Plugin by Social Author Bio

การจัดการความรู้ วพ.พระปกเกล้า จันทบุรี » อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์

รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาดูงานโรงงานคัดแยกขยะ และการนำมาประยุกต์ใช้ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาดูงานโรงงานคัดแยกขยะ และการนำมาประยุกต์ใช้ ครั้งที่  ๑/๒๕๕๗ วันที่  ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗  เวลา  ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. ณ  ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี   เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและการนำมาประยุกต์ใช้ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการขยะ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้   ประธานการประชุม  นางโสภา ลี้ศิริวัฒนกุล  รองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๑ คน ได้แก่   ๑.  นางโสภา   ลี้ศิริวัฒนกุล ๒.  นางสาวเพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์ ๓.  นางสาวพุฒตาล  มีสรรพวงศ์ ๔.  นางสาวจีราภา  ศรีท่าไฮ ๕.  นายภโวทัย  พาสนาโสภณ ๖.  นางวิภารัตน์  ภิบาลวงษ์ ๗.  นางสาวสายใจ  [...]

Tags: ,

เวชปฏิบัติทันยุค 2

สรุปผลเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการใช้ยา (จากการประชุมเรื่องเวชปฏิบัติทันยุค 2 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร. ลัดดาวัลย์ ผิวทองงาม)
1.ผู้ป่วยโรคหอบหืด ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เช่น Ibuprofen และ ASA เพราะจะทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบได้
2.การรับประทานยากลุ่ม NSAIDS ติดต่อกันหลายปี ให้ระวังการเกิด Renal failure เพราะจะทำให้เกิดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง จนทำให้เกิดไตวายได้
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้
4.การให้ยา Omeprasol ควรให้รับประทานยาก่อนอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมของยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรให้รับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง (ยกตัวอย่างเช่น เริ่มให้ยา เวลา 08.00 น. ควรให้ยาครั้งต่อไปในเวลา 20.00น.)
5.การให้ยา Ranitidine ต้อง Dilute ด้วย NSS อย่างน้อย 20 ml. และต้อง push เข้าหลอดเลือดช้าๆ อย่างน้อย 5 นาที เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน บริเวณหลอดเลือด
6.การให้ยา Enalapril มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอควรปรึกษาแพทย์
7.การใช้ยาในเด็กต้องคำนวณยาให้ได้ในขนาดที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น ยาที่ใช้บ่อยควรมีการคำนวณติดไว้ให้เห็นชัดเจนเพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการนำไปใช้
8.การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องระมัดระวัง มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาต่อกันของยาได้มากกว่าปกติเพราะผู้สูงอายุมักใช้ยาหลายชนิดและจะมีการขับออกของยาได้น้อยกว่าบุคคลทั่วไป
9.การให้คำแนะนำเรื่องอาการแพ้ยาต้องแนะนำกับผู้รับบริการทุกคนเสมอ

Tags: , ,

บทที่ 1 การพยาบาลด้านความสุขสบาย

การพยาบาลด้านความสุขสบาย ในเรื่องต่อไปนี้
1. สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) หมายถึง การที่บุคคลแต่ละช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ มีสภาพร่างกายที่สะอาด แต่งกายเรียบร้อย และสามารถ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง ซึ่งบุคคลจะต้องดูแลร่างกายของตนเองให้สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวให้สะอาด ปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลสุขวิทยาของตนเองได้ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถและพัฒนาการตามวัย แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย พยาบาลจะเป็นบุคคลที่จะปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลทดแทนให้ เพื่อให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่ดี ไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพของโรค
2. การทำเตียง และสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดูแลรักษาความสะอาดเตียง อุปกรณ์เครื่องใช้ในการนอน ตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วยให้สะอาด และอยู่ในสภาพที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สะอาดและได้รับการดูแลทุกวัน รวมทั้งการมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ปราศจากกลิ่นรบกวน การจัดวางสิ่งของต่างๆเป็นระเบียบ จะไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3. การนวด เป็นศิลปะของการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่ง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ในโรงพยาบาลและต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆจะมีความรู้สึกเมื่อยล้าเกิดขึ้น การนวดที่พยาบาลสามารถกระทำได้ในหอผู้ป่วยและนิยมปฏิบัติอย่างหนึ่ง คือ การนวดหลัง ซึ่งการนวดหลัง มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง เนื่องจากการนอนทำให้การไหลเวียนโลหิตที่บริเวณหลังลดลง เพราะผิวหนังบริเวณหลังต้องรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดของร่างกาย และบรรเทาความวิตกกังวล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และเป็นการเสริมสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้ด้วย
4. การบำบัดด้วยความร้อน ความเย็น หมายถึง การใช้ความร้อน หรือความเย็น ในการบำบัดรักษาอาการ ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนและเย็นจะแตกต่างกัน การใช้ความร้อนหรือความเย็นในการบำบัดรักษามีข้อพึงระวังหลายประการเช่น อายุ ระดับของความรู้สึกตัว สภาวะของโรค และระยะเวลาการนำมาใช้ ความร้อนหรือความเย็นนอกจาก จะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานแล้วยังสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายด้วย