CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการประชุมของ CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง

ครั้งที่ 1 วันที่ 21 เดือน กุมภาพันธ์ พศ. 2556 ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ เวลา 15.30 – 16.30 น.

  1. เรื่อง ปัจจัยสนับสนุนให้การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อการควบคุมน้ำหนัก ประสบความสำเร็จ
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมให้ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ที่เข้าร่วมโครงการ หนึ่งคืน สองวัน สร้างสรรค์สุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย จนกระทั่งสามารถลดน้ำหนักลงได้ (ในช่วงเวลา 2 เดือน ของการเข้าร่วมโครงการ)
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ..13……. คน ได้แก่

1. นางสาวพรฤดี  นิธิรัตน์            ประธาน

2. นางสาวมัณฑนา เหมชะญาติ      สมาชิก

3. นางพัทธยา  เกิดกุล                สมาชิก

4. นางจารุณี  ตฤณมัยทิพย์           สมาชิก

5. นางรัชชนก สิทธิเวช               สมาชิก

6. นางนันทวัน  ใจกล้า               สมาชิก

7. นางราตรี  อร่ามศิลป์              สมาชิก

8. นางสาวเพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์       สมาชิก

9. นางขนิษฐา  เมฆกมล              สมาชิก

10. นางสาวจิตติยา  สมบัติบูรณ์     สมาชิก

11. นางสาวจีรภา  ศรีท่าไฮ           สมาชิก

12. นางสาวสายใจ   จารุจิตร        สมาชิก

13. นางจันทรมาศ  เสาวรส           สมาชิก

 


กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 (เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1. ปัจจัยที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย 1. พลังกลุ่ม  กลุ่มมีส่วนช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมาก  กลุ่มมีส่วนในการช่วยเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้  1. ช่วยกระตุ้นให้ทำพฤติกรรม  เช่น เตือนกันให้ลดการรับประทานอาหารหวาน   ชักชวนกันไปออกำลังกาย  ชักชวนให้รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ  เป็นต้น

2. ช่วยให้กำลังใจ  กลุ่มช่วยให้กำลังใจทั้งเมื่อลดน้ำหนักได้  และเมื่อยังลดน้ำหนักไม่ได้  แรงสนับสนุนด้านจิตใจจากกลุ่มทำให้คนเกิดแรงขับ ที่จะทำให้สำเร็จ

3. ช่วยหาข้อมูลที่มีประโยชน์มาแลกเปลี่ยนกัน   กลุ่มช่วยเหลือกัน  หาข้อมูลแบ่งปันกัน  ดังนั้นการจัดกลุ่มที่มีทั้งอาจารย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่อยู่ด้วยกัน  เป็นเรื่องที่ดี เพราะอาจารย์สามารถช่วยเหลือ  ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มได้

4. ช่วยคิดวิธีช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การติดวางแผนเป็นกลุ่ม ทำให้ได้ความคิดที่หลากหลาย  ได้แลกเปลี่ยนกัน จากประสบการณ์เดิมของทุกคน  ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประสบความสำเร็จได้

นางสาวพรฤดี  นิธิรัตน์  

นางสาวมัณฑนา เหมชะญาติ

นางพัทธยา  เกิดกุล      

นางจารุณี  ตฤณมัยทิพย์ 

นางรัชชนก สิทธิเวช

นางนันทวัน  ใจกล้า

นางราตรี  อร่ามศิลป์    

นางสาวเพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

นางขนิษฐา  เมฆกมล

นางสาวจิตติยา  สมบัติบูรณ์

นางสาวจีรภา  ศรีท่าไฮ

นางสาวสายใจ   จารุจิตร

นางจันทรมาศ  เสาวรส

 

 

