ผลการสำรวจที่น่าสนใจของคนเมืองจันท์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ประชากรของจังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายจากการเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่มีการป้องกัน หรือควบคุมโรคอย่างจริงจัง และเร่งดวน เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในจังหวัดจันทบุรี ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศไทย อยู่หลายรายการ จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่า
จังหวัดจันทบุรี
เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด คือ 107.9 ต่อประชากรแสนคน
เป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคเบาหวานมากที่สุด คือ 123.6 และ1, 320.2 ต่อประชากรแสนคน และ
เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ 1,267.7 ต่อประชากรแสนคน
เป็นอันดับที่ 8ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด คือ 72.7 ต่อประชากรแสนคน
จะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้ คนเมืองจันท์ ติดอันดับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มากขนาดนี้ คงจะต้องฝากคนเมืองจันท์ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการสาธารณสุข ช่วยกันคิด วิเคราะห์ และร่วมกันหาทางป้องกันแก้ไข นะคะ
คลิกที่ภาพเพื่อขยายค่ะ
อยากทราบว่า แล้วอันดับ1 ของจันทบุรีคือโรคอะไรคะ ขอบคุณค่ะ
ข้อมูลจาก website ของ สสจ จันทบุรี นะคะ
สาเหตุการเจ็บป่วย อันดับ 1 ปี 2553 ของจันทบุรี คือ โรคระบบทางเดินหายใจ สำหรับ OPD Case และ ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิซึม สำหรับ IPD Case
ส่วนสาเหตุการตาย อันดับ 1 ปี 2553 ของจันทบุรี คือ มะเร็ง (รวมทุกชนิด)
ขอบคุณค่ะ
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การคิดทางลบ ฯลฯ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าบุคคลากรสาธารณสุขยังมีปัญหาในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน แม้แต่ตัวบุคลากรสาธารณสุขเอง(หรือแม้แต่ตัวเราเอง)ก็ยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม… จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้คิดว่า น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราในฐานะที่เป็นสถาบันสถานศึกษาที่ผลิตและพัฒนาบุคคลากรสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี ควรจะให้ความสำคํญในเรื่องการส่งเสริมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ…หากเป็นไปได้อยากเสนอให้ทำวิจัยการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของอาจารย์ในวิทยาลัยของเรา แล้วลองวิเคราะห์ตัวเอง(อาจใช้ HBM และ Process of change ฯลฯ) จะได้เข้าใจและตกผลึกแนวทางที่จะนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน…ถ้าทำได้ ประโยชน์ที่ได้น่าจะคุ้มค่าเหนื่อยนะคะ