การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ 4 วันที่  1 มีนาคม  2557  เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

เรื่อง การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  6 คน  ได้แก่

  1. อ.อรัญญา บุญธรรม         ประธานกลุ่ม
  2. อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ      สมาชิก
  3. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม    สมาชิก
  4. อ. ลลนา ประทุม            สมาชิก
  5. อ. กมลณิชา อนันต์          สมาชิก
  6. อ. ธันยพร บัวเหลือง        เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างสามารถพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดได้
-การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง(Structured Dialogue)เป็นรูปแบบวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะสะท้อนคิดได้  โดยใช้การพูดคุยเพื่อแสดงความคิดเห็นความรู้สึกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างมีโครงสร้าง มีการเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ

- สมาชิก 4 ใน 6 คน มีประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

(Wong. et.al.,1997)
  1. ประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
-สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง โดยพบว่ามักจะใช้ได้ดีในกลุ่มที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป และไม่เกิน 8 คน

- สมาชิกทุกคนใช้กรอบแนวคิดของแนวคิด Reflective Cycle ของกิบบ์  ในการกำหนดประเด็นที่ใช้ในการสนทนาประกอบด้วย (1) การอธิบายประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนภาคทดลอง (2) การบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียน  (3) การวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์กับองค์ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎี  และ (4) การสรุปการเรียนรู้และวางแผนนำความรู้ไปใช้อนาคต

- ใช้บ่อยในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในช่วง Post – Conference โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แบ่งปันประสบการณ์หรืออาจารย์เป็นผู้หยิบยกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในการนิเทศนักศึกษา -ใช้บ่อยในการนิเทศการปฏิบัติงานนักศึกษาแบบ 1 : 1บนหอผู้ป่วย โดยเมื่ออาจารย์พบเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นที่จะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เช่นปัญหาบางอย่างในการปฏิบัติงานของนักศึกษาแต่ละคน

- ใช้บ่อยในการเรียนภาคทดลองซึ่งมีสมาชิกกลุ่มไม่เกิน 8 คน เช่น วิชาการสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล

- ใช่ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยระดมสมองสมาชิกในกลุ่มเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

 

 

(Gibb. et.al.,1997)

อ.อรัญญา      บุญธรรม

อ. โศภิณสิริ      ยุทธวิสุทธิ

อ. มงคล         ส่องสว่างธรรม

อ. ลลนา       ประทุม

  1. ประโยชน์ที่ได้จากการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
  2. มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดกำลังใจ
  3. จากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆหลากหลายขึ้น เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
  4. นักศึกษาสามารถเข้าใจปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  5. นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างลึกซึ้งและสามารถพัฒนามุมมองในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สมาชิกกลุ่มทั้ง    6 คน

 ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

มีแนวทางการนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

อาจารย์สามารถนำแนวคิดการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 4 เวลา 14.30 น.

อ. อรัญญา บุญธรรม   ผู้จดบันทึก

 

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , ,

Comments are closed.