ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
03/09/12
วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่างทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์ และขาดทักษะในการใช้ชีวิต อีกทั้งสังคมปัจจุบันยังมีปัจจัยยั่วยุและสิ่งกระตุ้นความอยากรู้ อยากลองของวัยรุ่นอย่างมากมาย ขณะเดียวกันปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม สถานภาพทางครอบครัว ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมา ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ เด็กก็จะมีพฤติกรรมปัญหาทั้งในช่วงวัยรุ่นและในการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ในช่วงต่อมา ผลการศึกษาพฤติกรรมปัญหาของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งดำเนินการเมื่อปีการศึกษา 2550 โดยอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,073 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 8 โรงเรียน พบว่า พฤติกรรมปัญหาของนักเรียนวัยรุ่นอันดับแรก คือ เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์/เกมส์เพลย์มากกว่า วันละ 2 ชั่วโมง รองลงมาคือ ดื้อไม่เชื่อฟัง เถียงพ่อแม่หรือผู้ปกครองบ่อยๆ นอกจากนั้นเด็กยังระบุว่าเคย ชกต่อย ตบตี เล่นการพนัน หนีโรงเรียน กลั่นแกล้งผู้อื่นทำให้ได้รับความเดือดร้อน และเคยคิดฆ่าตัวตายแต่ยังไม่ได้ลงมือกระทำ โดยสรุปว่า นักเรียนวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรีประมาณหนึ่งในสามมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และประมาณหนึ่งในสิบมีพฤติกรรมปัญหาที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น Related Posts by [...]
Tags: การจัดการความรู้, การทำวิจัย, การเลี้ยงดู, วัยรุ่น, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
03/06/12
วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่างทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์ และขาดทักษะในการใช้ชีวิต อีกทั้งสังคมปัจจุบันยังมีปัจจัยยั่วยุและสิ่งกระตุ้นความอยากรู้ อยากลองของวัยรุ่นอย่างมากมาย ขณะเดียวกันปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม สถานภาพทางครอบครัว ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ผ่านมา ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้และรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆอยู่แล้ว เกิดความเครียด ส่งผลต่อการปรับตัวและพฤติกรรมปัญหาทั้งในช่วงวัยรุ่นและในการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ปรากฏการณ์ความรุนแรงของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากกว่าในอดีต ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย เช่น ไม่เรียนหนังสือ ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ติดการพนัน ติดยาเสพย์ติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอันนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV เป็นต้น พฤติกรรมปัญหาต่างๆเหล่านี้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อวัยรุ่นเอง ครอบครัวและผู้อื่น โดยเฉพาะบางรายที่กระทำผิดรุนแรงถึงขั้นต้องโทษจำคุก Related Posts by Tags[สรุป CoP ครั้งที่ 4] ทำวิจัย/บริหารจัดการอย่างไรจึงแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด มีคุณภาพ ตีพิมพ์ในวารสาร ระดับชาติ/นานาชาติ [รายงาน CoP ครั้งที่ 4] ทำวิจัย/บริหารจัดการอย่างไรจึงแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด มีคุณภาพ ตีพิมพ์ในวารสาร [...]
Tags: การทำวิจัย, การเผชิญปัญหา, จันทบุรี, พฤติกรรม, วัยรุ่น, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา
03/01/12
ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้ อ.ยศพล เหลืองโสมนภา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วันที่ประชุมจัดการความรู้ 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 8.30 – 9.30 น สถานที่ประชุม ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร อ.พจนาถ บรรเทาวงษ์ อ.ศศิโสภิต แพงศรี อ.รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ อ.ยศพล เหลืองโสมนภา สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ สืบเนื่องจากการที่คณาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ได้ติวนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการเตรียมสอบรวบยอดของสถาบันพระบรมราชชนก และมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2554 และพบว่า นักศึกษาประเมินความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.33 ซึ่งต่ำที่สุดใน 8 สาขาวิชาที่ทำการติว ประกอบกับผู้เขียนในฐานะหัวหน้าโครงการติวเตรียมสอบสภาการพยาบาลสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ในวันที่ 29 กพ 2555 – 2 มีค 2555 ได้เข้าพบนักศึกษาและถามความคิดเห็นต่อการติวจากอาจารย์สาขาผู้ใหญ่ที่ผ่านมาได้ข้อมูลดังนี้ Related Posts by Tagsแนวปฏิบัติที่ดี [...]
Tags: ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ผู้เขียน : อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์
02/24/12
โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ 2 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13:30-16:00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง มิติใหม่ในการดูแลบาดแผล วิทยากร นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม คุณณิชาดา กิมศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการทางด้านการพยาบาลศัลยกรรม ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 28 คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 37 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 65 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของนายแพทย์เกรียงศักดิ์ ศิริรักษ์ แผล คือ การฉีกขาดของเนื้อเยื่อทำให้การทำงานเสียไป ซึ่งการจำแนกแผล มีหลายวิธี เช่น จำแนกตามสาเหตุ ลักษณะการฉีกขาด ความลึกของแผล การหายของแผล การปิดของแผล [...]
Tags: การดูแล, บาดแผล, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้เขียน : ดร.ทองสวย สีทานนท์
02/13/12
สรุปการประชุมวิชาการเรื่อง Prevention, Prediction, and Promotion in Perinatal Health ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 การจัดการความรู้เรื่องคัดกรอง ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกแรกเกิดนั้นเป็นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด เพื่อสามารถวินิจฉัยและให้การพยาบาลทารกป่วยได้อย่างรวดร็วถูกต้อง ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการจากการให้การดูแล การแก้ไขและการรักษาทารกป่วยได้อย่างทันท่วงที โดยทารกที่ป่วยอาจแสดงอาการได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ พบได้ทันทีในห้องคลอดและการปรับตัวของทารกในระยะแรก รวมทั้งทารกที่อยู่กับมารดาและก่อนกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อดูแลทารกในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวแพทย์และพยาบาลจำเป็นตั้งเอาใจใส่และให้ความสำคัญในการสังเกตอาการและสัญญาณเตือนภัยในทารกเหล่านี้เป็นอย่างดีก่อนที่ทารกเหล่านี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของทารกและครอบครัวในอนาคต ในบทบาทพยาบาลทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นต้องสังเกตทารกเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร สัญญาณเตือนภัยที่สำคัญทารกแรกเกิดที่พยาบาลทารกแรกเกิดจำเป็นต้องเอาใจใส่คืออาการและอาการแสดง หากอาการเหล่านี้ถูกละเลยและหรือเป็นระยะเวลานาน อาการผิดปกติก็รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลทารกแรกเกิดควรศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจอาการและอาการแสดงที่เป็นปกติ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับอาการและอาการแสดงที่พบที่อาจพบได้ทั้งปกติและผิดปกติได้ Related Posts by Tagsรายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรังภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ การแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ “Paliative care’ CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมพลังสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน
Tags: Perinatal Health, Prediction, Prevention, promotion, คัดกรอง, ทารกแรกเกิด, ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, ส่งเสริมสุขภาพ