การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย (ครั้งที่ 1)
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
CoP การจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.45 – 16.00 น.
ณ อาคารเอนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
1.เรื่อง การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย (ครั้งที่ 1)
2.วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย
3.ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 37 ท่าน ได้แก่
- ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ วิทยากร
- ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา ประธานกลุ่ม
- อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
- อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์
- อ.คณิสร แก้วแดง
- ดร.ธัสมน นามวงษ์
- อ.จีราภา ศรีท่าไฮ
- อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
- อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร
- อ.ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
- อ.นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
- อ.สุปราณี ฉายวิจิตร
- อ.สุกัญญา ขันวิเศษ
- อ.นุชนาถ ประกาศ
- อ.ปัทมา บุญช่วยเหลือ
- อ.อรพรรณ บุญลือ
- อ.ศศิโสภิต แพงศรี
- อ.สุภา คำมะฤทธิ์
- อ.รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
- อ.ธนพร ศนีบุตร
- อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท
- อ.ราตรี อร่ามศิลป์
- อ.ลลิตา เดชาวุธ
- อ.พัทธยา เกิดกุล
- อ.เสาวภา เล็กวงษ์
- อ.ธันยพร บัวเหลือง
- อ.กมลณิชา อนันต์
- อ.วรรณศิริ ประจันโน
- อ.อรัญญา บุญธรรม
- อ.มงคล ส่องสว่างธรรม
- อ.นิศารัตน์ รวมวงษ์
- อ.สุมาลี ราชนิยม
- อ.วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์
- อ.ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล
- อ.จันทรมาศ เสาวรส
- อ.รัชชนก สิทธิเวช
- อ.กฤษณี สุวรรณรัตน์ เลขานุการ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ |
สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เรื่องเล่าความสำเร็จ) |
อ้างอิง |
1.ความหมายของ การถอดบทเรียน |
การถอดบทเรียน หมายถึง การสกัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ออกมาเป็นบทเรียน/ความรู้ที่ชัดเจน (Explicit Knowledge) ผลการถอดบทเรียน ทำให้เกิดชุดความรู้ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นำมาซึ่งการปรับวิธีคิด เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์ และมีคุณภาพยิ่งขึ้น | เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย” |
2.วงจรการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาโครงการ | การปฏิบัติèรวบรวมวิเคราะห์ (ถอดบทเรียน) èบทเรียนèสังเคราะห์เผยแพร่èชุดความรู้èทดลอง/ปรับ/ประยุกต์èแผนงานèนำไปใช้èการปฏิบัติที่มีคุณภาพ | เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย” |
3.วิธีการถอดบทเรียน | 1.การถอดบทเรียนด้วยการเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist-PA) เป็นการเรียนรู้ก่อนการทำกิจกรรม ทั้งเขาและเราเรียนรู้ร่วมกัน และสิ่งที่เราสร้าง (เกิดความรู้ใหม่)2.การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ เล่าความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมา แลกเปลี่ยนความรู้ วิเคราะห์ ตีความ จะทำให้ได้ชุดความรู้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3.การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการ (After Action Review: AAR) เป็นการจับความรู้ที่เกิดขึ้นสั้นๆ ภายหลังการทำกิจกรรม แล้วนำไปสู่การวางแผนในครั้งต่อไป สามารถดำเนินการได้ทั้งระหว่างการทำกิจกรรมเพื่อปรับปรุง/ แก้ไขระหว่างทำงาน หรือ “การทำไป คิดไป แก้ไขไป”
|
เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย” |
หลักการเลือกประชากร/กลุ่มตัวอย่างศึกษา | -Maximize Variation: มีการสะท้อนในหลายมุม หลายวิธีการ เช่น เพิ่มพื้นที่ เพิ่มกลุ่มคน เพิ่มประเด็นการซักถาม เพิ่มวิธีการเก็บข้อมูล-Minimize Error: ลดอคติ เช่น ตรวจสอบกับทฤษฎี หรือการจัดเวทีแลกเปลี่ยน
|
เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย” |
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมนี้
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ทราบเกี่ยวกับความหมาย หลักการ และวิธีการถอดบทเรียน ตลอดจนการทำวิจัยถอดบทเรียน
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
-พัฒนาเป็น Best Practice
-จัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติการสังเคราะห์และถอดบทเรียนงานวิจัย
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวลา 16.00 น.
ผู้จดบันทึก
อ.กฤษณี สุวรรณรัตน์
ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา
อ.จีราภา ศรีท่าไฮ
อ.ศศิโสภิต แพงศรี