After Action Review เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ หลังจากการทำโครงการบริการวิชาการ โครงการอบรมแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
After Action Review เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้
หลังจากการทำโครงการบริการวิชาการ โครงการอบรมแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ในเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
วันที่จัดโครงการ 20 – 21 กรกฎาคม 2555
วันที่ประชุมแลกเปลี่ยน 1 สิงหาคม 2555
ผู้ร่วมทำ After Action Review
- ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
- อ.โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล
- อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์
- อ.ทองใหญ่ วัฒนศาสตร์
- อ.คณิสร แก้วแดง
- อ.รัชชนก สิทธิเวช
สรุปองค์ความรู้หลักที่ได้จากการบริการวิชาการ
ประเด็นที่ 1 ผู้สูงอายุและแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้หญิง ให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ชาย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเป็นที่สนใจของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ดังนั้นอาจจำเป็นต้องค้นหากลวิธีหรือรูปแบบของกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ผู้สูงอายุผู้ชายให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีข้อน่าสังเกตว่าชมรมส่งเสริมสุขภาพจังหวัดจันทบุรี มีผู้ชายรวมกลุ่มกันออกกำลังกายที่สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมากกว่าผู้หญิง เช่น การวิ่ง/เดินเป็นกลุ่ม เล่นตะกร้อ เป็นต้น จึงน่าจะเข้าไปศึกษาว่าผู้ชายในวัยผู้ใหญ่และสูงอายุ สนใจทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพลักษณะ/รูปแบบใด เพื่อการเข้าถึงผู้สูงอายุชาย และให้การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชายได้อย่างต่อเนื่องและได้ผลดี
ประเด็นที่ 2 การดำเนินงานในการสร้างเสริมสุขภาพโดยชมรมผู้สูงอายุ ควรมีบุคลากรสุขภาพหรือบุคคลที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุเข้าไปร่วมทำกิจกรรมสำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการในระยะยาวหรือทำอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้สูงอายุมักไม่มีกำลังมากพอในการดำเนินการทุกอย่าง
ประเด็นที่ 3 การให้ความรู้ ควรให้เป็นประเด็นสำคัญ ๆ กระชับ และมีการลงมือฝึกปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อและไม่สนใจฟัง
ประเด็นที่ 4 การฝึกปฏิบัติ:ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ต้องมีการประเมินสภาพ และความพร้อมทางร่างกายของผู้สูงอายุ เพราะอาจมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ต้องมีการปรับวิธีการปฏิบัติ เช่น การนวดให้เหมาะสม ท่าในการบริหารร่างกาย สำหรับผู้ที่มีปัญหาของกระดูกไขสันหลัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
ประเด็นที่ 5 การนวดในผู้สูงอายุไม่ควรให้นวดท่าดัดคอ และให้ถามความพึงพอใจว่าจะให้นวด โดยใช้สมุนไพรหรือไม่ใช้ รวมทั้งการถามเรื่องน้ำหนักมือและระยะเวลาในการนวดควรถามบ่อยขึ้นกว่าเดิม เพราะอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักมือและระยะเวลาในการนวดแต่ละตำแหน่งให้เหมาะสม
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน /การวิจัย
1. สอนนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินข้อจำกัดของผู้สูงอายุก่อนที่จะให้คำแนะนำต่าง ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกายและการบริหารร่างกาย | อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์ ผู้สอนภาคทฤษฎีในรายวิชา พย. 1207 การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย ในปีการศึกษา 255 |
2. สอนนักศึกษาเกี่ยวกับท่าที่เหมาะสมในการนวด และเทคนิคที่ต้องเน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ | อ. คณิสร แก้วแดง ผู้สอนภาคทดลองในรายวิชา พย. 1203 หลักการและเทคนิคการพยาบาลในปีการศึกษา 2556 |
ได้ความรู้มากๆกับการอ่านบทความของคุณ ขอบคุณมากๆ