2. องค์ความรู้   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง  และสร้างความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงก่อน  การทำกิจกรรมโครงการ หนึ่งคือ  สองวัน สร้างสรรค์สุขภาพ  เป็นกิจกรรมที่ออกแบบได้ดี  ทำให้คนเกิดความรู้  และสร้างความตระหนัก  บุคลากรของวิทยาลัยจำได้ถึงอาหารที่มีแคลอรี่สูงและไม่ควรรับประทาน
3. การสร้างกระแส  การทำกิจกรรมมีการประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ทั้งองค์กร  ทำให้เกิดการรับรู้ของคนในองค์กร  ทุกคนจึงเกิดความรู้สึกร่วม  และอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งคนที่เข้าร่วมโครงการ  และไม่ได้เข้ารวมโครงการ  บรรยากาศขององค์กรมีความตื่นตัวในปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4. การให้รางวัล  ระบบให้รางวัลทำให้เกิดการแข่งขัน  เกิดการร่วมคิดร่วมทำ  เพื่อให้กลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้  และได้รับรางวัล  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพ Social Support (Appraisal support) และ Trans Theoretical Model ที่กล่าวถึงเรื่องการให้รางวัล  เป็นการทำให้คนรู้สึกว่าพฤติกรรมที่ได้ทำนั้นถูกต้องแล้ว และควรทำต่อไป  การให้รางวัลเป็นกกลุ่มช่วยให้กระบวนกลุ่มเข้มแข็ง  และเกิดการช่วยเหลือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แต่การแข่งขันกันมากเกินไป  ทำให้เกิดความเครียดได้
  5. การติดตามผล  การติดตามผลเป็นระยะที่ทำอยู่  มีส่วนให้คนระมัดระวังพฤติกรรมของตนเอง   การวางเครื่องชั่งน้ำหนักให้คนได้ชั่งน้ำหนักเป็นประจำ  จะได้รับรู้น้ำหนักและการเปลี่ยนแปลง  จึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างเหมาะสม
2. การทำให้พฤติกรรมคงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างถาวร           การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในช่วงเวลา 2 เดือน แรก ถึงแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนได้ดี  มีการควบคุมตนเองได้  และน้ำหนักลดลง  แต่ทุกคนยังไม่มั่นใจว่า  จะยังคงทำให้เป็นเช่นนี้ต่อไปได้หรือไม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องดูแลตนเองโดยไม่มีกลุ่มช่วยเหลือ  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ Trans Theoretical Model  ที่กล่าวถึง  Stage of Change โดยระบุว่า บุคคลมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พร้อมกัน  แต่ละขั้นของความพร้อม จะต้องส่งเสริมพฤติกรรมด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน  สำหรับกรณีของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  ถือว่าอยู่ในระยะ Action คือเปลี่ยนแปลงแล้ว  แต่ยังไม่ถึง 6 เดือน จึงมีโอกาสที่จะล้มเหลวได้

ความไม่มั่นใจว่าจะยังคงพฤติกรรมนี้ต่อไปได้หรือไม่  ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบุคลากรเพิ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เพียง 2 เดือน  ระยะอีก 4 เดือน ต่อไปนี้ ต้องมีการเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมตามทฤษฎี  แล้วประเมินความเชื่อมั่นเป็นระยะ  เมื่อผ่านไป 6 เดือน พฤติกรรมน่าจะคงอยู่  และเป็นนิสัย โดยไม่ต้องอาศัยกลุ่มในการช่วยเหลือ

นางนันทวัน  ใจกล้า

นางสาวพรฤดี  นิธิรัตน์

นางสาวมัณฑนา เหมชะญาติ

นางสาวสายใจ   จารุจิตร

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ (สรุปประเด็นความรู้ พร้อมคำอธิบาย โดยสังเขป)

  1. สมาชิกกลุ่มทุกคน  มีความเข้าใจในเรื่องที่มาแลกเปลี่ยนกันเป็นอย่างดี  ทำให้บรรยากาศในกลุ่มขณะทำ KM  มีบรรยากาศที่ดี  ได้แลกเปลี่ยนกันอย่างหลากหลาย  และเกิดการตกผลึกทางความคิด
  2. การจัดกิจกรรมครั้งต่อไป  ควรนำองค์ความรู้จากการทำวิจัยเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่กว้างขึ้น

แนวทางการนำความรู้ไปใช้ (ระบุรายละเอียด)

  1. วางแผนรูปแบบการทำกิจกรรมครั้งต่อไป  ซึ่งการนัดติดตามผลจากนี้จะเว้นระยะ 1 เดือน  ต้องเน้นกระบวนการกลุ่มให้เข้มแข็ง  เพื่อให้พฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีแล้วคงอยู่ต่อไป  จนถึงการพบกันครั้งหน้า
  2. นำสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกัน  ไปปรับกิจกรรมการจัดอบรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ที่จะนำไปขยายผลในโอกาสต่อไป  ซึ่งวางแผนจะขยายผลโครงการนี้ที่ชุมชนท่าช้าง

 

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่  1 เวลา 16.30 น.

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ (ประวัติการเขียน 9 เรื่อง)


Tags: , , ,

Comments are closed.