วิธีการเพิ่มแรมง่ายๆ สำหรับคนที่ใช้ window 7

คนที่ใช้ Windows 7 อยู่ตอนนี้ คงจะเคยได้ยินแนวคิดใหม่ในการเพิ่มหน่วยความจำให้กับระบบที่เรียกว่า ReadyBoost ซึ่งวิธีนี้จะนำเอา Flash Drive มาเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้เร็วขึ้น…เหตุผลที่ ReadyBoost สามารถเพิ่มสมรรถนะการทำงานให้กับระบบได้ก็เนื่องจาก Windows 7 จะดึงข้อมูลที่เก็บไว้ใน Flash Drive ได้เร็วกว่าบนฮาร์ดดิสก์ผลลัพธ์จึงทำให้การตอบสนองการทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น และประกอบกับการใช้เทคโนโลยี SuperFetch ด้วยยิ่งทำให้ระบบสามารถตอบสนองการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นไปอีกครับ…การเซ็ตอัพ Flash Drive ให้ใช้เทคโนโลยี ReadyBoost นอกจากนี้ยังสามารถใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory เช่น SD Card, MMC, xD Card และ Compact Flash เป็น Cache สำหรับเก็บข้อมูลได้อีกด้วย

ReadyBoot เริ่มใช้ครั้งแรกใน Windows Vista โดยจะทำงานร่วมกับฟังก์ชัน SuperFetch และใน Windows 7 นั้น ไมโครซอฟท์ได้พัฒนา ReadyBoot ให้ดีขึ้น โดยสามารถรองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 32GB และรองรับอุปกรณ์สำหรับทำ ReadyBoost ได้ถึง 8 ตัว นั้นคือ สามารถรองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 256GB ด้วยกัน

หมายเหตุ: Windows Vista รองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 4GB และรองรับอุปกรณ์สำหรับทำ ReadyBoost ได้เพียงตัวเดียว

สำหรับวิธีการเปิดใช้งาน ReadyBoost ใน Windows 7 สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
ได้มีดังนี้
1. ทำการต่อ Flash Drive รุ่นที่รองรับ ReadyBoost เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบจะป็อปอัพไดอะล็อก AutoPlay ดังรูปด้านล่าง ให้คลิกเลือก Speed up my system

ในกรณีที่ระบบไม่แสดงตัวเลือก Speed up my system สามารถทำการเปิดด้วยตนเองโดยคลิก Start คลิก Computer คลิกขวาบน Flash Drive แล้วเลือก Properties

 


2. ในหน้าไดอะล็อก Flash Drive Properties ให้คลิกแท็บ ReadyBoost ซึ่งดีฟอลท์จะตั้งค่าเป็น Do not use this device จากนั้นให้คลิกเลือกการตั้งค่าที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการเปิดใช้งาน ReadyBoost โดยมีรูปแบบของการตั้งค่า ReadyBoost ดังนี้

• Use this device จะเป็นการตั้งค่า ReadyBoost และทำการกำหนดพื้นที่ว่างของ Flash Drive ที่จะใช้เป็น Cache เอง

จากนั้นระบบจะดำเนินการติดตั้งดังภาพ

จากนั้น ก็กด apply  และ ok ตามลำดับ

ถ้าผ่านเมื่อเรา เปิด flash driveจะพบไฟล์นี้บน Flash Drive ของเราครับ…ซึ่งมันจะคอยบริหารพื้นที่บน Flash Drive ให้เป็นแคชข้อมูลเสมือนแรมที่สองบนคอมพ์ของเรา ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ขนาดใหญ่ๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่างๆ ต่อเนื่องมากขึ้นเช่น งานตัดต่อภาพ หนัง หรือเพลง ลื่นไหลมากขึ้นครับ.

ดังภาพ

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้งาน ReadyBoost
อุปกรณ์ Flash Drive หรือพวก Flash Memory ที่จะนำมาใช้ทำ ReadyBoost นั้น จะต้องเป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน USB 2.0 หรือดีกว่า โดยวินโดวส์จะทำการตรวจสอบโดยอัตโนมัติเมื่อทำการต่ออุปกรณ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ กรณีที่อุปกรณ์ไม่รองรับการทำ ReadyBoost ระบบแจ้งว่า “This device cannot be used for ReadyBoost” อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจเกิดความผิดผลาดในการตรวจสอบอุปกรณ์ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ ให้ทำการทดสอบ Flash Drive อีกครั้ง โดยคลิกที่ Test Again หากทดสอบแล้ว Flash Drive สามารถรองรับ ReadyBoost ได้ก็ให้ทำการเปิดใช้งาน ReadyBoost ได้ตามขั้นตอนที่ 1-3 ด้านบน แต่หากทำการ Test แล้วไม่ผ่าน แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนั้นไม่รองรับการทำ ReadyBoost

ผลการสำรวจที่น่าสนใจของคนเมืองจันท์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

          ประชากรของจังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายจากการเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่มีการป้องกัน หรือควบคุมโรคอย่างจริงจัง  และเร่งดวน เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในจังหวัดจันทบุรี ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศไทย อยู่หลายรายการ จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่า

          จังหวัดจันทบุรี

          เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด คือ 107.9 ต่อประชากรแสนคน

          เป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคเบาหวานมากที่สุด คือ 123.6 และ1, 320.2 ต่อประชากรแสนคน และ

          เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ 1,267.7 ต่อประชากรแสนคน

          เป็นอันดับที่ 8ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด คือ 72.7 ต่อประชากรแสนคน

          จะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้ คนเมืองจันท์ ติดอันดับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มากขนาดนี้ คงจะต้องฝากคนเมืองจันท์ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการสาธารณสุข ช่วยกันคิด วิเคราะห์ และร่วมกันหาทางป้องกันแก้ไข นะคะ

คลิกที่ภาพเพื่อขยายค่ะ

Tags: , , , , , , , , ,

การจัดการความรู้ : ทำไม Blog จึงเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง (Storytelling)?

ทำไม Blog จึงเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง (Storytelling)

     การเล่าเรื่องได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือหนึ่งในอีกหลายๆเครื่องมือ และการเล่าเรื่องก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนออกมาอย่างอิสระ ในกิจกรรมต่างๆที่แต่ละคนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำไป  โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะค้นหาแก่นของความรู้หรือสกัดความรู้ที่ฝังลึกออกมาจากสมองนั่นเอง   แต่การเล่าเรื่องที่ปฏิบัติกันโดยทั่วๆไปนั้น บางครั้งจะถูกจำกัดด้วยเรื่องของ เวลา สถานที่

     จึงขอเสนอแนวทางในการเขียนเรื่องเล่าของแต่ละท่านผ่านระบบ Blog ในที่นี้จะขอแนะนำ เว็บบล๊อก httt://gotoknow.org จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่าเรื่องเมื่อไรก็ได้ที่อยากจะเล่า โดยเขียนลงในบล๊อก โดยที่ผู้เล่าจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้จำนวนมาก จากทุกๆที่ผ่านทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ค

      นอกจากนี้ เรื่องราวที่เขียนเล่าไปแล้วนั้น ก็สามารถหาอ่านประกอบได้ง่ายตามวัน เวลาที่เขียน หรือสามารถค้นหาจากการ Search ด้วยเงื่อนไขต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น ระบบ Blog จะแยกแยะและจัดกลุ่มเรื่องเล่าตามเนื้อหาได้สะดวก และแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของเรื่องเล่าต่างๆที่ได้เขียนไปก่อนหน้านี้ ได้โดยไม่ยาก

     ระบบบล๊อกนี้ ยังช่วยให้ผู้เล่าเรื่องที่มีความประหม่าในการเล่าเรื่องต่อสาธารณชน  สามารถที่จะแสดงความกล้า ความจริงใจในความเป็นตัวของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ตัวผู้อ่านเองก็จะรู้จักผู้เล่าได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมทั้งการสนทนาให้ข้อคิดเห็นต่อเรื่องเล่าจะเป็นไปในรูปแบบสองทาง(Two-Way Communication) ระหว่างผู้เล่าและผู้อ่านบ่อยครั้งยิ่งขึ้นเช่นกัน

Tags: , , ,

สาเหตุของเน็ตช้า

         การใช้งานอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง จนกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ของโลก เป็นมันสมองของโลกที่ทุกคนสามารถสืบค้นเรื่องที่ตัวเองสนใจตามความต้องการ เนื้อหาที่นำเสนอผ่านอินเตอร์เน็ตมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นสาเหตุของอินเตอร์เน็ตช้าแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย ดังนี้

1. ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่ออินเตอร์เน็ตช้า

         1.1 ประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ต้องมีความเร็วเพียงพอในการประมวลผล มี Harddisk,  RAM และหน่วยความจำการ์ดแสดงผลต้องมากเพียงพอในการทำงาน

        1.2 มีการเปิดใช้งานหลายเว็บไซด์พร้อมๆ กัน และแต่ละเว็บไซด์ก็มีภาพกราฟิกส์ และภาพเคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก

        1.3 มีไวรัสจำพวก spyware /malware ที่เข้ามาจากการท่องเน็ต พวกนี้ใช้ banwidth สูง  เพราะบางตัวมันพยายามที่จะส่งข้อมูลกลับต้นสังกัด ทำให้ช่องทางจราจรแออัด ทำให้การถ่ายโอนข้อมูลช้าลง นอกจากนี้ทำให้ไฟล์ระบบบางตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ หรือสูญหายไปบ้าง ทำให้ registry ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญของระบบวินโดวส์ถูกเปลี่ยนแปลงจนผิดเพี้ยนไปจากเดิม จนบางเรื่องเราไม่รู้ตัวเพราะมันยังไม่สำแดงฤทธิ์ออกมา

         1.4 การใช้ Wireless มีผลต่อการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ช้าลง เพราะ Wireless มีการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 54 Mbps ถ้ามีผู้ใช้หลายคน การคำนวณหาความเร็วก็ลองเอาจำนวนผู้ใช้ที่ใช้อยู่ในเวลานั้นไปหาร 54 Mbps ได้ผลอย่างไรก็คือความเร็วที่แต่ละผู้ใช้ใช้งานได้

         1.5 การลงโปรแกรมต่าง ๆ จำนวนมากจนเกินความจำเป็นในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เราทำงานช้า เพราะทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาจะมีการโหลดโปรแกรมขึ้นมาทำงานเบื้องหลังโดยเราไม่รู้ตัว ทำให้กินหน่วยความจำเครื่องโดยใช่เหตุ เมื่อหน่วยความจำถูกแย่งไปด้วยโปรแกรมพวกนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของเครื่องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

         1.6 ไฟล์ข้อมูลที่เกิดจากการท่องอินเตอร์เน็ตเป็นเวลาหลายๆ วัน ก็จะเกิดการสะสมข้อมูลโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็มีผลต่อการทำงานที่ช้าลง

          1.7 เว็บไซด์บางส่วนทำงานได้ดี กับ IE และบางส่วนทำงานได้ดีกับ FireFox

2. ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่ออินเตอร์เน็ตช้า

         2.1 มีการใช้งานอินเตอร์เนตพร้อมกันจำนวนมากก็มีส่วนทำให้ความเร็วในการใช้ งานช้าลดลงได้

         2.2 ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย อันมีภาพกราฟิกส์ และภาพเคลื่อนไหว รูปแบบต่างๆ จำนวนมาก เช่นYoutube, Mthai ฯลฯ

          2.3 การใช้งานในการดาวโหลดบิต (bit torrent)ที่ใช้อัลกอริธึมที่สามารถดาวโหลดบิตข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่งผลทำให้ความเร็วของอินเตอร์เน็ตช้าลงอย่างมากๆ

          2.4 การฟังเพลงออนไลน์ คาราโอเกะออนไลน์ ดูภาพยนต์ออนไลน์ หรือเป็นพวกวิดีโอสตรีมมิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นเกมส์ออนไลน์ก็ใช้แบนด์วิทมาก ทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงอย่างมากเช่นกัน

หมายเหตุ 

           ด้วยปัจจัยต่างๆ อาจมีหลายข้อเกิดขึ้นพร้อมกัน ควรตรวจอย่างละเอียดในการตรวจสอบความเร็วของอินเตอร์เน็ต

10 ลางบอกเหตุ Harddisk ใกล้ตาย ( ภาค1 )

ว่ากันว่าผู้ใช้บางท่านรู้สึกแย่มาก ๆ ที่อยู่ดี ๆ ฮาร์ดดิสก์สุดที่รักก็จากไปอย่างไม่หวนคืน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นมันมีสัญญาณเตือนให้ทราบอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาได้สังเกตไม่ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีนิสัยรักการแบ็คอัพ ประเภทรักเดียวใจเดียวไม่สำรองข้อมูลไว้ที่อื่นกันบ้างเลย
ประเด็นที่อยากจะเตือนผู้ใช้ก็คือ อย่ามั่นใจเทคโนโลยีมากเกินไป ควรสังเกตสังกามันบ้าง ต่อไปนี้คือ ลางบอกเหตุสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้ตาย ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน อ่านเรื่องนี้จบแล้วลองพิจารณาดูด้วยนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่มีอาการตามนี้บ้างหรือไม่

1. เสียงดังติ๊กๆ อย่านึกว่าเป็นเข็มนาฬิกา : ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวในโลกนี้ไม่เคยติดตั้งนาฬิกาปลุกไว้ ข้างใน และถ้ามันเป็นปกติดีก็ไม่ควรจะมีเสียงดังติ๊กๆ ให้ชวนระทึกขวัญด้วย เสียงดังที่ว่านี้ ถ้าจะให้พิจารณากันอย่างละเอียดคุณต้องเอาหูแนบกับฮาร์ดดิสก์ว่าเสียงมาจากส่วนใด เพราะการวิเคราะห์หาสาเหตุจะทำได้ตรงจุดจริง ๆ ถ้าเสียงมาจากตรงกลางให้สันนิษฐานว่ามาจากชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ที่อาจเกิดความผิดพลาดหรือชำรุดขึ้น แต่ถ้าเสียงดังมาจากรอบ ๆ นอกในรัศมีของกล่องฮาร์ดดิสก์ ให้สันนิษฐานว่าปัญหามาจากหัวอ่านติดขัด ซึ่งอาจจะกำลังเคาะกับแผ่นจานอยู่ก็เป็นได้ ตรงนี้อันตรายมากเพราะทำให้ข้อมูลเสียหายได้ทั้งลูกเ ลย

2. ไฟดับบ่อยๆ ไม่ดีกับฮาร์ดดิสก์ : เครื่องคอมที่ไม่มี UPS มีโอกาสเสี่ยงที่อุปกรณ์ภายในจะเสียหายเร็วขึ้นถ้าหา กมีไฟดับบ่อย ๆ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์นั้น เวลาที่ไฟฟ้าดับอย่างรวดเร็วหัวอ่านข้างในอาจจะยังไม่กลับสู่บริเวณที่ปลอดภัย หรือบางทีหัวอ่านอาจจะไปกระแทกกับแผ่นจานในช่วงที่ไฟ ฟ้ากระชากขึ้นมาทันที ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ นอกจากนี้หากไฟตกบ่อย ๆ แล้วดับลงก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะฮาร์ดดิสก์จะพยายามทำงานตามหน้าที่หากมีกำลังไฟ เพียงพอ แต่ถ้าในระหว่างนั้นไฟค่อยๆ ตกลงและดับไป ตำแหน่งของหัวอ่านจะยังไม่กลับที่เดิมแน่ ดังนั้น ควรติดตั้ง UPS ไว้จะปลอดภัยทั้งฮาร์ดดิสก์เองและอุปกรณ์ทั้งหมดด้วย เช่นกัน

3. เครื่องแฮงก์บ่อยๆ : ปัญหาเครื่องคอมค้างนั้น มีหลายสาเหตุครับ นอกจากซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ Error แล้ว อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ก็สามารถทำให้เครื่องค้างหรือหยุดนิ่งไม่ไหวติงได้เช่นกัน หนึ่งในนั้นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง ทำไมฮาร์ดดิสก์ถึงค้างได้ เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากครับ อย่างแรกเลยก็คือ กำลังไฟที่จ่ายไม่เพียงพอ ถ้าเครื่องของคุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก มีฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ออปติคอลหลายตัว แต่เพาะเวอร์ซัพพลายใช้ของราคาถูก จ่ายไฟไม่พอ แบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ค้างได้เลย และอย่างที่สองมาจากอุปกรณ์ภายฮาร์ดดิสก์ในทำงานผิดพลาด ซึ่งตรงจุดนี้ตัวระบบปฏิบัติการเองสามารถส่งผลต่อเนื่องมายังฮาร์ดดิสก์ได้โดยตรง เพราะยังไงเสียระบบปฏิบัติการก็เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับส่วนหนึ่ง ย่อมส่งผลไปยังส่วนที่เหลือได้ไม่ยาก

4. ทำไมมันร้อนเร็วจัง : หลังจากที่คุณเปิดสวิตช์เครื่องคอมได้ไม่นาน และพบว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีอุณหภูมิขึ้นสูงอย่างรวดเ ร็วจนน่าตกใจ แต่ยังคงทำงานต่อไปได้ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความผิดปกติที่พบขึ้นมาทันที อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะฮาร์ดดิสก์จะร้อนขึ้นเมื่อมีการเริ่มเขียน-อ่าน ข้อมูลอย่างจริงๆ จังๆ แค่เปิดเครื่องแล้วอยู่ๆ ก็ร้อนขึ้นขนาดนี้ไม่ดีแน่ครับ อาการที่ว่านี้มาจากอุปกรณ์ภายในโดยตรงที่ส่งความร้อนออกมา มอเตอร์อาจได้รับแรงดันไฟมากเกินไปหรือไม่เสถียรพอจน ทำงานผิดพลาด นอกจากนี้หากมีชิ้นส่วนในแผงวงจรเกิดชำรุดเสียหายขึ้นมาก็สามารถแสดงอาการแบบนี้ได้เช่นกัน

5. โปรแกรมค้างบ่อยๆ : สำหรับโปรแกรมที่กำลังพูดถึงนี้ ผมเหมารวมไปถึงระบบปฏิบัติการด้วยนะครับ เวลาที่คุณเปิดโปรแกรมสักตัวขึ้นมาแล้วมันหยุดนิ่งหรือค้างไปเฉยๆ นั้น หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่อยากให้ทุกท่านได้ใส่ใจก็คือ ปัญหาที่ว่าอาจมาจากฮาร์ดดิสก์โดยตรง ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณมี Bad Sector กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งฮาร์ดดิสก์ ผมกล้าฟันธงได้เลยว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โปรแกรม ห รือแม้แต่ระบบปฏิบัติการค้างได้ เป็นสัญญาณเตือนภัยที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด 

ติดตามต่อภาค 2 ในสัปดาห์หน้า ครับ