มิติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
สรุปความรู้จากการเข้าอบรม : มิติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ชื่อ-สกุล นางสาวกมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ชื่อ-สกุล นางทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
สังกัดภาควิชา/งาน การพยาบาลสูติศาสตร์
วัน/เดือน/ปี 26-28 กรกฎาคม 2554
หน่วยงานที่จัด สถาบันพระบรมราชชนก สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
วพบ สุราษฎร์ธานี
สถานที่ โรงแรมสยามธานี สุราษฎร์ธานี
สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ
ปัจจัยที่กระตุ้นสถานการณ์เบาหวานในประเทศไทย คือ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป Physical activity ลดลง ความไม่พอดีของการกินและการออกกำลังกาย น้ำหนักเกินและโรคอ้วน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศหญิงกับชาย พบว่า ผู้หญิงตระหนักต่อการเกิดโรค และพยายามควบคุมโรคเบาหวานมากกว่า แต่กลับมีอัตราความชุกของการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย
ปัจจัยความสำเร็จในการดูแลโรคเรื้อรัง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1 ปรับกระบวนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับภาวะโรคเรื้อรัง เป็นแบบ Patient center เน้นการสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิถีชีวิต
2 ปรับการจัดการระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหา โดยสนับสนุนให้ ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนมีการดูแลตนเอง ผู้ให้บริการเป็นผู้ให้ข้อมูลสนับสนุนการดูแล และการตัดสินใจ ติดตามกำกับประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
3 สร้างความเชื่อมโยง ระหว่าง ผู้ป่วย ชุมชน และระบบบริการสุขภาพ โดยสร้างความตระหนักในชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วย ผู้นำและผู้สนับสนุนร่วมมือกันในการให้บริการสุขภาพ แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการแก้ปัญหาร่วมกัน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เน้น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (13 กค 2552) คือ On-Top payment สนับสนุนและชดเชยการบริการ และ สนับสนุนการบริหารและการพัมนาระบบบริการ DM และ HTโดย
- Early detection ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก ทำการคัดกรองในชุมชน
- Prompt treatment เริ่มรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ต้น เน้นการดูแลใน รพ สต
- Improve Quality Care เพิ่มคุณภาพของ คลินิก DM HT เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ
ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้น การสร้างนวัตกรรมในการดูแล โดยผสมผสานระหว่าง ความรู้ของพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในด้านทฤษฎี กับความรู้ชองผู้ป่วยและครอบครัวในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากประสบการณ์ชีวิต และความเจ็บป่วย แล้วร่วมมือกันในการออกแบบกิจกรรมการดูแล และสร้างนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม นวัตกรรมไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ แต่ไม่ได้นำไปใช้ทำอะไร
อาหาร และอากาศ ก็สำคัญ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย