การจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการติวสอบสภาฯ วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การติวสอบสภา ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในรายวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่
ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย  1 . อาจารย์  สุชาดา   นิ้มวัฒนากุล   2.  อาจารย์รัชสุรีย์  จันทเพชร  3. อาจารย์ ดร.ศรีสุดา  งามขำ            4. อาจารย์ สุปราณี  ฉายวิจิตร  5.  อาจารย์ ยศพล  เหลืองโสมนภา  6. อาจารย์รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ และ 7. อาจารย์ นุชนาถ  ประกาศ

ภายหลังจากทางภาควิชาได้รับนโยบายในการติวมาจากฝ่ายวิชาการ  โดยแบ่ง นักศึกษาเป็น 3 ห้องนั้น อาจารย์มีความเห็นว่า การแบ่งนักศึกษาให้เหลือจำนวนน้อยลง ดีกว่าการติวเป็นห้องใหญ่เนื่องจากจะได้ติวได้ทั่วถึงและนักศึกษาจะได้สอบถามข้อสงสัยได้สะดวกขึ้น และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีการติวในประเด็นหลัก คือ 1. จะติวอย่างไรในเวลาที่ได้มา ให้ได้ประโยขน์แก่นักศึกษามากที่สุด   2.  การติวจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา  3. ติวโดยดูจากหัวข้อหลักที่จะทำการออกข้อสอบของสภา  4.  หาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและรับผิดชอบการติวในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประเด็นหลัก 

ผลสรุปออกมาว่า  การติว จะติวโดยใช้ข้อสอบ ซึ่งแต่ละข้อจะมีคีย์ในแต่ละข้อ เชื่อมโยงข้อสอบเข้าหา  เน้นประเด็นหลักๆ สอดแทรกในข้อสอบแต่ละข้อ และสอนแนวคิด การตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องออก ซึ่งน่าจะดีกว่าการติวเนื้อหาของวิชาผู้ใหญ่ที่มีจำนวนมากเพียงอย่างเดียว เพราะการใช้ข้อสอบก็สามารถโยงเข้าหาเนื้อหาหลักได้ดีเช่นเดียวกัน

การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนทางด้านสุขภาพ

ความรู้ที่ได้จากการร่วมประชุม ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง

หลักการสำคัญ ในการจัดการสุขภาพในของชุมชน
1. ชุมชนต้องรู้ปัญหาของตนเอง
2. ต้องรู้ว้าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง
3. จะนำทุนมาแก้ไขปัญหา
4. ต้องมีแกนนำที่แก้ปัญหาได้แล้วและทำเป็นแบบอย่าง
5. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์แบบของชุมชน เป็นสิ่งพิสูจน์และทำให้เกิดการยอมรับ และทำตามในชุมชน
6. ใช้การสื่อสารสุขภาพในชุมชน เป็นตัวเชื่อม
7. กระบวนการการจัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน ใช้วิธีการแบบชาวบ้าน
8. บทบาทของท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นต้นแบบ และนำข้อมูลของชาวบ้านเข้าสู่ระบบการจัดการของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ
9. ท้องถิ่นเป็นผู้สร้างกระแส และเป็นตัวเชื่อมกับภายนอก
10. ถ้าชุมชนใดมีผู้บริหาร อปท. เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้โอกาสในการทำคนนี้มาเป็นแกนนำ
11. การให้ความสำคัญของเรื่อง Prevention and promotion ยังชัดเจน
12. ถ้าชุมชนยังไม่กินดีอยู่ดี คนจะไม่คิดถึงสุขภาพ **สอน นศ. ให้ Convince ให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน

ด้านการสื่อสารสุขภาพ
1. การสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบ มีเทคโนโลยีมากขึ้น เป็นดาบสองคม
2. จนท. ต้องเลือกประโยชน์มาใช้ในการสื่อสารสุขภาพ
3. ต้องทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์และเลืกรับข่าวสารผ่านสื่ออย่างเหมาะสม
การสื่อสารในครบครัว
1. การสื่อสารในครบครัวต้องปรับเปลี่ยน เพราะสภาพครอบครัวเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน ต้องมีการจัดการครอบครัวตามสภาพครอบครัวที่เป็นอยู่
2. เรื่องสัมพันธภาพมีผลมากกับความสุขในครอบครัว

