร์
  6. นางสาวสายใจ   จารุจิตร
  7. นางสาววรรณศิริ   ประจันโน
  8. นางสาวเสาวภา    เล็กวงษ์

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ / ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จะมีแนวทางการดูแลอย่างไร
  2. ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน หลักการจะต้องมีการออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน   ส่วนการออกกำลังกาย จะต้องดูที่ ความหนัก ระยะเวลาในการออกกำลังกาย และความถี่ในการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานนั้นควรจะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก ควรมีระยะเวลาที่นานพอสมควรและควรทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่า การเดินเร็วเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะทำให้ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลงได้
  3. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน พบว่า มีความสัมพันธ์กับการไม่ออกกำลังกายและมีการควบคุมอาหารที่ไม่ดี
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่ดี จะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแรงสนับสนุนในครอบครัวมีหลายด้านด้วยกัน พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะได้รับแรงสนับสนุนในด้านอารมณ์ และเงินทองสิ่งของต่างๆ จะยังขาดในเรื่องของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรค
  5. พบว่าอิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ เพื่อน รองลงมาคือ การมีคนชวน  เพื่อนมีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน
  6. รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม คือ จะต้องประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การประเมินสภาพปัญหาของชุมชนนาผลมาจัดทำโครงการ โดยนักจัดการสุขภาพชุมชน

ระยะที่ 2 การวางแผนปฏิบัติการ จัดประชาคมชาวบ้านเพื่อหาแนวร่วมและเนื้อหาหลักสูตร ที่จัดอบรม

ระยะที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้จับคู่ผู้ดูแลสุขภาพและผู้ป่วยเบาหวานเข้าอบรมด้วยกัน จำนวน 3 วัน

ระยะที่ 4 การติดตามประเมินผล โดย ทีมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและ อสม. ออกติดตามเยี่ยมให้กำลังใจผู้ดูแลสุขภาพและผู้ป่วยพร้อมตรวจสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพ

 

Polikandrioti M. (2009)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาภา  ยังประดิษฐ

 

 

 

ทรรศนีย์  สิริวัฒนพรกุล และคณะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มยุเรศ ฤทธิ์ทรงเมือง และคณะ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

  1. สรุปปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เกิดจาก ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายได้
  2. แนวทางการดูแล  คือ  ควรจะมีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยยึดหลัก  3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ระดับครอบครัว ควรให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย ถ้ามีการปรับเปลี่ยนในระดับนโยบายร่วมด้วยก็จะดียิ่งขึ้น

นางสาวสายใจ  จารุจิตร

ผู้บันทึก

Tags: ,

แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์

Tags: , , ,