โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่ ๕

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่  ๕ วันที่  ๑๖ พฤษภาคม  ๒๕๕๕  เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๑  อาคารอำนวยการชั้น ๑  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี   เรื่อง    การเตรียมตัวของพยาบาลสู่ FTA : ภาษาอังกฤษกับพยาบาลไทย วิทยากร    ดร.พรฤดี  นิธิรัตน์  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  ๑๙  คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  ๑๘  คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   ๓๗  คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของวิทยากร การเตรียมตัวของพยาบาลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีดังนี้ -          หาข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหว -          พัฒนาศักยภาพของตนเองด้านวิชาการ -          พัฒนาศักยภาพของตนเองด้านวัฒนธรรม [...]

Tags: , , , , , , ,

พฤติกรรมปัญหาและการเผชิญปัญหาของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดจันทบุรี

     วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่างทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม  ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์ และขาดทักษะในการใช้ชีวิต อีกทั้งสังคมปัจจุบันยังมีปัจจัยยั่วยุและสิ่งกระตุ้นความอยากรู้ อยากลองของวัยรุ่นอย่างมากมาย ขณะเดียวกันปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม สถานภาพทางครอบครัว ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะวัยรุ่น   ซึ่งเป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้และรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆอยู่แล้ว  เกิดความเครียด  ส่งผลต่อการปรับตัวและพฤติกรรมปัญหาทั้งในช่วงวัยรุ่นและในการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ต่อไป  ปรากฏการณ์ความรุนแรงของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากกว่าในอดีต  ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตนเอง  ครอบครัวและสังคม ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย  เช่น ไม่เรียนหนังสือ  ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ติดการพนัน ติดยาเสพย์ติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอันนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV เป็นต้น พฤติกรรมปัญหาต่างๆเหล่านี้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อวัยรุ่นเอง ครอบครัวและผู้อื่น  โดยเฉพาะบางรายที่กระทำผิดรุนแรงถึงขั้นต้องโทษจำคุก Related Posts by Tagsสรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 2 สรุปการจัดการความรู้ CoP “การทำวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ” ครั้งที่ 1 [...]

Tags: , , , , ,

AAR การคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง

After  Action  Review จากการบริการวิชาการตอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ของภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุฯ   หลังสิ้นสุดโครงการในรอบที่  1  ได้นำข้อเสนอแนะจากการบริการวิชาการรอบที่ 1 มาจัดโครงการหลังสิ้นสุดโครงการในครั้งที่  1  เกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังโดยมุ่งเน้นการคัดกรองกลุ่มเบาหวานตามความต้องการของ อบต.ท่าช้าง เป็นผลสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งแต่ก็ยังพบว่ายังมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังด้านอื่น ๆ อีก เช่น มะเร็ง อบต.ท่าช้าง  จึงทำการสำรวจความต้องการของชุมชนพบว่ายังมีกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง    คือสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย อบต.ชุมชนท่าช้างจึงทำการประสานความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)  กับภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุร่วมทำการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยง  ภาควิชาจึงได้ทบทวน AAR ผลจากการดำเนินงาน  ปี 2553 นำมาเป็นปัจจัยนำเข้าทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ประจำปีการศึกษา  2554 เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุได้รวบรวมผลการประเมินและการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาพบว่า การจัดทำโครงการในครั้งที่ 2 นี้สามารถบรรลุตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยให้การบริการวิชาการตามข้อตกลงการทำ MOU กับองค์การบริการส่วนตำบลท่าช้าง และจากการวิเคราะห์แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้หลักสูตรสู่รายวิชา  ยังพบอีกว่าการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 (หัวข้อการดูแลบุคคลที่ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อและการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์สตรี) สามารถโดยกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการตรวจคัดกรองเต้านมสตรีและช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้   Related Posts by Tagsกลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพจิต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน [...]

Tags: , , , ,

บรูณาการรายวิชา พย.1412 กับงานวิจัยผลของรางจืด

ชื่อโครงการ บริการวิชาการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา พย.1412 ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว และชุมชน 2 กับงานวิจัยเรื่องผลของรางจืดร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการได้รับ สารเคมีเข้าสู่ร่างกายในผู้ที่มีผลการตรวจสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จัดโครงการเมื่อ วันที่   16 – 28  พฤศจิกายน  2553 สรุปกิจกรรมโครงการโดยย่อ การดำเนินโครงการบริการวิชาการโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการบูรณาการในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ซึ่งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 เข้าร่วมโครงการ   มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ และการวิจัย โดยปฏิบัติกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการและพยาบาลเวชปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาเรืองดังนี้ 1. เจาะเลือดตรวจหาระดับสารเคมีในเลือดก่อนและหลังการให้รับประทานรางจืดเถา 2. ประเมินความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3. ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย -   จากการพ่นสารเคมีฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืช -    จากการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตประจำวัน 4. ให้ผู้รับบริการที่มีระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยรับประทานรางรางจืดเถาจำนวน 5   ใบต้มกับน้ำ 250  ซีซี เดือดนาน 15 นาที ทิ้งไว้พออุ่นดื่มให้หมดครั้งเดียวเป็นเวลา 7วันก่อนอาหารเช้า 5.  แจกกล้าต้นรางจืดเถา 6. สังเกตพฤติกรรมการใช้สารเคมี การสังเคราะห์สาระ ความรู้  และประเด็นที่น่าสนใจ 1. [...]

Tags: , , , , ,

ผลการสำรวจที่น่าสนใจของคนเมืองจันท์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

          ประชากรของจังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายจากการเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่มีการป้องกัน หรือควบคุมโรคอย่างจริงจัง  และเร่งดวน เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในจังหวัดจันทบุรี ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศไทย อยู่หลายรายการ จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่า           จังหวัดจันทบุรี           เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด คือ 107.9 ต่อประชากรแสนคน           เป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคเบาหวานมากที่สุด คือ 123.6 และ1, 320.2 ต่อประชากรแสนคน และ           เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ 1,267.7 ต่อประชากรแสนคน           เป็นอันดับที่ 8ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด คือ 72.7 ต่อประชากรแสนคน           จะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้ คนเมืองจันท์ ติดอันดับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มากขนาดนี้ คงจะต้องฝากคนเมืองจันท์ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการสาธารณสุข ช่วยกันคิด วิเคราะห์ [...]

Tags: , , , , , , , , ,