ผู้เขียน : อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์
02/24/12
โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ 2 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13:30-16:00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง มิติใหม่ในการดูแลบาดแผล วิทยากร นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม คุณณิชาดา กิมศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการทางด้านการพยาบาลศัลยกรรม ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 28 คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 37 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 65 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของนายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์ แผล คือ การฉีกขาดของเนื้อเยื่อทำให้การทำงานเสียไป ซึ่งการจำแนกแผล มีหลายวิธี เช่น จำแนกตามสาเหตุ ลักษณะการฉีกขาด ความลึกของแผล การหายของแผล การปิดของแผล [...]
Tags: การดูแล, บาดแผล, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : ดร.ทองสวย สีทานนท์
02/13/12
สรุปการประชุมวิชาการเรื่อง Prevention, Prediction, and Promotion in Perinatal Health ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 การจัดการความรู้เรื่องคัดกรอง ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกแรกเกิดนั้นเป็นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด เพื่อสามารถวินิจฉัยและให้การพยาบาลทารกป่วยได้อย่างรวดร็วถูกต้อง ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการจากการให้การดูแล การแก้ไขและการรักษาทารกป่วยได้อย่างทันท่วงที โดยทารกที่ป่วยอาจแสดงอาการได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ พบได้ทันทีในห้องคลอดและการปรับตัวของทารกในระยะแรก รวมทั้งทารกที่อยู่กับมารดาและก่อนกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อดูแลทารกในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวแพทย์และพยาบาลจำเป็นตั้งเอาใจใส่และให้ความสำคัญในการสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกเหล่านี้เป็นอย่างดีก่อนที่ทารกเหล่านี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของทารกและครอบครัวในอนาคต ในบทบาทพยาบาลทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นต้องสังเกตทารกเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร สัญญาณเตือนภัยที่สำคัญทารกแรกเกิดที่พยาบาลทารกแรกเกิดจำเป็นต้องเอาใจใส่คืออาการและอาการแสดง หากอาการเหล่านี้ถูกละเลยและหรือเป็นระยะเวลานาน อาการผิดปกติก็รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลทารกแรกเกิดควรศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจอาการและอาการแสดงที่เป็นปกติ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับอาการและอาการแสดงที่พบที่อาจพบได้ทั้งปกติและผิดปกติได้ Related Posts by Tagsรายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรังภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ การแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ “Paliative care’ CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน
Tags: Perinatal Health, Prediction, Prevention, promotion, คัดกรอง, ทารกแรกเกิด, ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, ส่งเสริมสุขภาพ
ผู้เขียน : อ.รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
01/27/12
ปัจจุบันนิยามของ Traumatic Brain Injury (TBI) ยังไม่มีสถาบันหรือองค์ใดให้ความหมายชัดเจน บ้างก็ใช้คำว่า Head Injury หรือ Brain Injury ซึ่งทั้งสองคำนี้หากได้ศึกษา Journal ที่ตีพิมพ์ต่างประเทศในหลายประเทศ คำว่า Head Injury หรือ Brain Injury นั้นได้รวมถึง stroke ด้วย เพื่อให้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury) หมายถึง บาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำภายนอกทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกและเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลก (สมอง หลอดเลือดสมองและโพรงสมอง)ซึ่งอาจมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (Hickey ,2009) ส่วนการบาดเจ็บต่อสมอง (Traumatic Brain Injuries) หมายถึง บาดเจ็บใด ๆ ที่เกิดจากแรงกระทำภายนอกซึ่งมีผลต่อสมอง เยื่อหุ้มสมอง หลอดเลือดและโพรงสมองสัมพันธ์กับระดับความรู้สึกตัว ที่ลดลงหรือเปลี่ยนแปลงร่วมกับการสูญเสียความจำ (amnesia) ทำให้เกิดความผิดปกติชั่วคราวหรือถาวร ทั้งร่างกาย การรู้คิด เชาว์ปัญญาและการทำหน้าที่สังคม (Hickey [...]
Tags: TBI, Traumatic Brain Injury, ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : อ.ลลนา ประทุม
11/10/11
สรุปความรู้ที่และประเด็นสำคัญที่ได้จากประชุมเชิงปฏิบัติการ “การวางแผนการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Care)” : แนวทางการนำไปใช้ ชื่อ-สกุล อ.ลลนา ประทุม ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(ด้านการสอน) สังกัดภาควิชา การพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์ วัน เดือน ปีที่จัดประชุม 2- 3 มิถุนายน 2554 หน่วยงานที่จัด สถาบันพระบรมราชชนก รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ อ.วราภรณ์ จรเจริญ อ.อรัญญา บุญธรรม อ.เชษฐา แก้วพรม อ.ศรีสกุล เฉียบแหลม อ.มงคล ส่องสว่างธรรม อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 กันยายน 2554 สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ ตามที่สถาบันพระบรมราชชนกได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก คือ “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” และเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้มีศักยภาพ เน้นการดูแลอย่างเอื้ออาทร [...]
Tags: Humanistic Care, การเรียน, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, สถาบันพระบรมราชชนก
ผู้เขียน : อ.ภโวทัย พาสนาโสภณ
10/24/11
รายงานผลการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง วิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2554 เวลา 11.00 – 12.00 น. ณ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ อ.โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล ประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม ผู้นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.พุฒตาล มีสรรพวงศ์ อ.สุมาลี ราชนิยม อ.รัชชนก สิทธิเวช อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์ อ.นิศารัตน์ รวมวงษ์ อ.จีราภา ศรีท่าไฮ อ.วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์ อ.ศราวุธ อยู่เกษม อ.บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์ อ.นครินทร์ สุวรรณแสง อ.ภโวทัย พาสนาโสภณ เลขาการประชุม เริ่มประชุมเวลา 11.00 น. วาระที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง วิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จากการศึกษาดูงานที่ Leciester [...]
Tags: ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง