สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ โครงการดูแลหัวใจเครือข่ายภาคตะวันออกจันทบุรี – ชลบุรี

สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ

โครงการดูแลหัวใจเครือข่ายภาคตะวันออกจันทบุรี – ชลบุรี

วันที่ 26 ตุลาคม 2555   โรงแรมเคพีแกรนด์ จังหวัดจันทบุรี

ชื่อ-สกุลผู้สรุป   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   14 ธันวาคม  2555   เวลา 14.00 – 15.00 น.

ณ ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผู้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

1. อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
3. อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
4. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
5. อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
6. อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
7. อ. สุปราณี ฉายวิจิตร
8. อ. ดร  ทองสวย  สีทานนห์
9. อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
10. อ. ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
11. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
12. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
13. อ. นุชนาถ  ประกาศ
14. อ. จริยาพร วรรณโชติ
15. อ. สุกัญญา ขันวิเศษ
16. อ. สุภา คำมะฤทธิ์
17. อ. ปรีดาวรรณ บุญมาก
18. อ. อรพรรณ  บุญลือ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

1. การ reperfusion ใน STEMI  แม้ว่าจะเกิน 12 ชมไปแล้ว  แต่ถ้ายังมี chest pain  ก็อาจให้ streptokinase (SK) ได้ เพราะ clot ในหลอดเลือดสามารถ on and off ได้

2. การวินิจฉัย STEMI นั้นไม่จำเป็นต้องรอผล troponin   ถ้า EKG ชัดเจนให้วินิจฉัยได้เลย

3. การใช้ Score ในการ dectect  STEMI  แนะนำให้ใช้ GRACE risk score มากกว่า TIMI score

4. การให้ SK ใน STEMI  ตำราในอดีตกล่าวว่า   ถ้าจะให้ซ้ำต้องรอเวลา 2 ปี   แต่ตำราใหม่กล่าวว่า สามารถให้ได้ภายใน 1 ปี   ส่วนการเกิด immune จะเกิดหลังจากวันที่ 5 ที่ได้รับยานี้

5. Reperfusion sign ได้แก่ 

1) chest pain ลดลง

2) ST ลดลงมากกว่า 50%

3) Early inverted T wave in 4 hrs (ปกติจะเกินจากนี้)

4) AIVR

5) Early cardiac enzyme raising

6. การใช้ยา antiplatelet  aggregation  ปัจจุบันมีการคิดค้นยาที่ให้มาทำหน้าที่แทน clopidogrel  เพราะข้อจำกัดของยา   clopidogrel คือ

1) ตัวมันไม่ใช่ active drug ต้องใช้ cytochrom เปลี่ยนอีกที

2) การออกฤทธิ์ยังไม่เต็มร้อย

3) จะขัดขวางการทำงานของ proton pump inhibitor ได้

4) เมื่อหยุดใช้ยาแล้วยังมีโอกาสที่เกล็ดเลือดจะกลับมาทำหน้าที่ได้ไม่ดี

 

จากปัญหาที่กล่าวมาจึงเป็นที่มาของการคิดค้นยาตัวใหม่ที่ชื่อ ticagrelor  ในปี 2010   ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

1) ออกฤทธิ์ได้เลยโดยไม่ต้องผ่าน cytochrom

2) ออกฤทธิ์แรง เมื่อหยุดยาแล้ว เกล็ดเลือดจะกลับมาทำงานได้ โดยแค่หยุดยา 3 วัน ระดับยาในเลือดก็ลดน้อยกว่า clopidogrel

3) ขยายหลอดเลือดได้เล็กน้อยด้วย

4) กินแล้วระดับยาในเลือดขึ้นสูงถึงจุดที่สามารถยับยั้งเกล็ดเลือดได้จริง ซึ่ง  clopidogrel ทำไม่ได้

5) peak ของยาดีกว่า clopidogrel

6)  สามารถยับยั้ง adenosine ได้

 

ทั้งนี้ได้มีการนำยานี้ไปวิจัยต่อพบว่า

1) ticagrelor มี efficacy ดีกว่า clopidogrel

2) ticagrelor ทำให้ bleed ไม่ต่างกับ clopidogrel

3) ticagrelor  ทำให้ dyspnea มากกว่า clopidogrel  แต่ dyspnea นี้ไม่ส่งผลต่อการรักษา

4) ticagrelor  ทำให้เกิด ventricular pause เพราะการทำลาย adenosine  ดังนั้นต้องระวังเวลาใช้ใน AV Block

5) ticagrelor  ทำให้มี uric acid มากจากการทำลาย adenosine มากกว่าclopidogrel  ดังนั้นเวลาใช้ต้องระวังมากในผู้ป่วย CKD

6) ticagrelor มี Cr สูงจากการทำลาย adenosine   เพราะ adenosine ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด รวมถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , , ,

One Response to “สรุปความรู้จากการประชุมวิชาการ โครงการดูแลหัวใจเครือข่ายภาคตะวันออกจันทบุรี – ชลบุรี”

  1. rungnapha khiewchaum พูดว่า:

    ความรู้กลุ่มโรคหัวใจพัฒนาอย่างรวดเร็วยาบางตัวโรงพยาบาลพึ่งได้นำมาใช้ปรากฏว่ามีผลการวิจัยสนับสนุนว่ามีผลข้างเคียงไม่ควรใช้ ดังนั้นเราในฐานะบุคลากรทางการแพทย์จังต้องมีการพัฒนาความรู้ให้เท่าทันกับโรคที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจ ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถ้าหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทันท่วงที ส่ิงที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ การ monitoring