เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ 5 วันที่  19 พฤษภาคม  2557  เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

เรื่อง เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  6 คน  ได้แก่

  1. อ.อรัญญา บุญธรรม         ประธานกลุ่ม
  2. อ. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ      สมาชิก
  3. อ. มงคล ส่องสว่างธรรม    สมาชิก
  4. อ. ลลนา ประทุม            สมาชิก
  5. อ. กมลณิชา อนันต์          สมาชิก
  6. อ. ธันยพร บัวเหลือง        เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง
1. ก่อนการสอนโดยการนำวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้   อาจารย์ผู้สอนควรทำความเข้าใจและ สร้างข้อตกลงร่วมกันกับนักศึกษาว่าจะนำวิธีการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษา  สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิด คือนักศึกษาต้องมีความกล้าที่จะตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น หรือซักถามในสิ่งที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ความคิดเห็นนั้นจะเหมาะสมหรือได้รับการยอมรับจากกลุ่มหรือไม่

2. ในการสอนภาคทดลอง อาจารย์ผู้สอนควรเขียนแผนการสอนภาคทดลองก่อนการสอนแต่ละครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาและวิธีการสอน  ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้นักศึกษาในกลุ่มเกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ

เมื่อถึงกิจกรรมการเรียนในภาคทดลองอาจารย์จะถามคำถามและเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม   นอกจากนั้นระหว่างการทำกิจกรรมอาจารย์ประจำกลุ่มจะสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อพบเหตุการณ์ใดที่คาดว่าจะเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกนึกคิด ต่อเหตุการณ์นั้น หรือเกิดการเรียนรู้ อาจารย์จะบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้ เมื่อมีโอกาสเหมาะสมจึงใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้สึกนึกคิดและแสดงออกมา โดยส่วนใหญ่จะทำในช่วงสุดท้ายประมาณครึ่งชั่วโมงของการเรียนการสอนในแต่ละครั้งโดยใช้คำถามกว้างๆก่อนเช่น วันนี้ใครได้เรียนรู้อะไรบ้าง แล้วจึงค่อยๆใช้คำถามที่ลึกลงไปในแต่ละเหตุการณ์ บางเหตุการณ์ที่อาจารย์บันทึกไว้แต่นักศึกษาไม่ได้กล่าวถึงอาจารย์จะยกเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนความคิดความรู้สึก วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆของการกระทำ แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด ความรู้สึกกับเพื่อนนักศึกษารวมทั้งอาจารย์ประจำกลุ่ม รวมทั้งอาจระดมสมองเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในบางครั้งอาจใช้การสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในครึ่งชั่วโมงแรกของการเรียนภาคทดลองในแต่ละครั้ง โดยคำถามเกิดขึ้นจากการที่อาจารย์ได้ตรวจบันทึกสรุปการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการเรียนภาคทดลองแต่ละครั้ง

3.ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นช่วงที่อาจารย์สามารถนำการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ตลอดระยะเวลาที่อาจารย์สนทนากับนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการ Pre – Conference  , Post – Conference  , พูดคุยในช่วงการ Feed back การปฏิบัติงานของนักศึกษารายบุคคล สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ ท่าทีของการเป็นกัลยาณมิตรของอาจารย์ที่พร้อมที่จะรับฟังทุกความคิดเห็นโดยไม่ตัดสินและไม่ตำหนิความคิดของนักศึกษา และท่าทีที่ยินดีกับทุกคำถามของนักศึกษาหรือสมาชิกกลุ่ม

 

สมาชิกกลุ่มทั้ง   6 คน
  1. 2.      ข้อดีของการนำการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างไปใช้ในการเรียนการสอน
  2. มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดกำลังใจ
  3. จากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆหลากหลายขึ้น เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
  4. นักศึกษาสามารถเข้าใจปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  5. นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างลึกซึ้งและสามารถพัฒนามุมมองในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  6. เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดวิธีอื่นๆเป็นวิธีการที่ไม่เพิ่มภาระงานให้กับนักศึกษา
   

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

มีแนวทางการนำเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างมาประยุกต์ใช้ในการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

อาจารย์สามารถนำเทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษา และเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่องการคิดวิจารณญาณ และอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ด้านการคิดวิเคราะห์

 จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 5 เวลา 14.30 น.

อ. อรัญญา บุญธรรม   ผู้จดบันทึก

 

 

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , ,

Comments are closed.