การจัดความรู้
1. การจัดการความรู้หมายถึง การนำความรู้จากการปฏิบัติจริงมาเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่จากตำราหรืองานวิจัย
2. การจัดการความรู้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้สมาชิกที่ร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. เห็นกระบวนการที่เขาทำเป็นการนำเสนอ Explicit k ได้ จากปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็น tacit k ของผู้ปฏิบัติ การที่ไปร่วมประชุมเราได้นำ Explicit k มารวมกับ tacit k ในตัวเราแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน เกิดเป็น Explicit k
4. การบวนการ KM จะได้สัมพันธภาพของผู้ร่วมงานที่ดีขึ้น ให้กำลังใจกัน ว่าทุกคนก็ทำเหมือนกันได้

การประยุกต์ใช้

การเรียนการสอน
- วิชาชุมชน ภาคปฏิบัติ เพิ่มกลยุทธการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นที่การค้นหาชุมชนต้นแบบ
 ในการดำเนินโครงการต้องให้เห็นผลเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
 สอนนักศึกษาให้มีสมรรถนะที่จะส่งเสริมให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน
 ภาคทฤษฎี ในการสอนเรื่องการรวบรวมข้อมูลของชุมชน ต้องเน้นเรื่องการหาคนต้นแบบ

- วิชาสื่อสารทางการพยาบาล
ต้องออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กได้แนวคิด และทักษะ ในการเป็นผู้สื่อสาร และเลือกใชสื่ออย่างเท่าทัน เพราะการสื่อสารที่ดี จะส่งผลการผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- สอนเทคนิคการสร้างกระแสโดยสื่อ
- ให้นักศึกษาปฏิบัติการสื่อสารสุขภาพ แบบสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
- ปรับเนื้อหาการสอนเรื่องครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง โดยเพิ่มการมองบริบทของครอบครัวที่เพิ่มขึ้น

การบริการวิชาการ
จัดบริการวิชาการที่ส่งเสริมความเข้าใจของผู้นำชุมชน ให้เห็นถึงการพัฒนาชสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ

การวิจัย
- เห็นข้อมูลที่สนับสนุนการกำหนดทิศทางของอัตลักษณ์ของ วพ. ที่ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- การทำวิจัยของ วพ. ต้องลงไปในชุมชน และใช้หลักการการมีส่วนร่วม การให้ชุมชชนเห็นปัญหา และทุนที่มีอยู่ และใชทุนในการปัญหา จะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งแบบยั่งยืน

การกิจการนักศึกษา
กิจการนักศึกษาต้องส่งเสริมสมรรถนะของ นักศึกษาในการรู้เท่าทันสื่อ

Tags:

การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง

ความรู้ที่ได้จากการร่วมประชุม ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง

กรอบแนวคิดการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนทางด้านสุขภาพ
Conceptual Framework of Sustainable Community Development on Health

หลักการสำคัญ ในการจัดการสุขภาพในของชุมชน
1. ชุมชนต้องรู้ปัญหาของตนเอง
2. ต้องรู้ว้าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง
3. จะนำทุนมาแก้ไขปัญหา
4. ต้องมีแกนนำที่แก้ปัญหาได้แล้วและทำเป็นแบบอย่าง
5. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์แบบของชุมชน เป็นสิ่งพิสูจน์และทำให้เกิดการยอมรับ และทำตามในชุมชน
6. ใช้การสื่อสารสุขภาพในชุมชน เป็นตัวเชื่อม
7. กระบวนการการจัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน ใช้วิธีการแบบชาวบ้าน
8. บทบาทของท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นต้นแบบ และนำข้อมูลของชาวบ้านเข้าสู่ระบบการจัดการของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ
9. ท้องถิ่นเป็นผู้สร้างกระแส และเป็นตัวเชื่อมกับภายนอก
10. ถ้าชุมชนใดมีผู้บริหาร อปท. เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้โอกาสในการทำคนนี้มาเป็นแกนนำ
11. การให้ความสำคัญของเรื่อง Prevention and promotion ยังชัดเจน
12. ถ้าชุมชนยังไม่กินดีอยู่ดี คนจะไม่คิดถึงสุขภาพ **สอน นศ. ให้ Convince ให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน

ด้านการสื่อสารสุขภาพ
1. การสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบ มีเทคโนโลยีมากขึ้น เป็นดาบสองคม
2. จนท. ต้องเลือกประโยชน์มาใช้ในการสื่อสารสุขภาพ
3. ต้องทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์และเลืกรับข่าวสารผ่านสื่ออย่างเหมาะสม
การสื่อสารในครบครัว
1. การสื่อสารในครบครัวต้องปรับเปลี่ยน เพราะสภาพครอบครัวเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน ต้องมีการจัดการครอบครัวตามสภาพครอบครัวที่เป็นอยู่
2. เรื่องสัมพันธภาพมีผลมากกับความสุขในครอบครัว

การจัดความรู้
1. การจัดการความรู้หมายถึง การนำความรู้จากการปฏิบัติจริงมาเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่จากตำราหรืองานวิจัย
2. การจัดการความรู้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้สมาชิกที่ร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. เห็นกระบวนการที่เขาทำเป็นการนำเสนอ Explicit k ได้ จากปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็น tacit k ของผู้ปฏิบัติ การที่ไปร่วมประชุมเราได้นำ Explicit k มารวมกับ tacit k ในตัวเราแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน เกิดเป็น Explicit k
4. การบวนการ KM จะได้สัมพันธภาพของผู้ร่วมงานที่ดีขึ้น ให้กำลังใจกัน ว่าทุกคนก็ทำเหมือนกันได้

การประยุกต์ใช้

การเรียนการสอน
- วิชาชุมชน ภาคปฏิบัติ เพิ่มกลยุทธการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นที่การค้นหาชุมชนต้นแบบ
 ในการดำเนินโครงการต้องให้เห็นผลเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
 สอนนักศึกษาให้มีสมรรถนะที่จะส่งเสริมให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน
 ภาคทฤษฎี ในการสอนเรื่องการรวบรวมข้อมูลของชุมชน ต้องเน้นเรื่องการหาคนต้นแบบ

- วิชาสื่อสารทางการพยาบาล
ต้องออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กได้แนวคิด และทักษะ ในการเป็นผู้สื่อสาร และเลือกใชสื่ออย่างเท่าทัน เพราะการสื่อสารที่ดี จะส่งผลการผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- สอนเทคนิคการสร้างกระแสโดยสื่อ
- ให้นักศึกษาปฏิบัติการสื่อสารสุขภาพ แบบสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
- ปรับเนื้อหาการสอนเรื่องครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง โดยเพิ่มการมองบริบทของครอบครัวที่เพิ่มขึ้น

การบริการวิชาการ
จัดบริการวิชาการที่ส่งเสริมความเข้าใจของผู้นำชุมชน ให้เห็นถึงการพัฒนาชสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ

การวิจัย
- เห็นข้อมูลที่สนับสนุนการกำหนดทิศทางของอัตลักษณ์ของ วพ. ที่ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- การทำวิจัยของ วพ. ต้องลงไปในชุมชน และใช้หลักการการมีส่วนร่วม การให้ชุมชชนเห็นปัญหา และทุนที่มีอยู่ และใชทุนในการปัญหา จะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งแบบยั่งยืน

การกิจการนักศึกษา
กิจการนักศึกษาต้องส่งเสริมสมรรถนะของ นักศึกษาในการรู้เท่าทันสื่อ

Tags:

แนะนำ Website เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเอง

           หลายท่านๆ ทั้งอาจารย์ และนักศึกษา มักมีปัญหาอยากเรียนภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีเวลา อยากพูดภาษาอังกฤษ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  วันนี้มี 2 เรื่องที่น่าสนใจอยากนำเสนอค่ะ

           เรื่องแรก ตอนนี้เราเริ่มพัฒนา Website ด้านภาษาอังกฤษแล้วนะคะ สังเกตดีดีที่มุมขวาด้านบน คลิก คำว่า English แล้วก็เข้าไปศึกษา หาข้อมูลได้เลยค่ะ มีข้อมูลหลายส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์ ต่ออาจารย์ และนักศึกษา เช่น International Conference, Learning English ลองเข้าไปคลิกและศึกษาดูนะคะ เนื่องจากเป็นโครงการที่เพิ่งริเริ่มจัดทำ จึงยังต้องการข้อมูล หรือ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ จาก อาจารย์ นักศึกษาทุกท่าน

           เรื่องที่ 2 มี Website เรียนภาษาอังกฤษ ดีดีที่อยากแนะนำ ให้ท่านลองหาโอกาสเข้าไปสำรวจดูค่ะ สำหรับในอนาคต Link ของ website หรือข้อมูลเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ จะ Post ไว้ที่ หน้า website ด้าน English นะคะ ท่านผู้ใดสนใจโปรดติดตาม ตอนต่อไป

           วันนี้ขอนำเสนอ WebBlog ของ Mr. Duncan James ค่ะ

           Mr. Duncan James is an Englishman who devotes his time to teaching English via a video channel on Youtube, where all of his lessons can be viewed for FREE

http://misterduncan-in-writing.blogspot.com/

http://www.youtube.com/duncaninchina

Tags: , , , , , ,

การแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด

สภาพปัญหา 

ความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพ   ซึ่งในการเรียน          ภาคทฤษฏีการส่งงานต่าง ๆ ตามเวลาที่แต่ละรายวิชากำหนด  เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่แสดงถึงการมีความรับผิดชอบ   ซึ่งนักศึกษาต้องรับผิดชอบในการส่งงานตามเวลาที่กำหนด  หากไม่สามารถส่งงานได้จะต้องมีการแจ้งเหตุผลให้อาจารย์ทราบ   แต่พบว่ามีนักศึกษาไม่ส่งงานและไม่ได้แจ้งให้อาจารย์ทราบ    เมื่อตรวจสอบงานจึงพบว่านักศึกษาไม่ส่งงาน   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด  ให้ทันเวลาในการประเมินผลรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

วัตถุประสงค์    เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด

วิธีดำเนินการ

                1.  นัดหมายกับนักศึกษาเพื่อพูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด 

                2.  พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด   โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา   วันเวลาการส่งงาน   และเงื่อนไขหากไม่ส่งงานตามเวลาที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้

                3.  ติดตามผลการส่งงานตามที่ได้กำหนดร่วมกัน

  ระยะเวลา    ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 / 2553

 ผลการวิจัย

                ในรายวิชา พย. 1425 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น   ได้มอบหมายให้นักศึกษาส่งรายงานประยุกต์งานวิจัยทางสุขภาพคนละ 1 เรื่อง  โดยมอบหมายให้ทำและกำหนดวัน – เวลา  การส่งงานตั้งแต่วันแรกของการสอนในรายวิชา  ซึ่งพบว่า  มีนักศึกษา 1 คน  ไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนดและไม่แจ้งให้อาจารย์ทราบ   เมื่อพูดคุยกับนักศึกษาพบว่า  นักศึกษาต้องทำงานส่งในหลายวิชาจึงไม่สามารถทำได้ทันเพราะไม่ได้เริ่มทำงานตั้งแต่วันแรกที่อาจารย์มอบหมายงานให้  แต่ได้หาบทความวิจัยไว้แล้วเพียงแต่ยังทำไม่เสร็จเรียบร้อยจึงยังไม่ได้พิมพ์งานออกมาส่งอาจารย์   โดยนักศึกษาบอกว่าจะส่งงานได้ในวันรุ่งขึ้น   และอาจารย์กับนักศึกษาได้ตกลงร่วมกันว่า   หากนักศึกษาไม่ส่งงาน           ตามเวลาที่กำหนด   จะถือว่าไม่ผ่านรายวิชา  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น   ซึ่งนักศึกษารับเงื่อนไข และได้ส่งงานตามเวลาที่กำหนดครั้งใหม่

 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

                จากผลการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้สรุปได้ว่า   การพูดคุยกับนักศึกษาจะช่วยทำให้ค้นพบสาเหตุเบื้องต้นในการส่งงานไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด   หากมีเงื่อนไขที่สำคัญและ         เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเป็นรายบุคคล   จะช่วยทำให้นักศึกษาส่งงาน ตามเวลาที่กำหนดได้