Plugin by Social Author Bio

การจัดการความรู้ วพ.พระปกเกล้า จันทบุรี » อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุมเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย วิทยากร : รศ.ดร.โยธิน    แสวงดี    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโดย  กลุ่มงานวิจัย  สถาบันพระบรมราชชนก วันที่ 21-23  มิถุนายน  2554 สถานที่  โรงแรมเมธาวลัย  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี ผู้เข้าประชุมและร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ  ดร.มัณฑนา   เหมชะญาติ  ดร.พรฤดี   นิธิรัตน์   ดร.เชษฐา   แก้วพรม  อาจารย์ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์   อาจารย์รุ่งนภา    เขียวชะอ่ำ  และอาจารย์จริยาพร  วรรณโชติ ผู้เขียน อาจารย์ทิพวรรณ   ลิ้มประไพพงษ์ สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสังเคราะห์งานวิจัย เป็นการตรวจสอบผลงานวิจัย   เพื่อหาจุดเด่นจุดด้อยในแต่ละขั้นตอนของงานวิจัย  เพื่อหาแนวทางพัฒนาหรือประเด็นใหม่ๆ เพื่อทำวิจัยครั้งต่อไป   และอาจค้นพบข้อความรู้ใหม่ที่แตกต่างออกไป   การสังเคราะห์งานวิจัยมักทำ  2  มิติ  ดังนี้ 1. การสังเคราะห์ระดับ มหภาค  (ภาพรวมขององค์กร )  เป็นการสังเคราะห์เพื่อพัฒนางานวิจัยขององค์กร  ทำเพื่อพิจารณาคุณภาพงานวิจัยของหน่วยงานที่ทำเสร็จแล้ว  มีเล่มใดบ้างหรือเรื่องอะไรบ้างที่ทำได้ดีหรือทำได้ถูกต้อง และมีเรื่องใดบ้างทำได้ไม่ดี  [...]

Tags: , ,

กระบวนการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิกและการบันทึก

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี    และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ 5 วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมชัยสิทธิ์  อาคารวิทยบริการ  โรงพยาบาลพระปกเกล้า   เรื่อง กระบวนการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิกและการบันทึก วิทยากร ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คุณพรทิพย์ สุขอดิศัย  หัวหน้างานเฉพาะทางศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า ผู้เข้าร่วมประชุม จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  28  คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  72 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  100 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ควรเริ่มที่การทบทวนคำถาม เพราะการตั้งคำถาม จะส่งผลต่อพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ   คำถามสามารถเปลี่ยนโลกและโลกทัศน์ของคนได้  ตัวอย่างเช่น                     คนสมัยโบราณมักไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง   เริ่มย้ายถิ่นเมื่อความอุดมสมบูรณ์ลดลงไปหาแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า  ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่ตั้งคำถามว่า   แหล่งน้ำหรือความอุดมสมบูรณ์อยู่    [...]

Tags: , ,

พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล โดย ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ มัณฑนา  เหมชะญาติ           การสังเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  โดยมุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์ในส่วนของผลการวิจัย จากรายงานวิจัยในประเด็นดังกล่าวในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน ๒ เรื่อง คือ (๑) การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล โดยยศพล เหลืองโสมนภา  เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และสาคร พร้อมเพราะ (๒๕๕๑) และ (๒) พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการปกติของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยทองสวย สีทานนท์ และยศพล เหลืองโสมนภา (๒๕๕๓) ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้         พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล แบ่งเป็น ๖ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) ส่งเสริมสัมพันธภาพในการช่วยเหลือและไว้วางใจ (๒) สนับสนุนแหล่งทรัพยากรแบบองค์รวม (๓) เสริมสร้างศรัทธาและคุณค่าในตนเอง (๔) สร้างค่านิยมการรับใช้เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (๕) เป็นแบบอย่างและผู้เสริมพลัง และ (๖) [...]

Tags: , , ,

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก
ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
วิทยากร ดร. มัณฑนา เหมชะญาติ
            คุณกนกพร สิงขร
            คุณพรหมมาตร์ ปฏิสังข์
ผู้เข้าร่วมประชุม
            จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และวิทยากร 30 คน
            จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 16 คน
            รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 46 คน

สรุปรายงานการประชุม
      ปัจจุบัน พบว่าโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญในการช่วยกันป้องกันและดูแลผู้ที่เจ็บป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ในปัจจุบันการรับประทานอาหาร Fast foods นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคเรื้อรัง เพราะมีการพัฒนาเทคนิคการขายและการโฆษณา ให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภค ประกอบกับการผลิต package ของอาหารที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีการรับประทานในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น
      ความหมายของโรคเรื้อรัง ขององค์การอนามัยโลก หมายถึง โรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น มักรักษาเกิน 6 เดือน โดยให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรุงอาหารเองลดลง มักซื้ออาหารรับประทานมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกทำให้เวลาในการหุงข้าวลดลง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ โดยแนะนำหลักการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) ดังนี้
      1. Promote ส่งเสริมการมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่คุณภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ทำให้เกิดสังคมสุขภาพที่ดี ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส
      2. Prevent ป้องกันการตายก่อนวัยอันควรและหลีกเลี่ยงความเสื่อมหรือความพิการจากโรคเรื้อรัง ซึ่งบางครั้งเกิดจากสาเหตุธรรมดาที่น่าป้องกันได้
      3. Treat ควรพัฒนาการรักษาโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนมากที่สุด
      4. Care ควรจัดหาหรือช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมสุขภาพที่แพงที่สุดในโลก

Tags: , , ,

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมนักศึกษาขอรับใบประกอบวิชาชีพรายวิชาผดุงครรภ์

การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้ 1.  แบ่งกลุ่มย่อย  2.  จัดเป็นฐานความรู้  3.  ทำข้อสอบที่หลากหลาย 4.   วิเคราะห์ประเด็นของข้อสอบและเฉลยโดยนักศึกษามีส่วนร่วม 5.   จัดกิจกรรมผ่อนคลายและเสริมพลัง  เช่น  โยคะ , สมาธิ, ฟังธรรมะ  6.   ประเมินพัฒนาการเป็นระยะ  แยกกลุ่มอ่อนมาสอนเสริมเพิ่ม 7.   ปลูกฝังทัศนคติและจิตสำนึกและความกระตือรือร้นของนักศึกษา 8.   เชิญวิทยากรภายนอกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้  

Tags: