การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง (ครั้งที่ 1)

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

CoP การจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14.00 – 16.00 น.
ณ อาคารเอนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 

1.เรื่อง  การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง   (ครั้งที่ 1)

2.วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้
          เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง

3.ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 31 ท่าน ได้แก่

  1. ดร.ชดช้อย                 วัฒนะ                               วิทยากร
  2. ดร.ยศพล                   เหลืองโสมนภา             ประธานกลุ่ม
  3. อ.เพ็ญนภา                 พิสัยพันธุ์
  4. อ.คณิสร                     แก้วแดง
  5. ดร.ธัสมน                   นามวงษ์
  6. อ.จีราภา                   ศรีท่าไฮ
  7. อ.บุษยารัตน์                ลอยศักดิ์
  8. อ.รัชสุรีย์                   จันทเพชร
  9. อ.ปาลีรัญญ์                ฐาสิรสวัสดิ์
  10. อ.นวนันท์                  ปัทมสุทธิกุล
  11. อ.สุกัญญา                  ขันวิเศษ
  12. อ.นุชนาถ                  ประกาศ
  13. อ.ปัทมา                    บุญช่วยเหลือ
  14. อ.อรพรรณ                 บุญลือ
  15. อ.ศศิโสภิต                  แพงศรี
  16. อ.สุภา                      คำมะฤทธิ์
  17. อ.รสสุคนธ์                  เจริญสัตย์ศิริ
  18. อ.วรัญญา                  ชลธารกัมปนาท
  19. อ.ธันยพร                   บัวเหลือง
  20. อ.กมลณิชา                 อนันต์
  21. อ.อรัญญา                  บุญธรรม
  22. อ.มงคล                     ส่องสว่างธรรม
  23. อ.นันทวัน                  ใจกล้า
  24. อ.จันจิรา                   หินขาว
  25. อ.จันทรมาศ                เสาวรส
  26. อ.รัชชนก                   สิทธิเวช
  27. อ.สุมาลี                     ราชนิยม
  28. อ.วิภารัตน์                 ภิบาลวงษ์
  29. อ.โศภิณศิริ                 ยุทธวิสุทธิ
  30. อ.นิศารัตน์                 รวมวงษ์
  31. อ.กฤษณี                    สุวรรณรัตน์                เลขานุการ

 

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1.ความหมายของแนวคิด Self-management  การเรียนรู้ การฝึกทักษะการเผชิญปัญหา การปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินชีวิตของการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังความสามารถในการจัดการกับความเจ็บป่วย ด้านร่างกายและจิตใจจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง  การควบคุมโรค/ลดผลกระทบจากโรค

แนวคิด Self-management สามารถสรุปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ (critical attributes) ได้ดังนี้

1. การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้จริง (Realistic personal goal setting) การตั้งเป้าหมาย อาจตั้งเพื่อให้บรรลุ Intermediate outcome ก่อนหรือตั้งเพื่อบรรลุ Optimal outcome จากการทบทวนงานวิจัยพบว่าควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สำเร็จได้ง่ายและเกิดกำลังใจในการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องสู่ความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายสุดท้าย  โดยการตั้งเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ญาติต้องกระทำร่วมกับทีมสุขภาพ

2. การลงมือปฏิบัติ (Conduct action to control illness and monitoring progress) เป็นการลงมือปฏิบัติ พฤติกรรมหรือกระทำกิจกรรม ร่วมกับเฝ้าระวัง (สังเกตและบันทึก) สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ

3. การตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้บรรลุเป้าหมาย

(Making adjustment to goal attainment) การปรับพฤติกรรมหรือกิจกรรมสามารถกระทำได้หลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติและสังเกตพบว่าวิธีที่ปฏิบัติยังไม่สามารถทำให้บรรลุ

 

เป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดยังอยู่สูงเกินเป้าหมายที่กำหนดแม้จะปรับวิธีการรับประทานอาหารแล้ว  จึงปรับเปลี่ยนวิธีใหม่เช่น ลดการรับประทานอาหารบางชนิดหรือเพิ่มจำนวนครั้งและระยะเวลาการออกกำลังกายให้มากขึ้นและติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดใหม่เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ จนบรรลุเป้าหมาย

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง”
2. การทำความเข้าใจในแนวคิดการจัดการตนเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวคิดการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน (Concept analysis of diabetes self-management) สรุปได้ดังนี้

  1. Antecedent conditions: ควรทำความเข้าใจตัวแปรที่สัมพันธ์กับ diabetes self-management (เกิดก่อนการจัดการตนเอง) เช่น Knowledge, perception, willingness, social persuasion ตัวแปรเหล่านี้สามารถนำไปศึกษาวิจัยเชิงความสัมพันธ์หรือหาปัจจัยทำนายการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน หรือผลลัพธ์ของการจัดการตนเอง เป็นต้น
  2. Consequences : สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ของการจัดการตนเอง ได้แก่ physiological outcomes (เช่น glycemic control, CVD risk, BMI, metabolic control etc.) Behavioral outcomes (เช่น health behaviors, physical activity, lifestyle behaviors etc.) Psychological outcomes (เช่น improvement in problem-solving, anxiety level, depression level, quality of life etc.) อาจทำวิจัยเชิงสำรวจ หรือหาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการตนเองกับ consequences หรือเป็นวิจัยเชิงทดลองหรือกึ่งทดลองแล้ววัดผลที่ตัวแปรเหล่านี้ได้ รวมทั้งอาจทำในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
  3. The empirical reference: วัดว่าเกิด critical attributes) จากอะไร เช่น personal goal setting indicators (self-report ); self-report behaviors change (eating behaviors, exercise, medication taking etc.); physiological outcomes indicators (duration of the physical activity; blood glucose level etc.) ช่วยในการออกแบบเครื่องมือวัดในการวิจัย

การสร้างเครื่องมือการวิจัยเช่น การวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง ให้คำนึงถึง attribute หลักของ concept โดยข้อคำถามต้องปรากฏองค์ประกอบสำคัญของแนวคิดนั้นๆ

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง”
3. ชนิดของงานวิจัย    เชิงทดลองหรือกึ่งทดลอง           ที่ใช้แนวคิด Self-management  3.1 Self-management educationเน้นการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง ซึ่งต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและพยาธิสภาพ อาการอาการแสดง หลักในการปฏิบัติเพื่อการจัดการตนเองให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนด เป็นต้น

3.2 Self-management training

เน้นการฝึกทักษะที่จำเป็นในการควบคุมโรคหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเฉพาะเพื่อจัดการกับความเจ็บป่วย/ปัญหาสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค/ปัญหาสุขภาพนั้นๆ

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง”
4.How to support self-management?ตัวอย่าง โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง  การออกแบบการวิจัยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของแนวคิดการจัดการตนเองที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและ guide intervention กิจกรรมหลักของ intervention ต้องฝึกการจัดการตนเองในเรื่องต่อไปนี้1. การกำหนดเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตามเกณฑ์

2. การรวบรวมข้อมูล อาการ/อาการที่แสดงถึงความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

3. การวิเคราะห์ประเมินสาเหตุและแนวทางป้องกัน/แก้ไข

4. ตัดสินใจ ในการปฏิบัติพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมโรค

5. การปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค ตามเป้าหมายที่กำหนด

6. ติดตามประเมินผลการควบคุมโรค/และปรับพฤติกรรมให้สามารถควบคุมโรคและระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย

 

เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “การใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองในการวิจัยโรคเรื้อรัง”

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมนี้

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ทราบเกี่ยวกับความหมายของแนวคิด Self-management  องค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิด และการนำ หลัก Self-management ไปใช้ในการทำวิจัย

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

1. การนำหลัก Self-management ไปใช้ในการทำวิจัย

- การทำความเข้าใจแนวคิด/ความหมาย

- การพิจารณาองค์ประกอบ

- ออกแบบการวิจัยตามปัญหาการวิจัย โดยคำนึงถึง critical attributes, antecedent conditions, consequences, and empirical references ซึ่งสามารถศึกษาทั้งในวิจัยเชิงสำรวจ เชิงความสัมพันธ์ ปัจจัยทำนาย การวิจัยเชิงทดลอง/กึ่งทดลอง (การสร้างโปรแกรม) การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

2. การจัดทำเป็นแนวปฏิบัติการทำวิจัยโดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง Self-management
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เวลา 16.00 น.
ผู้จดบันทึก

อ.กฤษณี          สุวรรณรัตน์

ดร.ยศพล         เหลืองโสมนภา

อ.จีราภา         ศรีท่าไฮ

อ.ศศิโสภิต        แพงศรี

ผู้ตรวจสอบ

ดร.ชดช้อย  วัฒนะ

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ศศิโสภิต แพงศรี (ประวัติการเขียน 4 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: ,

Comments are closed.