การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ

วิจัยในชั้นเรียน

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

วิชา  พย.1203 หลักการและเทคนิคการพยาบาล

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ชั้นปีที่ 2

ชื่อเรื่อง   การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ

ผู้วิจัย   รัชชนก  สิทธิเวช

สภาพปัญหา

การตรวจสอบชีพจร  เป็นสัญญาณชีพตัวหนึ่ง  ที่นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติในวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล  ซึ่งเป็นการเรียนในภาคทดลอง  และเป็นทักษะการพยาบาลขั้นพื้นฐาน ทักษะหนึ่งที่สำคัญซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง   โดยจะมีเวลาในภาคทดลองเพียง 2 ช.ม. และจะสอบในสัปดาห์ถัดไป   ดังนั้นหากนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง  จะเป็นผลเสียสืบเนื่องเมื่อฝึกปฏิบัติในวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลได้

วัตถุประสงค์    เพื่อให้นักศึกษาตรวจสอบชีพจรได้ถูกต้อง

วิธีดำเนินการ

1.  พูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ

2.  แนะนำหลักการและเทคนิคเพิ่มเติมในการตรวจสอบชีพจร

2.1  ให้เวลาพูดคุยกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองมากขึ้น  ให้นักศึกษา                ผ่อนคลายด้วยการให้ใจเข้า- ออกยาวๆ ลึก ๆ ก่อนการปฏิบัติ

2.2  จับเวลาโดยตั้งสติดูเวลาเริ่มต้นนับให้เข็มวินาทีอยู่ที่เลข 6 หรือ 12 และใช้การพยักหน้าแทนการพูดว่าเริ่มในการสอบ  เพราะเมื่อฝึกปฏิบัติจริงจะไม่มีการพูดว่าเริ่ม                  หรือพยักหน้าใด ๆ

2.3  หยุดมองนาฬิกาและตั้งสตินับชีพจรตามจังหวะชีพจรที่สัมผัสกับปลายนิ้วต่อไปเรื่อย ๆ

2.4  เมื่อนับได้ระยะหนึ่งประมาณ 30 ครั้ง ให้มองดูนาฬิกาอีกครั้ง  เพื่อจะกะระยะเวลาได้ใกล้เคียงกับเวลา 1 นาที  เมื่อใกล้ครบ 1 นาที เหลืออีกประมาณ 5 วินาที              จึงให้มองนาฬิกาได้  (เมื่อฝึกซ้ำบ่อย ๆ จะสามารถทำได้ดีขึ้นเองเพราะเริ่มเกิดทักษะมากขึ้น)  3.  ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติซ้ำกับเพื่อนหลาย ๆ คน  และให้อาจารย์ตรวจสอบอีกครั้ง จนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง  เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง อาจารย์ชมเชย ให้กำลังใจ  และเสริมสร้างความมั่นใจว่านักศึกษาจะทำได้ถูกต้องเมื่อปฏิบัติจริงในวันสอบและครั้งต่อไป

4.  แนะนำให้หมั่นฝึกปฏิบัติเป็นประจำเมื่อกลับไปอยู่ที่หอพัก  หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้

สอบถามอาจารย์ได้อีกครั้งก่อนสอบ

5.  ติดตามผลการสอบในสัปดาห์ถัดไป

ระยะเวลา    ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 / 2557

ผลการวิจัย
ในการสอนวิชา พย. 1203 หลักการและเทคนิคการพยาบาล ภาคทดลอง  พบว่ามีนักศึกษา 2 คน  เมื่อผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามปกติเหมือนเพื่อนคนอื่นแล้ว  มีนักศึกษาที่ตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ 2 คน  โดยปฏิบัติซ้ำ 3 ครั้ง  ก็ยังได้ค่าต่ำกว่าปกติ  เมื่อพูดคุยกับนักศึกษาพบว่านักศึกษามีความตื่นเต้นเมื่อต้องตรวจสอบชีพจรของเพื่อน  และจะรู้สึกเกร็งเมื่ออาจารย์เริ่มตรวจสอบด้วยโดยการให้นักศึกษาบอกว่าเริ่ม  ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจับเวลาให้ตรงกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา  ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันได้เพียง  2 ครั้งต่อนาที  จึงจะได้ค่าคะแนนเต็มตามข้อตกลงร่วมกัน  นอกจากนี้นักศึกษามองนาฬิกาตลอดเวลาในการจับชีพจรทำให้เผลอนับค่าตามเข็มวินาที  เมื่อดำเนินการตามวิธีการข้างต้นแล้ว  ติดตามผลในสัปดาห์สอบพบว่านักศึกษาทั้ง 2 คน สามารถตรวจสอบชีพจรได้ถูกต้อง
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้สรุปได้ว่า  การเกิดทักษะในนักศึกษาแต่ละคนใช้เวลาต่างกัน  การให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย  คุณลักษณะของอาจารย์  เงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตั้งร่วมกัน  มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา   อาจมีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม   เทคนิคการพยาบาลแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคล   แต่ต้องอยู่บนหลักการเดียวกัน

