การจัดการความรู้เพื่อเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ปีการศึกษา 2554

ชื่อ-สกุลผู้นำการจัดการความรู้   อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วันที่ประชุมจัดการความรู้   26 กุมภาพันธ์  2554   เวลา 8.30 – 9.30 น

สถานที่ประชุม ห้องทำงานภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ.รัชสุรีย์  จันทเพชร
  2. อ.พจนาถ  บรรเทาวงษ์
  3. อ.ศศิโสภิต แพงศรี
  4. อ.รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  5. อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

สืบเนื่องจากการที่คณาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ได้ติวนักศึกษาชั้นปีที่ 4  ในโครงการเตรียมสอบรวบยอดของสถาบันพระบรมราชชนก และมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2554  และพบว่า นักศึกษาประเมินความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.33  ซึ่งต่ำที่สุดใน 8 สาขาวิชาที่ทำการติว
ประกอบกับผู้เขียนในฐานะหัวหน้าโครงการติวเตรียมสอบสภาการพยาบาลสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ในวันที่ 29 กพ  2555  – 2 มีค  2555 ได้เข้าพบนักศึกษาและถามความคิดเห็นต่อการติวจากอาจารย์สาขาผู้ใหญ่ที่ผ่านมาได้ข้อมูลดังนี้

1) การจัดเวลาติวในแต่ละหัวข้อไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่มีมากกว่า   ทำให้อาจารย์ติวได้ไม่ครบเนื้อหาที่กำหนดไว้

2) ในการเฉลยข้อสอบ อยากให้อาจารย์ชี้ให้เห็นแนวคิดการทำข้อสอบ และการตัดตัวเลือกในข้อสอบด้วย   ไม่ใช่การเฉลยว่าข้อใดถูกหรือผิดเท่านั้น

นอกจากนี้ คณะอาจารย์ที่ประชุมในครั้งนี้  ยังได้นำผลการสอบของมหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2554 ที่นำเสนอคะแนนเป็นรายข้อมาร่วมพิจารณาด้วยพบข้อมูลที่สำคัญคือ    การเลือกคำตอบของนักศึกษาส่วนใหญ่   จะเลือกคำตอบแบบกระจัดกระจายซึ่งสะท้อนว่า นักศึกษายังมีหลักการพิจารณาคำตอบที่ไม่ชัดเจน    เพื่อให้นักศึกษาที่จะสอบใบประกอบฯในครั้งนี้  สอบผ่านวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ได้ดังเป้าหมาย   จึงมีข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยนความรู้กันดังนี้

  1. ในการทดสอบความรู้ก่อนติว  โครงการติวเตรียมสอบสภาการพยาบาลสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ในวันที่ 29 กพ  2555
    – 2 มีค  2555   ขอให้นำเสนอคะแนนของนักศึกษาเป็นระบบตาม test  blueprint ของสภาการพยาบาล    และนำคะแนนดังกล่าวให้อาจารย์ผู้ทำการติวได้วางแผนการติว   และนักศึกษาได้รับทราบว่าตนเองอ่อนและพัฒนาแล้วในเรื่องใด
  2.  ลดเวลาและเพิ่มเวลาในการติวของบางเนื้อหาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและลักษณะการกระจายคำตอบจากการสอบก่อนหน้า
  3. จัดทีมติวและเฉลยข้อสอบในการติววันที่ 2 มีค  2555  ประกอบด้วย

ทีมอายุรศาสตร์ ประกอบด้วย  อ.ยศพล , อ.รัชสุรีย์

ทีมศัลยกรรม     ประกอบด้วย  อ.สุชาดา  , อ. พจนาถ , อ. ศศิโสภิต

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ยศพล เหลืองโสมนภา (ประวัติการเขียน 10 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Tags: , , ,

2 Responses to “การจัดการความรู้เพื่อเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ปีการศึกษา 2554”

  1. อ.มัณฑนา เหมชะญาติ พูดว่า:

    ตามประเด็นที่อาจารย์ยศพลและทีมเตรียมสอบวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ นำเสนอมานั้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะในนักศึกษารุ่นนี้ เพราะจากการที่ได้เข้าไปร่วมสอนเสริมบ้าง ตามที่ฝ่ายวิชาการมอบหมาย และได้ทดสอบสมมติฐานของฝ่ายวิชาการ ว่าการที่นักศึกษาบางส่วนสามารถจำ เข้าใจ และทำข้อสอบที่มีลักษณะคล้ายกับข้อสอบที่ทำมาแล้ว ได้ไม่่ดีเท่าที่ควรนั้นเป็นเพราะนักศึกษาไม่เข้าใจจริงๆ ตามไม่ทัน หรือว่านักศึกษาให้ความสนใจกิจกรรมที่ทำเมื่ออาจารย์สอนเสริม/ติวให้ น้อยเกินไป โดยใช้เวลาในช่วงดังกล่าว ไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่่เกี่ยวข้องกับการติว เช่น ใช้ อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสื่อสาร

