Plugin by Social Author Bio

การจัดการความรู้ วพ.พระปกเกล้า จันทบุรี » อ.ลลิตา เดชาวุธ

บทสรุปการสังเคราะห์ CoP “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Evidence based practice”

Related Posts by Tagsสรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 สรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 1 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 1 บทสรุปการสังเคราะห์ CoP “ร่วมแรง ร่วมใจ จัดทำแผนได้ ทันความเปลี่ยนแปลง”

Tags: , ,

การพัฒนากระบวนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (พย.1310)

โดยผลการประชุม….อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1. การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา -ทบทวนความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อนการฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง -ควรจัดทำ pre-test เนื้อหาสาระหลักของรายวิชา 2. การเตรียมอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ / อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา -จัดสัมมนาเพื่อการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลนักศึกษาก่อนการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา -ประชุมระดมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติก่อนการจัดทำแผนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนามที่จัดให้นักศึกษาตามวัตถุประสงค์รายวิชา  รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อการสอนภาคปฏิบัติของปีที่ผ่านมา -จัดทำแผนการสอนรายวิชาอย่างรอบคอบร่วมกับอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ  อาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก  และพัฒนาจากการประเมินของนักศึกษา 3.การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง/อาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ -พิจารณาร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงในเรื่อง แหล่งฝึก  และการหาแหล่งสนับสนุนยานพาหนะในการเดินทางเข้าชุมชนของนักศึกษา 4. การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในอนาคต -วิทยาลัยควรจัดหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับลงพื้นที่ชุมชนเพื่อการสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาอย่างเพียงพอ 5.  การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยนักศึกษา -นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ – มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานชุมชน 6.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -เพิ่มการสอนในคลินิกเรื่องบทบาท รพ.สต.ในการให้บริการเชิงรุก -เพิ่มกิจกรรมการตรวจสุขภาพเด็กดี 7. การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยสถานที่ฝึกหรือพยาบาลในแหล่งฝึก -นักศึกษายังขาดความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติงาน  โดยเฉพาะการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ ที่ รพ.สต. 8.  ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -วิทยาลัยควรมียานพาหนะสนับสนุนการเดินทางของนักศึกษาในการเข้าชุมชนที่อยู่ไกลจาก รพ.สต. เนื่องจากทรัพยากรของ รพ.สต. มีไม่เพียงพอ 9.การทวนสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา -มีการประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติทุกคนเพื่อพิจารณาคะแนนและเกรดของนักศึกษา -มีคณะกรรมการจากภาควิชาฯ 3 คน  [...]

Tags: , , ,

การเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2554 รายวิชา การพยาบาลอนามัยชุมชน

ผู้บันทึกข้อมูล  อ. ลลิตา  เดชาวุธ อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ. ราตรี   อร่ามศิลป์ ดร.พรฤดี   นิธิรัตน์ อ.ทองใหญ่   วัฒนศาสตร์   1.  วิธีการต่างๆ ในการสร้างความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา มีดังนี้ – กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง – เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น – Empower นักศึกษาให้เห็นว่าถ้าตั้งใจเรียนจะสอบผ่านได้แน่ๆ – อาจารย์เตรียมสื่อการสอนที่น่าสนใจ – อาจารย์ใช้กลวิธีการสอนที่เร้าใจ  ให้นักศึกษามีส่วนร่วม  น้ำเสียง  บุคลิกภาพ  และมุขตลก – กระตุ้นนักศึกษาให้เกิดแรงจูงใจในการทบทวนบทเรียน – อาจารย์อธิบายความสำคัญของการสอบ   2.  วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้ – สนุก ง่าย ได้ผล คงทน และยั่งยืน  ได้แก่  แบ่งเนื้อหาให้ง่ายต่อการเข้าใจ  ให้นักศึกษามีความสนุกในการเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ – ให้ดูสื่อเคลื่อนไหว – [...]

Tags: , , , , ,

การนวดเพื่อสุขภาพ

มีหลักฐานปรากฏว่าการนวดไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง แบ่งเป็นการนวดแบบราชสำนัก และการนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ การนวดนี้มีประโยชน์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งประโยชน์ด้านร่างกายได้แก่ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดช่วยให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ลดอาการปวดและบวม กระตุ้นภูมิคุ้มกันและ การทำงานของระบบประสาท ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้น ส่วนในหญิงหลังคลอดการนวดและประคบ จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ดีขึ้น ส่วนประโยชน์ด้านจิตใจได้แก่ ทำให้เกิดอาการผ่อนคลาย มีความรู้สึกเป็นสุข ช่วยทำให้จิตใจสงบ สบายใจ และเป็นการปรับสมดุลของพลังชีวิต

วิธีการนวดเพื่อลดอาการปวดไหล่และคอ มีหลักการและเทคนิคดังต่อไปนี้

๑. ก่อนนวดต้องล้างมือให้สะอาดและตัดเล็บให้สั้น

๒. ไม่ควรนวดในผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ (ควรให้เกิน ๓๐ นาทีเป็นอย่างน้อย)

๓. ขณะทำการนวดต้องมีสมาธิ และระลึกถึงครูบาอาจารย์

๔. เริ่มการนวดบริเวณด้านซ้ายก่อน

๕. ระวังอย่าให้นิ้วที่นวดกดที่กระดูกเพราะจะทำให้เมื่อย สำหรับความหนักเบาของน้ำหนักที่กดเมื่อนวดนั้นให้สอบถามจากผู้ถูกนวด

๖. ในแต่ละท่าให้นวดอย่างน้อยประมาณ ๕ รอบ จึงจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ สำหรับผู้ที่มีอาการมากอาจต้องใช้การประคบร้อนช่วย และนัดนวดซ้ำอีกเป็นระยะ

จากความสนใจเรื่องการนวดเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบอีกอย่างของทางเลือกด้านสุขภาพ ทำให้ทีมอาจารย์จากภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ได้แก่ อ.โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล อ.คณิสร แก้วแดง และ อ.วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนวดเพื่อผ่อนคลาย แบบนวดโดยใช้น้ำมันไพลกับการนวดแบบดั้งเดิม ในผู้ที่มีอาการปวดไหล่ โดยเปรียบเทียบว่าการนวดทั้งสองชนิดนี้มีประสิทธิผลต่ออาการปวด อาการผ่อนคลาย และความพึงพอใจต่อการนวดของผู้ถูกนวดที่มีอาการปวดไหล่และคอ ว่ามีแตกต่างกันอย่างไร

Tags: , , ,

การใช้ PIM Score ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ 4 วันที่ 25  เมษายน 2554    เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องประชุมลีลาวดี   โรงพยาบาลพระปกเกล้า   เรื่อง การใช้ PIM Score  ในการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการให้บริการในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช วิทยากร นายแพทย์ทนง   ประสานพานิช  นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเด็ก คุณปรีดาวรรณ  บุญมาก  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการทางด้านการพยาบาลเด็ก ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  30  คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  23  คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  53  คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการคิดของทีมผู้รักษามีแนวคิดว่าการช่วยฟื้นคืนชีพในหอผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น  ดังนั้นทีมการรักษาจึงพยายามคิดหาเครื่องมือในการเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย  เรียกว่า  “MEWS  Score”  (Monitoring  Early  Warming  Sign  Score) การวัดอัตราการตาย  (Measures [...]

Tags: , , ,