ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย
สรุปความรู้จากการเข้าอบรม : ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย
ชื่อ-สกุล ดร กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
สังกัดภาควิชา/งาน การพยาบาลสูติศาสตร์
วัน/เดือน/ปี 17-19 สิงหาคม 2554
หน่วยงานที่จัด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สถานที่ อิมแพค เมืองทองธานี
สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ
ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย เป็นโครงการนำร่องของกรมอนามัย โดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ(UNFPA) ได้ดำเนินงาน ในปี 2550-2554 เพื่อสร้างรูปแบบบริการ ที่ส่งเสริมบทบาทให้ ผู้ชาย (สามี) มีส่วนร่วมในการป้องกัน HIV และการดูแลสุขภาพมารดาและทารก
การมีส่วนร่วมของผู้ชาย ในฐานะหุ้นส่วนของมารดา สามารถทำได้โดย
ช่วง ANC
- ANC ครั้งแรกร่วมกัน โดยเข้าร่วมฟังความรู้ และคำปรึกษาก่อนตรวจเลือด ครั้งที่ 1
- เจาะเลือด เพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยง
- ร่วมฟังผลเลือด
- มาฝากครรภ์ เป็นเพื่อน
- เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
ห้องคลอด
- ช่วยดูแลหญิงตั้งครรภ์ ในห้องรอคลอด
- จัดการด้านเอกสารต่างๆระหว่างรอคลอด เช่น สูติบัตร ใบแจ้งเกิด ใบส่งตัว
หลังคลอด
- ฝึกอาบน้ำลูก
- รับความรู้ในการดูแลมารดาหลังคลอด
- รับความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยสำหรับคุณพ่อพ่อ
- เน้นย้ำสามี ให้พาภรรยามาตรวจหลังคลอด และพาลูกมารับวัคซีน
การนำผลการประชุมครั้งนี้มาใช้ประโยชน์
- ควรมีการเน้นย้ำเรื่องบทบาท ผู้ชาย หรือสามี ในแต่ละ ช่วงของการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ในการเรียนการสอน วิชา การพยาบาลมารดาทารก
- ทักษะที่ อาจารย์พยาบาล และพยาบาลที่ทำงานในแผนกสูติกรรม ควรมีความรู้ ความสามารถ และเพิ่มพูนทักษะ คือ เทคนิคการให้คำปรึกษาแบบคู่ การให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือดแบบคู่เช่น ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ และสามี มีผลเลือดต่างกัน หรือ มีผลเลือดบวกทั้งคู่ ทักษะดังกล่าวจะช่วยลดความขัดแย้ง ภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย เพื่อช่วยเหลือให้คู่สมรสปรับตัว และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จนคลอดบุตร และอยู่ด้วยกันได้ตลอดไป
- ควรมีการบูรณาการ ระว่าง วิชาจิตเวช และ สูติศาสตร์ เพื่อฝึกทักษะการ เทคนิคการให้คำปรึกษาแบบคู่ และจิตวิทยาครอบครัว
สำหรับผู้สนใจเนื้อหาการประชุม สามารถขอดูเอกสารได้ ที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์