รายงานการสรุปสาระสำคัญจากการสังเคราะห์การเรียนรู้โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีการบูรณาการ

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการสรุปสาระสำคัญจากการสังเคราะห์การเรียนรู้

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีการบูรณาการ

วันที่  ๑๒  มิถุนายน  ๒๕๕๗  เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น

ณ ห้องรับรอง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ประธานที่ประชุม   อาจารย์สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล     รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. อาจารย์พัทธยา  เกิดกุล
  2. อาจารย์จารุณี    ขาวแจ้ง
  3. อาจารย์ขนิษฐา   เมฆกมล
  4. อาจารย์จีรภา     ศรีท่าไฮ
  5. อาจารย์นิศารัตน์  รวมวงษ์

เริ่มประชุมเวลา  ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน            

             ประธานสรุป จำนวนและประเภทโครงการบริการวิชาการ  ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ( ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ – ๓๑  พฤษภาคม ๒๕๕๗ )  มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งสิ้น ๑๓ โครงการ และมีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน    จำนวน ๔ โครงการ มีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการวิจัย จำนวน ๒ โครงการ โครงการที่นำผลไปใช้กับการเรียนการสอน จำนวน ๑ โครงการ และมีโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย  จำนวน ๑ โครงการ  มีโครงการที่ไม่มีการบูรณาการ กับพันธกิจใด จำนวน ๕  โครงการ

วาระที่ ๒ เรื่องการวางแนวทางการปรับปรุงการบูรณาการงานบริการวิชาการ

             ประธานเสนอแนวทางโดยการสังเคราะห์จากผลสรุปการเรียนรู้จากทุกโครงการที่มีการบูรณาการงานบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย  ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการใช้แบบฟอร์ม สรุปผลการเรียนรู้ ( After Action Review ) และการรายงานผลการบูรณาการวิชาการกับพันธกิจอื่น  ( FM-Plan ๓)คณะกรรมการจึงมีการนำข้อมูลทุกรายโครงการมาร่วมกันสังเคระห์   ได้ผลสรุปดังนี้

การบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน

๑.  ขั้นตอนการวางแผน และการจัดระบบการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ถ้าจะทำให้เกิดผลดี และบูรณาการได้หลายรายวิชา ต้องเริ่มจากการร่วมกันของฝ่ายวิชาการ หัวหน้าภาควิชาและผู้รับผิดชอบรายวิชา มีการวิเคราะห์หลักสูตรและประมวลรายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละชั้นปี ว่ารายวิชาใด และมีกิจกรรมใดที่ควรเสริมให้นักศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประสานงานฝ่ายบริการวิชาการเมื่อรับรู้ร่วมกันแล้วจึงกำหนดเป็นโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับหลักสูตร และประมวลรายวิชา โดยที่ฝ่ายวิชาการร่วมกำหนด รายวิชาทางการพยาบาลศาสตรที่ได้รับการบูรณาการ มีจำนวน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของรายวิชาทางการพยาบาลที่เปิดสอนในปีการศึกษา   ฝ่ายวิชาการ  ผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอนในรายวิชาร่วมวิเคราะห์และนำ

บทเรียน หรือเรื่องที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่นำ ไปเป็นประเด็นและกิจกรรมการให้บริการวิชาการ ทุกครที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการและผู้ดำเนินโครงการ  โดยมีโครงการใหญ่และมีกิจกรรมย่อยที่สอดคล้องกับทุกรายวิชา  วิธีการเช่นนี้ทำให้ โครงการบริการวิชาการ ๑ โครงการสามารถบูรณาการกับรายวิชา ได้หลายรายวิชา

๒.  วิธีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน  พบว่าผู้ดำเนินโครงการมีวิธีในการบูรณาการดังนี้

๑ ) การนำนักศึกษาออกไปในพื้นที่ที่ให้บริการวิชาการ พร้อมกับอาจารย์ เพื่อเป็นการเรีนรู้ในสภาพจริง

๒)  การมอบหมายการทำโครงการ กิจกรรมย่อยเพื่อให้นักศึกษาฝึกการให้การบริการวิชาการแก่สังคม

