การสะท้อนการจัดการเรียนการสอน วิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
โครงการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่องวิจัย การสะท้อนการจัดการเรียนการสอน วิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
ผุ้รับผิดชอบ อาจารย์อรัญญา บุญธรรม
ความเป็นมาและความสำคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้ในวิชาการพยาบาลจิตเวชว่า ลักษณะเนื้อหาวิชาเป็นนามธรรม เข้าใจยาก การเรียนภาคทฤษฎียังไม่สามรถทำให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนได้ดี แต่เมื่อได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติ ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามาก ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษารายละเอียดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ว่าแต่ละขั้นคอนที่ทำมาแล้วนั้น ตามการรับรู้ของผู้เรียนมีความเหมาะสม และ มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาปี 4 ข ที่จบการฝึกภาคปฏิบัติวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ปีการศึกษา 2553 จำนวน 135 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS(ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่นงเบนมาตรฐาน และร้อยละ)
งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย ไม่มี
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล รวมถึงการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารุ่นต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นำข้อมูลที่ได้จากการสะท้อนการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตจากผู้เรียน มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตในปีการศึกษาต่อไป
สรุปผลการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา (คลิกที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่)
![]() |
![]() |
![]() |
หน้าที่ 1 | หน้าที่ 2 | หน้าที่ 3 |
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา (จากที่นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นท้ายแบบสอบถาม)
1. ความคิดเห็นในประเด็นจำนวนนักศึกษาต่อกลุ่ม
- อยากให้รุ่นน้องมีการขึ้นฝึกปฏิบัติงานเวรละ 5-6 คน เพราะจะได้ให้การพยาบาลอย่างครอบคลุม และเข้าถึงผู้ป่วยได้
- OPD จิตเวช การขึ้นฝึกนศ.มากนั้นส่งผลให้มีเวลาสนทนากับผู้ป่วยน้อย และไม่เข้าลึกถึงปัญหาที่แท้จริง
- จากการที่ได้ฝึกตึกจิตเวชที่ผ่านมาก็ดี แต่นศ.มากไป ทำให้เกิดการเรียนรู้น้อย
- อยากให้แบ่งกลุ่มน้อยกว่าเดิม เช่น ในเวรเช้า บางทีได้ผู้ป่วย 1 คน ต่อนศ.2 คน และหอผู้ป่วยมีพื้นที่น้อย เวลาที่จะคุยกับผู้ป่วยเพื่อการบำบัดทำให้มีสิ่งกระตุ้นเยอะ(คนเยอะ)
- การทำงานแบบกลุ่ม ถ้ามีจำนวนมาก ก็ไม่มีความหมาย (แต่ก่อนทำกันแค่ 2-3 คน) ทำให้ได้รับความรู้ไม่ทั่วถึง -บางวันจำนวนนศ. มีมากกว่าจำนวนผู้ป่วย น่าจะมีการจัดกลุ่ม โดยจำนวนคนน้อยกว่านี้กลุ่มละไม่เกิน 10 คน ในกรณีที่นักศึกษามีจำนวนมากน่าจะมีการจัดหาแหล่งฝึกอื่น ๆ มาเพิ่มเติม
- กลุ่มในการทำกิจกรรมผู้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมคือ 5-6 คน ที่ผ่านมานศ.มากเกินไป ทำงานไม่รู้หน้าที่ของตนเอง หรือคนที่เป็น observe ก็เหมือนไม่ได้ทำเองไปเลย
- มีจำนวนนักศึกษามากเกินไป จึงทำให้ภาระหน้าที่งานลดลง และไม่ทั่วถึง จึงจำเป็นให้ขึ้นปฏิบัติงานแต่พอเหมาะสม
2. ความคิดเห็นในประเด็นการแบ่งกลุ่มนักศึกษา
- ไม่อยากให้อาจารย์เรียงกลุ่มเป็นเลขที่ต้องการให้สุ่มเลขที่ด้วยการมาอยู่ด้วยกันจะได้เจองานหลากหลายอยู่กลุ่มเดิมเริ่มเห็นพฤติกรรมที่ไม่ดีหมดแล้ว
3. ความคิดเห็นในประเด็นแหล่งฝึก
- OPD จิตเวช สามารถทำให้ได้เจอโรคที่หลากหลายมากที่สุด เจอโรคแล้วนำมาเป็น plan แบบ oral test จะช่วยให้ประเมินถึงความเข้าใจของนศ.มากที่สุด
- การฝึกสูติกรรม และ สถานพินิจเป็นสถานที่ดี ได้ประสบการณ์จาก case จริง ๆ
- ต้องการให้มีการฝึกที่ OPD ประมาณ 1 สัปดาห์. เพราะได้เจอโรคที่หลากหลายมากกว่าที่ตึก และฝึกให้มีการสังเกต การซักประวัติคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นได้ดีกว่าที่ตึกมีการ Dx. โรคไว้แล้วค่ะ
- จากข้อความที่อ่านมาข้างต้นคือการวางแผนจัดให้ได้ประสบการณ์ทั้งจิตเวชชุมชน หอผู้ป่วยจิตเวช และOPDจิตเวช ดิฉันเห็นด้วยค่ะ จะเป็นประโยชน์กับรุ่นน้องมาก
4. ความคิดเห็นในประเด็นระยะเวลาในการฝึก
- OPD จิตเวช ที่ให้ฝึก1 สัปดาห์ เพราะจะได้เรียนรู้ วินิจฉัยโรคในขั้นต้นที่หลากหลายได้ชัดเจน เพราะตอนมา OPD ยังคงมีอาการของโรคเด่นชัดอยู่
- การฝึกแยกเทอมครั้งละ2 สัปดาห์ เหมือนกับว่าจะเริ่มเรียนรู้แล้วเปลี่ยนตึก ควรฝึกต่อเนื่องไปเลย 4 สัปดาห์
- เนื้อหาของทั้ง 2 เทอม ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงน่าจะขึ้นฝึกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน จึงจะได้ฝึกอย่างเต็มที่
- อยากให้อาจารย์จัดประสบการณ์ให้รุ่นน้องต่อไปติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เพราะจะทำให้ปรับตัวได้ต่อเนื่องและได้เรียนรู้มากกว่าการฝึก 2 สัปดาห์ เพราะเหมือนเริ่มใหม่
-การจัดฝึกประสบการณ์ควรแบ่งเป็นฝึกจิตเวชและชุมชน 1 สัปดาห์ เวรเช้า 1 สัปดาห์ บ่าย 2 วัน ดึก 2 วัน OPD จิตเวช 1 สัปดาห์
5. ความคิดเห็นในประเด็น Requirement
- การ present case study เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ดีค่ะ น่าจะมีเวลาเยอะ ๆ
6. ความคิดเห็นในประเด็นการจัดการเรียนการสอน
- เวรเช้าต้องการให้มีอาจารย์ขึ้นไป conference กับนักศึกษาทุกวัน สะท้อนการเรียนรู้ได้ดี จะทำให้เข้าใจ จดจำรายละเอียดและทฤษฎีได้ดี
- การเรียนการสอนที่ตึกจิตเวช คิดว่าก่อนฝึกต้องมีการ conference ก่อนจะเป็นสิ่งที่ดี
7. ความคิดเห็นในประเด็นการติว (การเตรียมความพร้อมก่อนการสอบขึ้นทะเบียนรับใบประกอบวิชาชีพ
- การแบ่งกลุ่มอ่อนแยกติวต่างหากคิดว่าไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้นักศึกษารู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น ทำให้เกิดการแบ่งแยก แบ่งชนชั้นกัน และเกิดความขัดแย้งกันภายในจิตใจและส่งผลให้การเรียนรู้ไม่ดีอย่างที่คาดไว้ จึงคิดว่ารวมกลุ่มกันจะดีกว่า
- การจัดติวเพื่อสอบสภาควรจะมีตัวอย่าง แล้วรวมกันอภิปราย
8. ความคิดเห็นในประเด็นสื่อการเรียนการสอน
- ต้องการให้มีหนังสือจิตเวชที่ทันสมัยมากกว่านี้
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิเคราะห์แบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต พบว่า รายการประเมินที่นักศึกษาเห็นด้วยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ1. คุณสมบัติและ ความรู้ความสามารถของอาจารย์จิตเวชที่นิเทศโดยตรง
(อ.วราภรณ์ อ.โศภิณศิริ อ.อรัญญา อ.มงคล อ. ลลนา) และ การปฐมนิเทศการฝึกภาคปฏิบัติโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา (Mean 4.4 SD 0.72 และ 0.66 ตามลำดับ)
อันดับ3. การปฐมนิเทศการฝึกภาคปฏิบัติโดยพยาบาลหัวหน้าตึก ( Mean 4.39 SD 0.68 )
อันดับ4. ประสบการณ์และกระบวนการเรียนการสอนในเวรเช้าOPDจิตเวช ( Mean 4.33 SD 0.63 )
อันดับ5. วิธีการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดวิจารณญาณ เช่นการใช้คำถามกระตุ้นการคิด การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และซักถาม ( Mean 4.26 SD 0.68 )