 

Tags: , , ,

การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง (ครั้งที่ 1)

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

CoP การจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14.00 – 16.00 น.
ณ อาคารเอนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 

1.เรื่อง  การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง   (ครั้งที่ 1)

2.วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้
          เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง

3.ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 31 ท่าน ได้แก่

  1. ดร.ชดช้อย                 วัฒนะ                               วิทยากร
  2. ดร.ยศพล                   เหลืองโสมนภา             ประธานกลุ่ม
  3. อ.เพ็ญนภา                 พิสัยพันธุ์
  4. อ.คณิสร                     แก้วแดง
  5. ดร.ธัสมน                   นามวงษ์
  6. อ.จีราภา                   ศรีท่าไฮ
  7. อ.บุษยารัตน์                ลอยศักดิ์
  8. อ.รัชสุรีย์                   จันทเพชร
  9. อ.ปาลีรัญญ์                ฐาสิรสวัสดิ์
  10. อ.นวนันท์                  ปัทมสุทธิกุล
  11. อ.สุกัญญา                  ขันวิเศษ
  12. อ.นุชนาถ                  ประกาศ
  13. อ.ปัทมา                    บุญช่วยเหลือ
  14. อ.อรพรรณ                 บุญลือ
  15. อ.ศศิโสภิต                  แพงศรี
  16. อ.สุภา                      คำมะฤทธิ์
  17. อ.รสสุคนธ์                  เจริญสัตย์ศิริ
  18. อ.วรัญญา                  ชลธารกัมปนาท
  19. อ.ธันยพร                   บัวเหลือง
  20. อ.กมลณิชา                 อนันต์
  21. อ.อรัญญา                  บุญธรรม
  22. อ.มงคล                     ส่องสว่างธรรม
  23. อ.นันทวัน                  ใจกล้า
  24. อ.จันจิรา                   หินขาว
  25. อ.จันทรมาศ                เสาวรส
  26. อ.รัชชนก                   สิทธิเวช
  27. อ.สุมาลี                     ราชนิยม
  28. อ.วิภารัตน์                 ภิบาลวงษ์
  29. อ.โศภิณศิริ                 ยุทธวิสุทธิ
  30. อ.นิศารัตน์                 รวมวงษ์
  31. อ.กฤษณี                    สุวรรณรัตน์                เลขานุการ

 

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  [...]

Tags: ,

การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย (ครั้งที่ 1)

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

CoP การจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.45 – 16.00 น.
ณ อาคารเอนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 

1.เรื่อง  การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย  (ครั้งที่ 1)

2.วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้
          เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย

3.ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 37 ท่าน ได้แก่

  1. ดร.พรฤดี                   นิธิรัตน์                              วิทยากร
  2. ดร.ยศพล                   เหลืองโสมนภา             ประธานกลุ่ม
  3. อ.สุชาดา                   นิ้มวัฒนากุล
  4. อ.เพ็ญนภา                 พิสัยพันธุ์
  5. อ.คณิสร           แก้วแดง
  6. ดร.ธัสมน                   นามวงษ์
  7. อ.จีราภา                   ศรีท่าไฮ
  8. อ.บุษยารัตน์                ลอยศักดิ์
  9. อ.รัชสุรีย์                   จันทเพชร
  10. อ.ปาลีรัญญ์                ฐาสิรสวัสดิ์
  11. อ.นวนันท์                  ปัทมสุทธิกุล
  12. อ.สุปราณี                  ฉายวิจิตร
  13. อ.สุกัญญา                  ขันวิเศษ
  14. อ.นุชนาถ                  ประกาศ
  15. อ.ปัทมา          บุญช่วยเหลือ
  16. อ.อรพรรณ                 บุญลือ
  17. อ.ศศิโสภิต                  แพงศรี
  18. อ.สุภา            คำมะฤทธิ์
  19. อ.รสสุคนธ์                  เจริญสัตย์ศิริ
  20. อ.ธนพร           ศนีบุตร
  21. อ.วรัญญา                  ชลธารกัมปนาท
  22. อ.ราตรี           อร่ามศิลป์
  23. อ.ลลิตา           เดชาวุธ
  24. อ.พัทธยา                   เกิดกุล
  25. อ.เสาวภา                   เล็กวงษ์
  26. อ.ธันยพร                   บัวเหลือง
  27. อ.กมลณิชา                 อนันต์
  28. อ.วรรณศิริ                  ประจันโน
  29. อ.อรัญญา                  บุญธรรม
  30. อ.มงคล           ส่องสว่างธรรม
  31. อ.นิศารัตน์                 รวมวงษ์
  32. อ.สุมาลี           ราชนิยม
  33. อ.วิภารัตน์                 ภิบาลวงษ์
  34. อ.ชวนชม                   พืชพันธ์ไพศาล
  35. อ.จันทรมาศ                เสาวรส
  36. อ.รัชชนก                   สิทธิเวช
  37. อ.กฤษณี                    สุวรรณรัตน์                เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง

1.ความหมายของ
การถอดบทเรียน
การถอดบทเรียน  หมายถึง การสกัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ออกมาเป็นบทเรียน/ความรู้ที่ชัดเจน (Explicit Knowledge) ผลการถอดบทเรียน ทำให้เกิดชุดความรู้ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นำมาซึ่งการปรับวิธีคิด เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์ และมีคุณภาพยิ่งขึ้น  เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย”
2.วงจรการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาโครงการ  การปฏิบัติèรวบรวมวิเคราะห์ (ถอดบทเรียน) èบทเรียนèสังเคราะห์เผยแพร่èชุดความรู้èทดลอง/ปรับ/ประยุกต์èแผนงานèนำไปใช้èการปฏิบัติที่มีคุณภาพ เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย”
3.วิธีการถอดบทเรียน  1.การถอดบทเรียนด้วยการเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist-PA) เป็นการเรียนรู้ก่อนการทำกิจกรรม ทั้งเขาและเราเรียนรู้ร่วมกัน และสิ่งที่เราสร้าง (เกิดความรู้ใหม่)2.การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ เล่าความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมา แลกเปลี่ยนความรู้ วิเคราะห์ ตีความ จะทำให้ได้ชุดความรู้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

3.การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการ (After Action Review: AAR) เป็นการจับความรู้ที่เกิดขึ้นสั้นๆ ภายหลังการทำกิจกรรม แล้วนำไปสู่การวางแผนในครั้งต่อไป สามารถดำเนินการได้ทั้งระหว่างการทำกิจกรรมเพื่อปรับปรุง/ แก้ไขระหว่างทำงาน หรือ “การทำไป คิดไป แก้ไขไป”

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย”
หลักการเลือกประชากร/กลุ่มตัวอย่างศึกษา  -Maximize Variation: มีการสะท้อนในหลายมุม หลายวิธีการ เช่น เพิ่มพื้นที่ เพิ่มกลุ่มคน เพิ่มประเด็นการซักถาม เพิ่มวิธีการเก็บข้อมูล-Minimize Error: ลดอคติ เช่น ตรวจสอบกับทฤษฎี หรือการจัดเวทีแลกเปลี่ยน

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย”

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมนี้

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ทราบเกี่ยวกับความหมาย  หลักการ และวิธีการถอดบทเรียน  ตลอดจนการทำวิจัยถอดบทเรียน

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

-พัฒนาเป็น Best Practice
-จัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติการสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เวลา 16.00 น.
ผู้จดบันทึก

อ.กฤษณี          สุวรรณรัตน์

ดร.ยศพล         เหลืองโสมนภา

อ.จีราภา         ศรีท่าไฮ

อ.ศศิโสภิต        แพงศรี

 

 