๓)  การนำประเด็นปัญหาจากกการให้บริการวิชาการแก่สังคม  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชั้นเรียน โดยมีอาจารย์ที่จัดทำโครงการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดเป็นกรณีศึกษาให้

 

การบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย

๑. เริ่มจากการบริการวิชาการร่วมกับแหล่งฝึกงานจริงของนักศึกษา หรือใช้พื้นที่ระดับชุมชนเป็นแหล่งการให้บริการวิชาการ มีการบันทึกความร่วมมีอ ชุมชนให้ความร่วมมือ  ทําให้อาจารย์เรียนรู้ชุมชน สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องหลายปี เมื่อมีการดําเนินงานต่อเนื่องหลายปี ทําให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างที่สามารถนํามาพัฒนาไปสู่การวิจัยได้

๒. ใช้วิธีการทํางานด้านการเรียนการสอน โดยเฉพาะควบคู่กันไปกับการสอนนักศึกษา  คือจะมอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำกิจกรรม หรือโครงการ และเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนหรือพื้นที่ที่ลงไปให้บริการ  เพื่อนําข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อให้ได้คําตอบสำหรับโครงการและกิจกรรม ที่สอดคล้องกับความการเรียนการสอนรายวิชาที่นักศึกษากำลังเรียน เป็นการฝึกหัดทำโครงการ  /กิจกรรม และการให้บริการวิชาการในเวลาเดียวกับได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยพร้อมไปกับอาจารย์ผู้สอน ทั้งนี้นักศึกษาที่จะทำเช่นนี้ได้จะเป็นชั้นปีที่ ๓หรือ๔ เนื่องจากผ่านการเรียนวิชาวิจัยมาแล้ว

 

ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การการปรับปรุงการบูรณาการการเรียนการสอน

             ๑.  การวางแผนร่วมกันของฝ่ายวิชาการ ภาควิชา และผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยมีวิเคราะห์รายวิชาที่จะทําการสอน ก่อนเริ่มดําเนิน โครงการบริการวิชาการ เป็นเทคนิคที่ดี ที่ทําให้การบูรณาประสบผลสำเร็จ  และต้องวางแผนให้ครอบคลุมตลอดภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมตามปีการศึกษา ตรงตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา

             ๒.  วิธีการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยอาจารย์ควรมีการนํานักศึกษาร่วมออกให้บริการในพื้นที่    เป็นเทคนิคการบูรณาการที่ทําให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง สอดคล้องกับกับมาตรฐานการเรียนรู้เป็นการนำผลประเมินมาพัฒนาการเรียนการสอนได้

๓.   วางแผนการนำความรู้ได้รับจากการบริการวิชาการหรือประเด็นปัญหาจากการบริการวิชาการ สามารถนํามาใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนในชั้นเรียนได้

 

ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การการปรับปรุงการบูรณาการการวิจัย

๑.   ในการให้บริการวิชาการแก่สังคมควรร่วมกับแหล่งฝึกงานจริงของนักศึกษา หรือใช้พื้นที่ระดับชุมชนเป็นแหล่งการให้บริการวิชาการ ทําให้ โดยเฉพาะการลงนามความร่วมมือ  จะทำให้อาจารย์สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องหลายปี  เมื่อมีการดําเนินงานต่อเนื่องหลายปี ทําให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างที่สามารถนํามาพัฒนาไปสู่การวิจัยได้

๒    การใช้การทํางานควบคู่กันไปกับการสอนนักศึกษาทำให้ใช้เวลาทำงานได้อย่างคุ้มค่า และได้งานตามพันธกิจของสถาบัน แต่ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีทั้งการเริ่มงานบริการวิชาการซึ่งต้องเกิดขึ้นก่อนและตามด้วยงานวิจัย เนื่องจากมีงานสองชิ้นจึงต้องการการบริหารเวลาที่ดี ต้องใช้เวลาให้เส็จสิ้นตามปีการศึกษา

Print Friendly
ผู้เขียน อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล (ประวัติการเขียน 1 เรื่อง)


Tags: , , ,

Comments are closed.