ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์
การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล
ครั้งที่ 6 วันที่ 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 13.00 – 14.30 น.
ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า จันทบุรี
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้
วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อระดมสมองเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 6 คน ได้แก่
- อ.อรัญญา บุญธรรม ประธานกลุ่ม
- อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ สมาชิก
- อ. มงคล ส่องสว่างธรรม สมาชิก
- อ. ลลนา ประทุม สมาชิก
- อ. กมลณิชา อนันต์ สมาชิก
- อ. ธันยพร บัวเหลือง เลขานุการ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้
ประเด็นสำคัญ |
สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
อ้างอิง |
|
1.1 ทัศนคติที่ดีต่อการใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล
1.2 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสะท้อนคิด และการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิด 1.3 ประสบการณ์การสอนโดยใช้การสะท้อนคิดในวิธีอื่นๆ 1.4 ประสบการณ์การสอนโดยใช้การสะท้อนคิดโดยวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง 1.5 เวลาในการเตรียมการสอน อย่างน้อยอาจารย์ต้องมีเวลาเพื่อเตรียมคำถามสำหรับใช้ในการกระตุ้นการคิดของนักศึกษา 1.6 ความเป็นกัลยาณมิตรในตัวผู้สอน -การมีทัศนคติที่ดีต่อผู้เรียน การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน รับฟังทุกความคิดเห็นโดยไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิ และการให้กำลังใจ ให้คำชมเชยผู้เรียนเมื่อมีโอกาส เช่น เมื่อแสดงความคิดเห็น เมื่อถามคำถาม เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ |
สมาชิกกลุ่มทั้ง 6 คน |
2.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการสะท้อนคิด และการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิด 2.2 ทัศนคติที่ดีต่อการใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล 2.3 มีทัศนคติที่ดี และมีประสบการณ์ที่ดีต่อการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น และการถามคำถาม 2.4 ประสบการณ์การเรียนสอนโดยใช้การสะท้อนคิดในวิธีอื่นๆ เช่น การเขียนบันทึกการสะท้อนคิด 2.5 ประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิดโดยวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง 2.6 ความพร้อมด้านอารมณ์ เนื่องจากผู้เรียนต้องมีสมาธิในการรับฟังผู้อื่น ก่อนที่จะคิดและสื่อสารออกไป การมีความเครียด ความวิตกกังวลหรืออารมณ์ทางลบอื่นๆที่มากเกินจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนวิธีนี้
|
สมาชิกกลุ่มทั้ง 6 คน | |
-การสอนวิธีนี้เน้นการพัฒนาการคิด ต้องใช้เวลามากพอควรสำหรับการสะท้อนความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มในแต่ละประเด็น จึงเหมาะสำหรับรายวิชาที่สามารถออกแบบการเรียนการสอนเป็นกลุ่มย่อย เช่น การฝึกภาคปฏิบัติ การสอนภาคทดลองที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อยไม่เกินกลุ่มละเกิน 8 คน และอาจไม่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่เน้นวัดความรู้ ความจำที่มีเนื้อหามาก -เหมาะสำหรับการพัฒนาการการตระหนักรู้ในศักยภาพของตนเอง ทราบจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของตนเอง |
สมาชิกกลุ่มทั้ง 6 คน | |
- เนื่องจากเป็นการเรียนที่ต้องใช้การแสดงความคิดเห็นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างสมาชิกด้วยกันจึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้การเรียนการสอนวิธีนี้มีประสิทธิภาพสถานที่ที่ใช้ควรมีความเหมาะสมที่จะเอื้ออำนวยในการเรียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม |
สมาชิกกลุ่มทั้ง 6 คน | |
-พบว่าการออกแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้มีการให้คะแนนการแสดงความคิดเห็นในการวัดและประเมินผล เป็นแรงจูงใจให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น |
สมาชิกกลุ่มทั้ง 6 คน |
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
มีแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
อาจารย์สามารถนำแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 6 เวลา 14.30 น.
อ. อรัญญา บุญธรรม ผู้จดบันทึก