การสร้างเสริมศักยภาพผู้นำพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

สรุปความรู้ที่ได้รับจาการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

………………………………………………………………………….

ชื่อ-สกุล นางทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุมเรื่อง การสร้างเสริมศักยภาพผู้นำพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

วัน/เดือน/ปี รุ่นที่ 3   วันที่  3-5  สิงหาคม 2554

หน่วยงานที่จัด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

สถานที่ ห้องประชุมอาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

ในหัวข้อแรกเป็นการปลุกพลังพยาบาลเพื่อการพัฒนา  โดยวิทยากรพยายามชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันวิชาชีพพยาบาลถึงแม้จะมีจำนวนมากขึ้นแต่ไม่มีอำนาจต่อรองในสังคมมากขึ้น กลับมีคดีฟ้องร้องมากขึ้น พยาบาลทุกคนควรกลับมารวมพลัง ปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล  ใช้กระบวนการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพเพราะตามกฎหมายแล้ววิชาชีพพยาบาลต้องปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลและมาตรฐานการพยาบาลที่กำหนดไว้  ปฏิบัติงานตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด  มิฉะนั้นแล้วถ้ามีการผิดพลาดเกิดขึ้น ถูกฟ้องร้องจากผู้รับบริการยากที่จะพ้นผิด เพราะปัจจุบันการฟ้องร้องคดีทางสาธารณสุขมักเป็นคดีแพ่งคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2550  โอกาสชนะคดีน้อยมาก ไม่เกินร้อยละ 10 เพราะเปลี่ยนจากฝ่ายโจทก์เป็นผู้หาพยานหลักฐานมายืนยัน  กลายเป็นฝ่ายจำเลยที่ต้องหาพยานหลักฐานมายืนยันว่าตัวเองไม่ผิด เช่น ไม่ผิดตามขอบเขตของกฎหมายหรือไม่ผิดตามหลักวิชาการหรือไม่ผิดตามมาตรฐานการพยาบาลที่กำหนด ซึ่งตอกย้ำให้พยาบาลทุกคนต้องกลับมาทบทวน การปฏิบัติงานของตนเอง ให้ปลอดภัยจากการฟ้องร้อง ซึ่งแม้จะมีคำสั่งให้ทำแต่ถ้าไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายก็เสี่ยงต่อความผิด พยาบาลควรปฏิบัติงานตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด  เมื่อเกิดกรณีฟ้องร้องสิ่งแรกที่จะใช้เป็นพยานเอกสารก็คือ การบันทึกรายงานหรือ nurse note   ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเขียน nurse note  ให้ครอบคลุมกระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมที่ปฏิบัติจริง  เน้นมีการประเมินผู้รับบริการก่อนรับงาน  มีการประชุมปรึกษาก่อนการปฏิบัติงาน มีการนิเทศทางการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพทุกระดับ   ระวังการปฏิบัติตามจริยธรรมแต่ผิดกฎหมาย  ควรให้ถูกทั้งจริยธรรมและกฎหมาย  ตัวอย่างกรณีศึกษา ถ้าไม่มีแผนการรักษา  retained  foley’s catheter   พยาบาลจะทำไม่ได้   ถ้าโรงพยาบาลเอกชน ให้พยาบาลเจาะ  Arterial    blood  gas พยาบาลมีสิทธิ์ปฏิเสธ เพราะผิดกฎหมาย    ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานในเวรที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลของรัฐ  ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องพยาบาลได้ต้องฟ้องหน่วยงานหรือองค์กร  หลังคดีเสร็จหน่วยงานจะเรียกร้องค่าเสียหายจากพยาบาลหรือไม่  ขึ้นอยู่ว่าเป็นการปฏิบัติโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่  แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนแม้ประมาทเลินเล่อธรรมดาก็สามารถไล่เบี้ยกับพยาบาลได้    ถ้าออกเวรแล้วทำผิดพลาด  ตัวพยาบาลต้องรับผิดชอบเอง  เหมือนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนที่ทำสัญญาเป็นการจ้างงาน   ไม่ใช่พนักงานขององค์กร

ปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารองค์กรและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ภายใต้บริบทขององค์กร  ดังคำกล่าวของ Charies Darwin ( 1809-1882 ) ผู้ที่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต จะไม่ใช่มาจากสายพันธ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดที่สุด   แต่จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยลักษณะองค์กรที่รีบปรุงคุณภาพองค์กรจะประสบหายนะถ้าไม่ปรับเปลี่ยนมีดังนี้ ตอบสนองสถานการณ์ภายนอกล่าช้าเกินไป  เพิกเฉยไม่สนใจความพึงพอใจของลูกค้า  ไม่สม่ำเสมอในการปรับปรุงองค์กร มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในองค์กรเกินความจำเป็น  ขาดประสิทธิภาพที่ดีในการจัดการทรัพยากร  ขาดการพัฒนาและใช้สมรรถนะของพนักงานและหยิ่งยโสลำพองกับความสำเร็จในอดีต  การนำการเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญและยากยิ่ง มักมีการต่อต้านจากผู้เสี่ยงหรือผู้ไม่เห็นด้วย  ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคมากมาย ซึ่งเหตุผลของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากขาดความไว้วางใจ  เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่จำเป็นหรือไม่เหมาะสม  มีค่าใช้จ่ายสูง  กลัวความล้มเหลว  สูญเสียสถานภาพและอำนาจ  รู้สึกคุกคามต่อค่านิยมและอุดมคติหรือไม่พอใจต่อการแทรกแซง   ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง  ได้แก่ ความจริงจังของผู้บริหารระดับสูง  ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบบนลงล่าง  สื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สังเกตความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดและบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงคือความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ร่วมกับ 8 ปัจจัยของการบริหารคือ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง  ทำงานร่วมกันเป็นทีม  กำหนดวิสัยทัศน์ชัดเจน  สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ  เสริมพลังอำนาจให้ผู้ร่วมงานทุกระดับ  วางแผนระยะยาว  ก้าวอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร หลอมรวมเป็นวัฒนธรรม เช่นทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ  ให้รางวัลความสำเร็จหรือประกาศใข้เป็นระเบียบข้อบังคับ

การนำความรู้มาใช้ประโยชน์ มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับผู้ร่วมงานและนักศึกษา  ในช่วงการปฏิบัติงานการพยาบาล ตระหนักและเน้นการเขียน  Nurse note ให้รัดกุมมากขึ้น    ปฏิบัติงานตามขอบเขตของกฎหมายหรือมาตรฐานการพยาบาล     ชี้ให้เห็นข้อดีของการทำงานในหน่วยงานของรัฐ และมีความรอบคอบเมื่อต้องไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน  นอกจากนี้ยังได้เห็นรูปแบบการเขียน Nurse  note ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ผ่านมาตรฐาน JCI     นำแนวคิดการปลุกพลังพยาบาลเพื่อพัฒนาวิชาชีพไปถ่ายทอดแก่นักศึกษา

ผู้บันทึก อ. ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อ.ธนพร  ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์   อ. จันทรมาศ  เสาวรส        อ.ดร.กมลทิพย์  ตั้งหลักมั่นคง  อ.เพ็ญนภา  พิสัยพันธ์  อ.จันทร์เพ็ญ  อามพัฒน์  อ.ขนิษฐา เมฆกมล     อ.อารีรัตน์  วิเชียรประภา  อ.จรัญญา  ดีจะโปะ  อ.นริชชญา  หาดแก้ว  อ. วรัญญา ชลธารกัมปนาท    อ. โสระยา  ซื่อตรง  อ. จารุวรรณ์  ท่าม่วง

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: ,

Comments are closed.