Tags: ,

การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา

วิจัยในชั้นเรียน

ภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล

วิชา  พย. 1425  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ชั้นปีที่ 4

ชื่อเรื่อง   การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา

ผู้วิจัย   รัชชนก  สิทธิเวช

สภาพปัญหา

ในวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เรื่อง การบำบัดทางด้านหัตถการ  นักศึกษาต้องสามารถคำนวณยาชาที่ใช้ในการทำหัตถการต่าง ๆ เช่น เย็บแผล  เลาะซีสต์  ถอดเล็บ  ซึ่งเป็นความรู้ที่ต้องนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  ในภาคการศึกษาที่ 2 ต่อไป  แต่พบว่ามีนักศึกษา 1 คน ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา  ไม่สามารถทำแบบฝึกหัดที่ให้ทำในชั้นเรียนได้  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานี้  ก่อนที่จะมีการประเมินผลรายวิชา

วัตถุประสงค์    เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา

วิธีดำเนินการ

1.  นัดหมายกับนักศึกษาเพื่อพูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา

2.  พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา   โดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาให้ครูดูทีละขั้นตอนประกอบกับให้นักศึกษาพูดขั้นตอนการคิดให้ครูฟังในขณะทำแบบฝึกหัดด้วย  เพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาไม่เข้าใจในขั้นตอนใด

3.  ครูอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษาไม่เข้าใจและไม่สามารถคิดต่อได้  ทีละขั้นตอน

4.  ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาข้อใหม่เพื่อทบทวนขั้นตอนการคิดในการคำนวณยาชาโดยขณะทำให้ครูดูนักศึกษาพูดขั้นตอนการคิดให้ครูฟังด้วย  เมื่อมีข้อผิดพลาดครูสอนเพิ่มเติมอีกครั้ง

5.  ครูสรุปขั้นตอนวิธีการคำนวณยาชา และให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาซ้ำ ข้อเดิมอีกครั้ง  จนสามารถทำและพูดอธิบายได้อย่างถูกต้อง

6.   ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาข้อใหม่เพื่อทบทวนขั้นตอนการคิดในการคำนวณยาชาโดยขณะทำให้ครูดูนักศึกษาพูดขั้นตอนการคิดให้ครูฟังด้วย  เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษาซ้ำอีกครั้ง  เมื่อถูกต้องแล้ว  ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาข้อใหม่โดยไม่ต้องพูดให้ครูฟัง

7.  ครูตรวจสอบความถูกต้อง และเสริมสร้างกำลังใจให้นักศึกษา  และเปิดโอกาสให้สอบถามได้เพิ่มเติม  หากก่อนสอบยังรู้สึกว่าไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยา

8.  ติดตามผลการสอบในเนื้อหาเรื่องการบำบัดทางด้านหัตถการ ข้อที่ถามเกี่ยวกับการใช้และคำนวณยาชา

 

ระยะเวลา    ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 / 2557
ผลการวิจัย
ในการสอนเรื่อง บำบัดทางด้านหัตถการเมื่อพบว่า  มีนักศึกษา 1 คน  ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา   ได้ดำเนินการพูดคุยกับนักศึกษาและผ่านกระบวนการดำเนินงานในข้างต้นแล้วพบว่า  นักศึกษาไม่เข้าใจหน่วยของยาชาที่จะใช้ในการคำนวณ  ไม่แม่นยำในขั้นตอนวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางศ์   และไม่กล้าสอบถามเมื่อไม่เข้าใจ  จึงไม่สามารถคำนวณยาชาได้ถูกต้อง  แต่เมื่อมีการฝึกทำแบบฝึกหัดซ้ำ ๆ และมีการพูดคุยอธิบายเพิ่มเติม  นักศึกษาสามารถทำได้ถูกต้อง         การติดตามผลการสอบในเนื้อหาเรื่องการบำบัดทางด้านหัตถการ ข้อที่ถามเกี่ยวกับการใช้และคำนวณยาชา นักศึกษาสามารถทำได้ถูกต้อง
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้สรุปได้ว่า   การพูดคุยกับนักศึกษาเป็นรายบุคคลจะช่วยทำให้ค้นพบสาเหตุเบื้องต้นในการไม่เข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนได้   และในการคำนวณยาชา ต้องให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง  จึงจะช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น   ซึ่งนักศึกษาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน   บางคนทำ 1 ข้อ สามารถทำได้ถูกต้อง เพราะมีพื้นฐานดี  แต่สำหรับ            บางคนต้องมีการทำเพิ่มเติม  ต้องใช้เวลามากขึ้น  จึงจะทำได้  ซึ่งหากครูเข้าใจความแตกต่างเฉพาะบุคคล และนักศึกษากล้าถามในส่วนที่ไม่เข้าใจ   จะช่วยทำให้นักศึกษามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้

Tags: , , , ,

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล

Tags: , , , ,