ผลการสำรวจที่น่าสนใจของคนเมืองจันท์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

          ประชากรของจังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายจากการเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่มีการป้องกัน หรือควบคุมโรคอย่างจริงจัง  และเร่งดวน เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในจังหวัดจันทบุรี ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศไทย อยู่หลายรายการ จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่า

          จังหวัดจันทบุรี

          เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด คือ 107.9 ต่อประชากรแสนคน

          เป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคเบาหวานมากที่สุด คือ 123.6 และ1, 320.2 ต่อประชากรแสนคน และ

          เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ 1,267.7 ต่อประชากรแสนคน

          เป็นอันดับที่ 8ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด คือ 72.7 ต่อประชากรแสนคน

          จะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้ คนเมืองจันท์ ติดอันดับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มากขนาดนี้ คงจะต้องฝากคนเมืองจันท์ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการสาธารณสุข ช่วยกันคิด วิเคราะห์ และร่วมกันหาทางป้องกันแก้ไข นะคะ

คลิกที่ภาพเพื่อขยายค่ะ

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง (ประวัติการเขียน 4 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสาขาวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ปัจจุบันสอนอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี


Tags: , , , , , , , , ,

4 Responses to “ผลการสำรวจที่น่าสนใจของคนเมืองจันท์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง”

  1. toi พูดว่า:

    อยากทราบว่า แล้วอันดับ1 ของจันทบุรีคือโรคอะไรคะ ขอบคุณค่ะ

  2. Dr Lek พูดว่า:

    ข้อมูลจาก website ของ สสจ จันทบุรี นะคะ

    สาเหตุการเจ็บป่วย อันดับ 1 ปี 2553 ของจันทบุรี คือ โรคระบบทางเดินหายใจ สำหรับ OPD Case และ ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิซึม สำหรับ IPD Case

    ส่วนสาเหตุการตาย อันดับ 1 ปี 2553 ของจันทบุรี คือ มะเร็ง (รวมทุกชนิด)

  3. toi พูดว่า:

    ขอบคุณค่ะ

  4. อรัญญา บุญธรรม พูดว่า:

    เหตุผลสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การคิดทางลบ ฯลฯ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าบุคคลากรสาธารณสุขยังมีปัญหาในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน แม้แต่ตัวบุคลากรสาธารณสุขเอง(หรือแม้แต่ตัวเราเอง)ก็ยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม… จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้คิดว่า น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราในฐานะที่เป็นสถาบันสถานศึกษาที่ผลิตและพัฒนาบุคคลากรสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี ควรจะให้ความสำคํญในเรื่องการส่งเสริมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ…หากเป็นไปได้อยากเสนอให้ทำวิจัยการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของอาจารย์ในวิทยาลัยของเรา แล้วลองวิเคราะห์ตัวเอง(อาจใช้ HBM และ Process of change ฯลฯ) จะได้เข้าใจและตกผลึกแนวทางที่จะนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน…ถ้าทำได้ ประโยชน์ที่ได้น่าจะคุ้มค่าเหนื่อยนะคะ