สรุปความรู้จากการประชุม วิชาการ Essential pain management(EPM)

ชื่อ-สกุลผู้สรุป   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)
สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
วันที่ประชุมจัดการความรู้   14 ธันวาคม  2555   เวลา 13.00 – 14.00 น ณ ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

สืบเนื่องจาก อ. ยศพล  เหลืองโสมนภา ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ Essential pain management(EPM)  ในวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2555  ณ. วพบ นครสวรรค์ โดยมีวิทยากรจาก นิวซีแลนด์  ออสเตรเลียและมาเลเซีย  ร่วมกับวิทยากรกลุ่มจาก สมาคมการศึกษาความปวดประเทศไทย  เนื้อหาการประชุมครั้งนี้ใช้หลักสูตร Essential pain management ที่พัฒนาและได้รับการสนับสนุนจาก Faculty of pain medicine (FPM), Australian and New Zealand College of Anaesthetists     ประกอบด้วย essential pain management  และหลักการสอนผู้ใหญ่ (Adult learning) โดยผู้จัดมีความคาดหวังว่า  ผู้เข้าร่วมประชุมจะเข้าใจแนวทางการจัดการความปวด และสามารถนำแนวทางที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปขยายผลให้กับผู้อื่นได้ต่อไป  การประชุมในครั้งนี้ใช้รูปแบบ การบรรยาย   การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่ม  รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มย่อย  การฝึกสอนแบบบรรยายและการฝึกสอนแบบ group discussion      

จากการอบรมในครั้งนี้สามารถสรุปความรู้ได้ว่า  ความปวดมักจะเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และมักได้รับการจัดการที่ไม่ดี   ทั้งนี้มีสาเหตุจากหลายประการที่เป็นอุปวรรคต่อการจัดการความปวดเช่น  ทัศนคติของผู้ป่วยเอง  การขาดบุคลากรดูแลหรือการขาดยาในการรักษาที่เหมาะสม   ดังนั้นจึงสามารถเปรียบเปรยว่า ความปวดเหมือนกับ หนู ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นต้นตอของอันตรายหลายประการ แต่หากมองผิวเผินแล้ว อาจจะไม่พบอะไร    จากการใช้หนูเป็นสัญลักษณ์ในการเปรียบเปรยกับปัญหาความปวด  ดังนั้น Faculty of pain medicine (FPM), Australian and New Zealand College of Anaesthetists  ได้ใช้ประโยชน์จากคำว่า R.A.T มาช่วยเป็น basic approach or simple framework for managing pain คือ  R = recognize, A = assess, T = treat   ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

R = recognize

เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องประเมินหรือค้นหาหรือแยกแยะให้ได้ว่า  ผู้ป่วยนั้นมีความปวดหรือไม่  เพราะหากไม่สามารถได้ว่าผู้ป่วยมีความปวด   จะไม่สามารถจัดการกับความปวดได้เลย    ซึ่งการหาว่าผู้ป่วยมีความปวดหรือไม่นั้นสามารถทำได้ทั้ง  การถามผู้ป่วยโดยตรงว่ามีความปวดหรือไม่   หรือสังเกตที่พฤติกรรมของผู้ป่วยว่ามีความปวดหรือไม่เช่น  มีเหงื่อออก นอนนิ่งๆไม่ขยับตัว  หายใจตื้นๆ   นอกจากการถามผู้ป่วยโยตรงแล้ว  ยังสามารถค้นหาความปวดผ่านผู้อื่นได้เช่น   ผ่านคนใกล้ชิด    ผู้ให้การดูแลท่านอื่นเช่น พยาบาล  เป็นต้น

A = assess

เมื่อพบว่า  ผู้ป่วยมีข้อมูลสะท้อนความปวด   ผู้ให้การรักษาต้องทำการประเมินหรือค้นหาสาเหตุและชนิดของความปวด  เพราะจะทำให้เข้าใจและให้การรักษาได้เหมาะสมต่อไป   ซึ่งในขั้นของการ assess ผู้ให้การรักษาต้อง

1   หาว่า ความปวดมีความรุนแรงหรือไม่

1.1 โดยการประเมินจาก pain score

1.2 โดยการประเมินว่า ความปวดนั้นส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยอย่างไร

2  จำแนกให้ได้ว่า  ความปวดที่ผู้ป่วยมีนั้น เป็นแบบใด   ซึ่งความปวดสามารถจำแนกได้หลายแบบดังนี้

2.1  acute or chronic    โดยใช้เวลา 3 เดือนเป็น cut off point

2.2 cancer or non – cancer pain

2.3 nociceptive (physiology) or neuropathic (pathology) or mix

3  มีปัจจัยอื่นอีกหรือไม่  ที่ส่งผลต่อความปวดในครั้งนี้  เช่น physical factors อื่นๆอีกเช่น  การเป็นเบาหวานเดิม   แผลติดเชื้อ  , psychological เช่น  เครียด  กังวล หรือ social factors เช่น  ขาดการสนับสนุนจากสังคม

T = treat

เมื่อค้นหาความปวดได้  และสามารถประเมินความปวดได้ครอบคลุมแล้ว  ก็จะทำการรักษาความปวด ซึ่งการรักษานั้นแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ   การรักษาแบบ drugs  และ non – drugs  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ก.  Drugs    ยาที่ใช้ มีทั้ง  กลุ่ม simple analgesic drugs คือ  paracetamol  และ NSAIDS   กลุ่ม opioids  และ กลุ่ม อื่นๆเช่น  amitriptyline  , carbamazepine   สิ่งที่ต้องระวังในการใช้ยาประการหนึ่งคือ  การใช้ยาตาม WHO  analgesic  ladder ที่เคยทราบกันนั้น  จะใช้เพื่อการรักษา  cancer pain  ซึ่งมันจะมีความปวดที่พัฒนาขึ้นและต้องการยาแก้ปวดมากขึ้น      แต่ถ้าเป็น acute severe pain การใช้ ladder ของ WHO จะไม่เหมาะสม   เพราะผู้ป่วยต้องการได้รับยา strong opioids เช่น morphine อย่างรวดเร็ว    ดังนั้นการจะใช้ยาอะไรจึงต้อง recognize  และ assess ให้ได้ว่า ปวดแบบใด  เนื่องจากมีผลต่อการตัดสินใจใช้ยากลุ่มใด  รวมถึงอาจต้องใช้ยาแบบ multimodal  เช่น ใช้ morphine ร่วมกับ paracetamol   ใน acute severe pain   หรือใช้ยา opiods  ร่วมกับ  amitriptyline ใน neuropathic pain   นอกจากนี้ การใช้ route ของยาก็มีความสำคัญต่อการควบคุมความปวดเช่นกัน

ข.  Non – drugs  ความปวดบางประการ  จำเป็นที่ต้องใช้การรักษาแบบไม่ใช้ยาร่วมด้วย  เช่น neuropathic pain เช่นการให้คำปรึกษา   การเบี่ยงเบนความสนใจ   การทำแผล  การให้ความมั่นใจ เป็นต้น

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , ,

Comments are closed.