“จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ”

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น

“จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ”

วันที่ประชุม 3 พฤษภาคม 2554  เวลา 11.00 – 11.30 น

ผู้นำและบันทึกการประชุม อ. ยศพล   เหลืองโสมนภา

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดังนี้

  1. อ.คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ. สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล
  3. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  4. อ. คงขวัญ  จันทรเมธากุล
  5. อ. สุปราณี  ฉายวิจิตร์
  6. อ. นวนันท์  ปัทมสุทธิกุล
  7. อ. รัชสุรีย์  จันทเพชร
  8. อ. วารุณี  สุวรวัฒนกุล
  9. อ. จริยาพร  วรรณโชติ
  10. อ.พจนาถ  บรรเทาวงษ์
  11. อ. นุชนาถ  ประกาศ
  12. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
  13. อ. ศศิโสภิต แพงศรี
  14. อ. สุภา  คำมะฤทธิ์
  15. อ. สุนิสา  ดีทน
  16. อ. อรพรรณ  บุญลือ
  17. ดร. ศรีสุดา  งามขำ

 

สรุปเนื้อหาการประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้

ก่อนอื่นควรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทเมื่อคนเรามีการใช้ความจำ   ซึ่งมีจุดที่เกี่ยวข้องดังนี้

1) กระบวนการ synaptic consolidation และ systemic consolidation

synaptic consolidation  เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(reorganization)ที่ synapses  โดยเมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามา 1 ครั้ง  โครงสร้างที่ synapses จะยังไม่เปลี่ยนอะไร   แต่เมื่อตัวกระตุ้นเข้ามาอีก  ก็จะเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนั้นเลย    เมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามาเพิ่มขึ้นอีก  โครงสร้างที่ synapses ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเช่นกัน  ทำให้เกิดเป็นความจำได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงได้ดังภาพ

systemic consolidation  เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบประสาทเช่นกัน  แต่ต่าง จาก synaptic consolidation  ตรงที่ไม่ได้เกิดที่ synaptic  แต่เกิดที่ภาพรวมของสมอง  โดยเกิดที่ cortical circuits    และเวลาของการเกิดก็ต่างจาก synaptic consolidation   ตรงที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป  ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน  เป็นปี

2) Standard model of consolidation

consolidation คือ  กระบวนการนำความรู้ใหม่มาเก็บให้เป็นความรู้ถาวรในสมอง ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ standard model of consolidation หรือเรียกว่ากระบวนการที่ทำให้เกิดความจำถาวร  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้    เมื่อสมองได้รับข้อมูลเข้ามากระตุ้นที่ cortical areas       hippocampus ก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นดังภาพ a     เมื่อเวลาผ่านไปสมองมีการใช้ความรู้ส่วนที่เก็บนี้อีกครั้งซึ่งอาจจะเป็นการถูกถามให้ตอบ  สมองก็จะมีการโยงใยข้อมูลมากขึ้นดังภาพ b    จนเกิดเป็นความจำติดที่ cortical areas ไปแล้ว   จุดนี้ hippocampus ก็จะไม่ทำงานแล้ว  เพราะ cortical areasสามารถเชื่อมโยงกันได้เองแล้วจนเป็นความจำถาวรดังภาพ c

จากการเปลี่ยนแปลงของสองบริเวณที่กล่าวมาข้างต้น   ดังนั้น หากจะให้ผู้เรียนเกิดการจดจำได้ดีและนานนั้น  มีกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้คิดว่าประเด็นหลักๆคือ

  1. ผู้สอนควรช่วยกันการตรอกย้ำข้อความรู้ที่ผู้เรียนควรจะต้องจดจำให้ได้เช่น   การเรียนเนื้อหาทฤษฏีเกี่ยวกับการตรวจร่างกายหรือการแปลค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาแล้ว    เมื่อนักศึกษาเริ่มฝึกภาคปฏิบัติไม่ว่าจะปฏิบัติ field ใด    หากมีข้อมูลที่ต้องตรวจร่างกายหรือมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   ผู้สอนก็ต้องกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดด้วยเสมอไม่ใช่เป็นหน้าที่ของการฝึกภาควิชาการพยาบาลเด็กหรือผู้ใหญ่เท่านั้น  เมื่อนักศึกษาได้คิดอยู่เรื่อยๆ  จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ synap ดังข้อมูลข้างต้น  และก็จะเป็นความจำถาวรได้ดีขึ้น
  2. ที่ประชุมสะท้อนคิดว่า  การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบประกอบวิชาชีพจากสภาการพยาบาลนั้น  นอกเหนือจากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพแล้ว    หากผู้เรียนได้ทำข้อสอบบ่อยๆก็จะกระตุ้นคิดและจำได้ดีขึ้น   ซึ่งฝ่ายวิชาการก็มีแนวคิดจะทำชุดข้อสอบประเภทรู้จำให้นักศึกษาได้ฝึกทำเช่นกัน


Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , , , , , ,

3 Responses to ““จะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีต้องทำอย่างไร? ””

  1. การที่จะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ดีควรทำอย่าไร? สิ่งที่ไม่ควรลืมคือต้องทำให้เขาเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะสอน(หรือจะอ่าน)ก่อนเสมอ เพราะจะทำให้เขามีสมาธิ มีความตั้งใจ… ที่สำคัญควรมีเอกสารในเนื้อหาที่เขาจำเป็นต้องรู้เพื่อให้เขามีโอกาสได้ทบทวนด้วยตนเองหลายๆครั้ง (เพราะแค่ฟังอาจารย์รอบเดียวไม่สามารถเป็นความจำถาวร)….ดังนั้น ในการสอนเสริม อาจารย์แต่ละวิชาจึงควรมีเอกสารประกอบการสอนเสริมซึ่งสรุปสาระสำคัญที่ผู้เรียนจำเป็นต้องจำทุกวิชา ไม่แน่ใจว่าตอนนี้วพ.พปก.มีสรุปสาระสำคัญครบทุกหัวข้อใน bleu printสอบสภาฯ ทุกรายวิชาหรือยังคะ…ถ้ายังเห็นที่ว่าเราจะต้องนำเอาทฤษฎีที่อาจารย์ยศพลนำมามาใช้ให้เป็นรูปธรรมกันแล้วนะคะ

  2. ยศพล พูดว่า:

    ถ้าอจารย์อรัญญาได้อ่านเนื้อหาที่ได้เขียนไว้ข้างบนว่า “1) กระบวนการ synaptic consolidation และ systemic consolidationsynaptic consolidation เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(reorganization)ที่ synapses โดยเมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามา 1 ครั้ง โครงสร้างที่ synapses จะยังไม่เปลี่ยนอะไร แต่เมื่อตัวกระตุ้นเข้ามาอีก ก็จะเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนั้นเลย เมื่อมีตัวกระตุ้นเข้ามาเพิ่มขึ้นอีก โครงสร้างที่ synapses ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเช่นกัน ทำให้เกิดเป็นความจำได้ดีขึ้น” ก็จะเห็นอยู่แล้ว่า การอ่านครั้งเดียว หรือแม้แต่การพูดครั้งเดียว ไม่มีทางทำให้เกิด synaptice consolidation ได้อยู่แล้วครับ
    สิ่งสำคัญอีกประการคือ attentionหรือความสนใจต่อเรื่องที่จะจำ เป็นจุดเริ่มต้นขอวการเกิดความจำด้วย ความสนใจต่อเรื่องที่จะจำ อยู่กับหลายๆๆอย่างของตัวกระตุ้น ความสามารถในการบรรยายและดึงดูดใจเด็กให้อยู่ที่เนื้อหาที่เราพูด สื่อที่ใช้ดึงดูดเขาได้แค่ไหน ไม่ใช่มีแต่ power point พื้นๆ ที่เด็กเห็นแล้วก็หลับ เป็นต้น หรือแม้แต่การพักเบรอก็เป็นตัวช่วยในการเพิ่ม attention ได้ครับ เพราะ attention จะลดลง เมื่อต้องรับฟังเรื่องที่ยุ่งยากเป็นเวลานานไป สุดท้าย Cue ที่ดีก็ช่วย attention ได้มาก เช่นการมีบทกลอน เพลง ในการจำเนื้อหาแทนการท่องทุกเนื้อหา
    สุดท้ายขอบอกว่า ความจำมีหลายแบบ Workimg memory , Short term memory และ Long term memory การจะเกิดเป็น Long term memory ได้ ต้องผ่านตั้งแต่Workimg memory , Short term memory หากการสอนนั้น แม้แต่ Workimg memory ของนักศึกษา ยังไม่เกิด เพราะหลับเวลาเรียน ไม่สนใจฟัง อ่านหนังสือสอบอีกวิชาขณะเรียนอีกวิชา อาจารย์สอนแบบไม่สกัดเนื้อหา Memory อื่นไม่มีทางเกิดแน่นอน

  3. สิ่งสำคัญเป็นอุปสรรคต่อการเกิดความการเรียนรู้ ความจำระยะสั้น-ยาว คือ สภาพของอารมณ์ เช่น ความกลัว ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า…ดังนั้น ผู้สอนจึงควรจัดสภาพการณ์ที่ไม่ทำให้นักศึกษาเกิดสภาวะอารมณ์ต่างๆดังที่กล่าวมามากยิ่งขึ้น เพราะแค่สภาพแวดล้อมบนตึก ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ญาติ ก็ทำให้นักศึกษาเกิดอารมณืทางลบทั้งหลายพอสมควรอยู่แล้วค่ะ…หรือถ้าผู้สอนสามารถจะช่วยลดอารมณ์ทางลบให้กับผู้เรียนก็จะยอดเยี่ยมค่ะ