    สถานการณ์เหล่านี้ สะท้อนอะไรบ้าง
    ถ้าตอบตามหลักการ ที่คำนึงถึงองค์ประกอบของการเรียนการสอน ก็ต้องนึกถึงทั้งผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของผู็สอน vs ผู้เรียน และ ผู้เรียน vs ผู้เรียน ด้วยกันเอง ประสบการณ์ในการสอนมานานเป็นสิบกว่าปี ทำให้ได้เห็นว่า ขณะนี้ผู้เรียนในปัจจุบัน กำลังเข้าสุู่ยุค IT ที่มีกระแสแรงมากๆ จนกระบวนการสร้างความสนใจและวิธีการเรียนการสอนที่อาจารย์เคยใช้ได้ผล ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่เคยเป็นมา เรา-อาจารย์ในยุคนี้- คงต้องช่วยกันระดมความคิดอย่างหนัก ในการปรับสมดุลทางความคิดของผู้เรียนให้ใช้ IT ได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และไม่เป็นสาวกหรือทาส ของ IT จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับตนเองได้

    ณ ปัจจุบันนี้ หน้าที่สำคัญของครูคงน่าจะมุ่งไปที่่ การสร้างแรงจูงใจ ใฝ่รู้ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน บททดสอบของอาจารย์ที่ได้คำตอบเร็วมาก คือการสอนเสริมหรือการเตรียมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สอบสภาฯ เพราะเป็นช่วงที่ทำแล้วเห็นผลเร็ว จากการทดสอบเป็นช่วงๆ ไปจนถึงการสอบสภาฯ จริงๆ ซึ่งมีผลชัดเจนต่อตัวผู้เรียน โดยสามารถคาดการล่วงหน้าได้ว่าถ้าสอบผ่าน กับไม่ผ่าน ผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งผลนั้นก็มีความเป็นรูปธรรมอย่างมาก

    ถ้าใครมีวิธีการสร้างแรงจูงใจ วิธีการสร้างความสนใน วิธีการต้านกระแส IT- Facebook ที่สามารถใช้กับนักศึกษาพยาบาลและคาดว่าจะได้ผลดี ช่วยแบ่งปันด้วย

    มัณฑนา เหมชะญาติ-ผู้เขียน

  2. ในความคิดเห็นของตนเองนั้น ให้ความสำคัญในการสอนเสริมในกลุ่มที่นักศึกษาที่ยังพร่องความรู้ในวิชานั้นๆ (เพราะคนที่เก่งมากในวิชานั้น แม้อาจารย์ไม่ติวเขาก็สอบผ่าน คนที่ปานกลาง อาจารย์อาจต้องช่วยบ้าง แต่คนที่อ่อน อาจารย์ต้องเน้นเป็นพิเศษ) ตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนย่อมรักตนเอง อยากให้ตนเองประสบความสำเร็จ นักศึกษาที่มีความรู้มาก อาจสนในน้อย เพราะคิดว่าสิ่งที่อาจารย์กำลังพูดไม่ค่อยมีความสำคัญกับเขา แต่สำหรับนักศึกษาที่ยังพร่องความรู้อยู่ เขาจะมีความสนใจ ต้องการการรับการสอนเสริมมากกว่า จากประสบการณ์ที่ตนเองติวกลุ่มพิเศษ (กลุ่มอ่อน) ในวิชาจิตเวชมานานหลายปี ไม่เคยพบนักศึกษาที่ทำกิจกรรมอื่นในขณะติวแม้สักคน ทุกคนมีความใส่ใจ ถามตอบตลอดเวลาในการติว นอกจากนั้นบรรยากาศของการติวกลุ่มพิเศษซึ่งจะมีจำนวนคนน้อยกว่า ทำให้ครูใส่ใจผู้เรียนได้ทั่วถึง อีกทั้งผู้เรียนบอกว่าเขามีความรู้สึกว่าเพื่อนที่ติวด้วยก็มีความรู้ไม่แตกต่างกันมาก เขาจึงกล้าที่จะถามอาจารย์ในส่วนที่เขายังไม่เข้าใจมากกว่าการเรียนในห้องใหญ่ การสอนจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น…จึงอยากเชิญชวนอาจารย์วิชาอื่นๆติวเข้มให้นักศึกษากลุ่มอ่อนกันให้มากขึ้น