การใช้ PIM Score ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก

ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ครั้งที่ 4 วันที่ 25  เมษายน 2554    เวลา 13.30 -16.00 น.

ณ ห้องประชุมลีลาวดี   โรงพยาบาลพระปกเกล้า

 

เรื่อง การใช้ PIM Score  ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช

วิทยากร นายแพทย์ทนง   ประสานพานิช  นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเด็ก

คุณปรีดาวรรณ  บุญมาก  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการทางด้านการพยาบาลเด็ก

ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  30  คน

จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  23  คน

รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  53  คน

สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

หลักการคิดของทีมผู้รักษามีแนวคิดว่าการช่วยฟื้นคืนชีพในหอผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น  ดังนั้นทีมการรักษาจึงพยายามคิดหาเครื่องมือในการเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย  เรียกว่า  “MEWS  Score”  (Monitoring  Early  Warming  Sign  Score)

การวัดอัตราการตาย  (Measures of mortality)  จำแนกลักษณะ  ได้แก่

1.  อัตราตายอย่างหยาบ

2.  อัตราตายจำเพาะ  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด  ได้แก่  ตามอายุ  และตามโรค

3.  อัตราตายมาตรฐาน

4.  Standard  Mortality  Ratio

การรายงานอัตราการตาย ที่เป็นรายงานการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนผู้รับบริการที่ตายจริงกับจำนวนที่พยากรณ์ไว้  ซึ่งถ้าจำนวนที่ตายจริงมากกว่าจำนวนที่พยากรณ์  แสดงว่าอาจมีปัญหาทางคุณภาพการให้บริการเกิดขึ้น  ต้องดำเนินการต่อในเรื่อง   วิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง  เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (เป็นสิ่งที่ดีที่สุด)  และเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อลดอัตราการตาย

1.  วิเคราะห์กรณีศึกษาอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุการตาย  โดยใช้ Model

2.  การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยที่ควรตาย  ทั่วไปใช้เครื่องมือในการพยากรณ์ได้แก่

2.1  APACHE  ปัจจุบันหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (ICU  Med)  ใช้อยู่

2.2  SAPS

2.3  PRISM

2.4  PIM    หอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชและหอผู้ป่วยส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีใช้อยู่

3.  Risk of  Mortality  Models   การนำเครื่องมือมาใช้ต้องพิจารณาว่าเครื่องมือนั้น  good discrimination  และ  good  calibration  ที่จะ  Predictive  ability  for  individual

 

ปัจจุบันหอผู้ป่วยหนักเด็ก (ICU เด็ก) ได้นำ  PIM score  มาใช้เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการให้บริการ  และทำวิจัยระหว่างปีพศ. 2549-2553  เป็นระยะเวลา 5 ปี  ศึกษาในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย  โดยใช้ PIM score  ประเมินใน 24 ชั่วโมงแรก  สำหรับหอผู้ป่วยศัลยกรรม 4 ใช้เครื่องมือในการประเมินและเฝ้าระวังแผลกดทับ  คือ  BARDEN score

แนวทางการนำผลการประชุมไปใช้ จากการประชุมครั้งที่ 4

  1. ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ   อาจารย์ผู้สอนควรให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน             ต่าง ๆ ที่แหล่งฝึกใช้เพื่อให้นักศึกษามีแนวทางในการใช้แบบประเมินต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง              และนำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลได้อย่างเหมาะสมต่อไป  เช่น  การใช้ PIM  score  ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการ               การใช้  BARDEN score  ในการประเมินและเฝ้าระวังแผลกดทับ  เป็นต้น
  2. การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการประเมินผู้ป่วยควรมีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือรองรับ  จะช่วยทำให้เห็น แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการได้ต่อไป

 

นางทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์

นางสาวลลิตา  เดชาวุธ

ผู้บันทึก

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ลลิตา เดชาวุธ (ประวัติการเขียน 6 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน


Tags: , , ,

Comments are closed.