และ การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ได้ปฏิบัติประสบการณ์จริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ( Mean 4.25 SD 0.68 )
และพบว่า รายการประเมินที่นักศึกษาเห็นด้วยน้อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ1. จำนวนผู้เรียนกลุ่มละ 16-18 คน ( Mean 3.03 SD 1 )
อันดับ2. การแบ่งฝึกในเทอม 3 ปี 3 จำนวน 2 สัปดาห์และเทอม1 ปี4 อีก 2สัปดาห์ ( Mean 3.18 SD 1.11 ) แทนที่จะฝึก 4 สัปดาห์ในเทอม 3 ปี 3 เพียงครั้งเดียว
อันดับ3. อัตราส่วนอาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา 1 ต่อ 9 ( Mean 3.57 SD 0.96 )
อันดับ4. มีสื่อการสอน เช่น ผู้ป่วย เอกสารประกอบการสอน หนังสือในห้องสมุด ที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้และเพียงพอ ( Mean 3.73 SD 0.85 )
อันดับ5. ความเหมาะสมของแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ในส่วนตึกสูติกรรม 1 ( Mean 3.75 SD 0.79 )
การนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตในปีการศึกษา 2554
โดยในปีการศึกษา 2554 ได้วางแผนการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติรอบเดียวติดต่อกัน 4 สัปดาห์ โดยฝึกจิตเวชชุมชนจำนวน 2 สัปดาห์ ฝึกในหอผู้ป่วยจิตเวชเวรเช้า 1 สัปดาห์ และเวรบ่าย (13.00-24.00 น.) 1 สัปดาห์ เนื่องจากจากการร่วมวางแผนการฝึกกับแหล่งฝึกในชุมชน ได้ข้อสรุปว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มควรฝึกในชุมชนไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์จึงจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อนักศึกษาและชุมชน
2. จำนวนนักศึกษาต่อกลุ่มไม่เกินกลุ่มละ 9 คน
3. จำนวนอาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา ไม่เกิน1 ต่อ 9 คน โดยใช้อาจารย์นิเทศที่มีประสบการณ์ด้านการพยาบาลจิตเวชทั้งหมดจำนวน 5 คน
4. จำนวนนักศึกษาต่อกลุ่มในการทำcase study กลุ่มละ4-5 คน
5. จำนวนนักศึกษาต่อกลุ่มในการจัดกิจกรรมกลุ่มบำบัด กลุ่มละ4-5 คน
6. ยังคงการปฐมนิเทศอ่อนการฝึกภาคปฏิบัติโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศ และพี่หัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช และหัวหน้าสถานีอนามัยที่เป็นแหล่งฝึก
7. ยังคง Requirement การเขียนรายงานสนทนาเพื่อการบำบัด การทำ case study และการจัดกิจกรรมกลุ่มบำบัด
8. มีการเพิ่มหนังสือใหม่เกี่ยวกับการพยาบาลจิตเวชในห้องสมุดทั้งภาษาไทยและ Text book (บรรณรักษ์ห้องสมุดบอกว่าเป็นหนังสือจิตเวชเป็นหนังสือที่มีผู้เขียนน้อย หายาก)
9. การแบ่งกลุ่มนักศึกษาจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่จะฝึกภาคปฏิบัติวิชา พย.1320 ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นว่าควรจัดเรียงตามเลขที่หรือจะใช้วิธีอื่นจึงจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
10. เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแบ่งกลุ่มอ่อนในการติววิชาการการพยาบาลจิตเวช ( เห็นด้วยในระดับดี Mean 3.77 SD 1.02 ) มีนักศึกษาเพียง 1 คน (ไม่ทราบว่าเป็นนักศึกษาที่ผลการเรียนวิชาจิตเวชดีหรือไม่ดี) ที่เขียนแสดงความคิดเห็นว่าการแยกกลุ่มอ่อนออกมาติวต่างหากไม่เหมาะสม ดังนั้นในการติวของนักศึกษารุ่นนี้(ปีการศึกษา 2553)จึงได้มีการแบ่งเป็นกลุ่มอ่อนและกลุ่มปกติ(แต่ให้สิทธ์นักศึกษากลุ่มอ่อนแต่ละคนว่าจะเลือกเข้ากลุ่มใด ไม่บังคับ และพบว่านักศึกษากลุ่มอ่อนทุกคนสมัครใจเข้าติวในกลุ่มอ่อน)
หมายเหตุ ในโครงการติว และในการพบนักศึกษา ผู้รับผิดชอบและอาจารย์จะใช้คำว่ากลุ่มพิเศษแทนกลุ่มอ่อน เพื่อไม่ให้นักศึกษากลุ่มอ่อนรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง