ภาวะผู้นำ (Leadership)

รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้
เรื่อง ภาวะผู้นำ (
Leadership)

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2554  เวลา 9.00 – 11.00 น.

ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ

อ.โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล                ประธานการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.ศรีสกุล   เฉียบแหลม       ผู้นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. อ.พุฒตาล    มีสรรพวงศ์
  3. อ.สุมาลี      ราชนิยม
  4. อ.รัชชนก    สิทธิเวช
  5. อ.จิตติยา    สมบัติบูรณ์
  6. อ.นิศารัตน์   รวมวงษ์
  7. อ.จีราภา     ศรีท่าไฮ
  8. อ.วิภารัตน์   ภิบาลวงษ์
  9. อ.ศราวุธ     อยู่เกษม
  10. อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
  11. อ.นครินทร์  สุวรรณแสง
  12. อ.ภโวทัย     พาสนาโสภณ     เลขาการประชุม

เริ่มประชุมเวลา  9.00 น.

วาระที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership)

  1. ความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำกับผู้บริหาร

ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการ (มิใช่ตำแหน่งหน้าที่) ที่ใช้ความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อกลุ่มและมีแรงบันดาลใจ แรงจูงใจและการสั่งการในงานเพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายขององค์การ

ผู้บริหาร เป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นในองค์การ มีอำนาจโดยตำแหน่งและได้รับความคาดหวังในหน้าที่เฉพาะเจาะจง  จะมุ่งเน้นที่การควบคุม  การตัดสินใจ

ผู้นำกับผู้บริหารจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำและมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน  เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะมีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาวะผู้นำกับผู้บริหารไม่อาจแยกออกจากกันได้ มีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่จนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างออกจากกันได้

การเปรียบเทียบผู้นำกับผู้บริหาร
มี 3 แบบ ได้แก่

1)      การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้นำกับผู้บริหาร ดังนี้

ผู้นำ

ผู้บริหาร

มาจากจิตวิญญาณ มาจากจิตใจ
มีวิสัยทัศน์ มีเหตุผล
น่าศรัทธา/หลงใหล เป็นที่ปรึกษา
ริเริ่มสร้างสรรค์ เด็ดเดี่ยว
มีความยืดหยุ่น ผู้แก้ปัญหา
จูงใจ/เร้าใจ ใจกว้าง
สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คิดวิเคราะห์
มีความกล้าหาญ เป็นผู้สร้าง
มีจินตนาการ ไตร่ตรอง/รอบคอบ
กล้าที่ลองสิ่งใหม่ เผด็จการ
เริ่มต้นมีการเปลี่ยนแปลง มีเสถียรภาพ
อำนาจส่วนบุคคล อำนาจตำแหน่ง

 

2)      การเปรียบเทียบการทำงานของผู้นำกับผู้บริหาร

ผู้นำ

ผู้บริหาร

ทำถูกต้องในทุกสิ่ง ทำทุกสิ่งให้ถูกต้อง
เน้นการพัฒนา การรักษาสภาพให้คงอยู่
มีแรงบันดาลใจ มีการควบคุม
วิสัยทัศน์กว้างไกล การมองภาพระยะสั้น
ถามว่าอะไร
ทำไม
ถามว่าอย่างไร
และเมื่อไร
เป็นผู้ริเริ่ม เลียนแบบ
ท้าทายการเปลี่ยนแปลง ยอมรับในสถานะที่เป็นอยู่

 

3)      การเปรียบเทียบความแตกต่างของอำนาจ

ความสำคัญของอำนาจมี 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 อำนาจตำแหน่ง (Position power)

แบบที่ 2 อำนาจส่วนบุคคล (Personal power)

 

2.      ทฤษฎีภาวะผู้นำ

2.1    Douglas McGregor  (McGregor’s  Theory  X  and  Theory Y)

2.2    ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Leadership  Trait  Theories)

2.3    ทฤษฎีผู้นำพฤติกรรมนิยม (Leadership  Behavioral Theories)

2.4    ทฤษฎีผู้นำของ  Blake and  Mouton’s  managerial Grid

2.5    ทฤษฎีผู้นำของ  Fiedler’s Contingency  of  Leadership

2.6    ทฤษฎีผู้นำของ  Hersey – Blanchard

2.7    ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ  (Charismatic Leadership)

2.8    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformation  Leadership)

 

ลักษณะสำคัญของการเป็นผู้นำทางการพยาบาล  มี 5 ประการ คือ

  1. การปรับตัว
  2. ความยืดหยุ่น
  3. ความเข้มแข็ง/แข็งแกร่ง
  4. ความตระหนักเกี่ยวกับการเมือง
  5. ความสามารถในการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น

การบริหารผลการปฏิบัติงาน  (Performance  Management)

-  ความหมายของการบริหารผลการปฏิบัติงาน  (PM)

-  ผลสำรวจเกี่ยวกับการนำการบริหารผลการปฏิบัติงานไปใช้

-  แนวโน้มและการปฏิบัติเกี่ยวกับการนำการบริหารผลการปฏิบัติงานไปใช้ (2552)

-  กระบวนการการบริหารผลการปฏิบัติงาน

-  สิ่งที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการการบริหารผลการปฏิบัติงาน

-  จริยธรรมในการนำ PM มาใช้ในการตัดสินและการพัฒนางาน

-  การนำ PM มาใช้ในการประเมิน

-  ปัญหาจากการนำ PM มาใช้

-  การประเมินแบบ 360 องศา

 

การนำไปใช้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. นำไปใช้ในการบูรณาการกับรายวิชา พย.1428 การบริหารการพยาบาลในปีการศึกษา 2555 โดย ในการปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ต้องนำบางลักษณะของผู้นำและบางลักษณะของผู้บริหารไปใช้ให้เหมาะสมทั้งสถานการณ์และโอกาส และนอกจากลักษณะที่กล่าวมาแล้วผู้นำควรมีอิทธิบาท 4 และสังคหวัตถุ 4 เพื่อช่วยให้ทำงานสำเร็จและทำงานอย่างมีความสุขด้วย
  2. สามารถนำ PM มาประกอบแนวคิดได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ทั้งหมดได้ ควรนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบท  เพราะในบางเรื่องไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง

ปิดประชุมเวลา  11.00 น.

                                                                             นายภโวทัย   พาสนาโสภณ

                                                                             ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ภโวทัย พาสนาโสภณ (ประวัติการเขียน 2 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ


Tags: , , ,

Comments are closed.