สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน งานสนาม ยาม คนขับรถและงานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน สร้างเสริมค่านิยมองค์กร ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 10-14 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมเมอร์เคียว กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้เขียน อ.วราภรณ์ จรเจริญ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นายสิรวิชญ์           ฟั่นแจ้ง นายวิเชียน            กระต่ายจันทร์ นายสมชาย           โพธิ นายบุญจันทร์         ทาโพทอง นายประดิษฐ์          สาคะเรศ นายชั้น                ฤกษ์ภิกขุณี นายสมพงษ์           มังคลสุ นายวันชัย             ประจำเรือ นายธนกฤต           ปานสวรรค์   สืบเนื่องจากงานพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ได้จัดโครงการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน สร้างเสริมค่านิยมองค์กร ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้แก่บุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งมีข้าราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว รวม 51 คน ในวันที่ 10-14 [...]

Tags: , ,

การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่สอบครั้งแรกไม่ผ่านแต่คิดว่าตนเองสอบผ่าน

วิจัยในชั้นเรียน ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิชา  พย.1425  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ชั้นปีที่ 4 ชื่อเรื่อง   การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่สอบครั้งแรกไม่ผ่านแต่คิดว่าตนเองสอบผ่าน ผู้วิจัย   รัชชนก  สิทธิเวช สภาพปัญหา วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  เป็นวิชาหนึ่งที่ใช้สอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ดังนั้นหากนักศึกษาสอบไม่ผ่านในรายวิชานี้อาจส่งผลสืบเนื่องไปถึงผลสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  ซึ่งในการสอบประเมินผลครั้งแรกของวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  พบว่ามีนักศึกษาที่สอบครั้งแรกไม่ผ่านแต่คิดว่าตนเองสอบผ่าน  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสอบครั้งต่อไป วัตถุประสงค์    เพื่อให้นักศึกษาสอบผ่านในการสอบครั้งที่สอง วิธีดำเนินการ 1.  นัดหมายกับนักศึกษาเพื่อพูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาสอบไม่ผ่านในการสอบครั้งแรกแต่คิดว่าตนเองสอบผ่าน 2.  พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทำให้นักศึกษาสอบไม่ผ่านในการสอบครั้งแรกแต่คิดว่าตนเองสอบผ่าน  เพื่อให้สอบผ่านในการสอบครั้งที่สอง 3.  ติดตามผลการสอบครั้งที่สอง ระยะเวลา    ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 / 2555 Related Posts by Tagsสรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 สรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 1 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP [...]

Tags: , , , , , , ,

ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

ภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง หมายถึง ภาวะใด ๆ ที่ต้องอาศัยกิจกรรม และการตอบสนองต่อเนื่องจากผู้ป่วย ผู้ดูแล และระบบบริการการแพทย์ ภาวะนี้ครอบคลุมมิติทางกายใจและพฤติกรรม โรคเรื้อรังทางจิตเวช ในปัจจุบันที่เป็นปัญหา ทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ดูแล และส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว ได้แก่ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในขณะนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า โครงสร้างประชากรของประเทศไทย ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นผู้สูงอายุถึงกว่า 7 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะนอกจากสุขภาพใจที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากลูกหลานห่างเหินแล้ว หากสุขภาพกายมีโรครุมเร้าเข้าไปอีก จะทำให้การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความลำบากมากขึ้น โรคสมองเสื่อม พบได้ในอายุ 60-64 ปี ประมาณ 1-2% อายุ 70-74 ปี ประมาณ 12% อายุ 80-84 ปี [...]

Tags: , , , ,

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

จากการเปิดเผยโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ว่า โครงสร้างของประชากรของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่พบได้มากในปัจจุบันคือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในคนอายุ 60-64 ปี 1-2 % อายุ 70-74 ปี 12% 80-84 ปี 31% จากตัวเลขเหล่านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวชจะพบได้มากขึ้น โดยเฉพาะ Alzheimer และ Stroke เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถช่วยตัวเองได้มากนัก รวมทั้งการมีอาการทางจิตร่วมด้วยจะเป็นปัญหาแก่ตัวผู้ป่วย ครอบครัว โดยเฉพาะ Caregiver ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ที่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 8 ปี สิ่งสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ผู้สงบ และผู้ดูแลไม่เครียดจำถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาตั้งแต่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคม ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความก้าวหน้าในการรักษาโรคนี้ยังไม่ค่อยได้ผล และการดูแลสุขภาพจิตของ Caregiver จะป้องกันการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ เพราะในอนาคตในประเทศไทยโรคซึมเศร้าจะมาเป็นอันดับสอง รองจากหัวใจและหลอดเลือด

Tags: , , , ,

การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  เรื่อง “การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี ” จัดโดยสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์(ไทย) ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ โรงแรมมณเฑียรพัทยา จ.ชลบุรี …………………………………………………………… ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง สรุปผลรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           งานอนามัยแม่และเด็กได้ตั้งเป้าหมายของการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกต้องเท่ากับศูนย์ ซึ่งประเทศไทยได้มีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก เรียกว่า Preventing Mother-to-child Transmission (PMTCT) of HIV ไว้ดังนี้ [...]

Tags: , , , ,