สรุปความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 5

ชื่อ-สกุล อ.ยศพล  เหลืองโสมนภา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ(ด้านการสอน)

สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก  ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

เข้าร่วมประชุม โภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 5

วัน เดือน ปี 5 – 7 กันยายน 2554

หน่วยงานที่จัด สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ

สถานที่จัด ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค  บางนา  กรุงเทพมหานคร

รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. อ. สุชาดา  นิ้มวัฒนากุล
  2. อ. สาคร พร้อมเพราะ
  3. อ. คงขวัญ  จันทรเมธากุล
  4. อ. สุปราณี  ฉายวิจิตร์
  5. อ. นวนันท์  ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. รัชสุรีย์  จันทเพชร
  7. อ. วารุณี  สุวรวัฒนกุล
  8. อ. จริยาพร  วรรณโชติ
  9. อ. พจนาถ  บรรเทาวงษ์
  10. อ. ศศิโสภิต แพงศรี
  11. อ. สุภา  คำมะฤทธิ์
  12. อ. อรพรรณ  บุญลือ
  13. ดร. ศรีสุดา  งามขำ
  14. อ. คนึงนิตย์   พงษ์สิทธิถาวร
  15. ดร. ทองสวย สีทานนห์
  16. อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
  17. อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้   8 กันยายน 2554

 

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

     ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมาก  โดยเฉพาะหลังเกิดวิกฤติด้านอาหาร(Food crisis) ในช่วงปลายปีพ.ศ 2551  ต่อเนื่องจนถึงกลางปีพ.ศ 2552  ซึ่งธัญพืชโดยเฉพาะข้าวมีราคาสูงขึ้นมากและเป็นไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น   ทำให้หลายประเทศผู้ผลิตหวั่นวิตกถึงความขาดแคลนอาหารภายในประเทศ จนถึงกับมีบางประเทศห้ามส่งออกข้าวเลยทีเดียว    สำหรับประเทศไทยนั้น อยู่ในสถานภาพผู้ผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรและอาหารเป็นลำดับต้นๆของโลก  หากมองในภาพรวมแล้วไทยไม่น่ามีปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร   แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมด้านความต้องการอาหาร  และความสามารถในการผลิตอาหารอย่างรอบคอบแล้ว    ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องความความมั่นคงด้านอาหารไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ  เพราะความต้องการด้านอาหารของประเทศไทยย่อมมากขึ้นด้วยจากสาเหตุต่างๆเช่น  จำนวนประชาการที่เพิ่มขึ้น   การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคจากบริโภคพืชโดยตรงมาเป็นการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น  ซึ่งทำให้ต้องเร่งการผลิตอาหารจำพวเนื้อสัตว์มากขึ้นตามไปด้วย   หรือปัญหาของภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดการเสียหายของอาหารที่เพาะปลูกได้ดังข่าวที่ปรากฏในปัจจุบัน   การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเช่น   ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของไทย  การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหาร  รวมถึงการเสนอทางรอดของประเทศไทยเรื่องความมั่นคงด้านอาหารด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

     นอกจากนี้การประชุมยังได้นำเสนอความมั่นคงทางอาหารในระดับต่างๆอย่างชัดเจนได้แก่   ความมั่นคงด้านอาหารระดับนานาชาติและระดับประเทศ    ความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน   การพัฒนางานโภชนาการสู่ความเสมอภาคและยั่งยืน     รวมถึงมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร  และงานวิจัยด้านโภชนาการต่างๆด้วย     ที่สำคัญอีกประการคือการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอ  กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่ปีพ.ศ 2555 – พ.ศ 2559  ที่มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่   ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร   ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย  ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษา  และยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ  ซึ่งในส่วนของการศึกษาพยาบาลน่าจะมีความเกี่ยวข้องในยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย  ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษา  เช่นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนทั้งผู้ที่ยังไม่ป่วยและป่วยแล้ว    ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาท่านใดสนใจดูรายละเอียดเอกสารประกอบการประชุมทั้งหมด  สามารถขอดูได้ที่ผู้เขียน

Tags: ,

การอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่ ครั้งที่ 3

การจัดการความรู้ด้านการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

การอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2554 เวลา 15:30-17:00 น.

ประธานการประชุม: อ.ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์

2. อ.ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม

3. อ.คณิสร แก้วแดง

สาระสำคัญของการเรียนรู้จากการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่

กระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่ในขณะดำเนินการวิจัย ซึ่งทีมอาจารย์  พี่เลี้ยงได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ การเข้ารับการอบรมเชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอก และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมอาจารย์พี่เลี้ยง สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ [...]

Tags: , , , , ,

ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย

สรุปความรู้จากการเข้าอบรม : ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย

ชื่อ-สกุล ดร กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา/งาน การพยาบาลสูติศาสตร์

วัน/เดือน/ปี 17-19 สิงหาคม 2554

หน่วยงานที่จัด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่ อิมแพค เมืองทองธานี

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

ควงคู่ไปฝากท้อง ลูกเราสองปลอดภัย เป็นโครงการนำร่องของกรมอนามัย โดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ(UNFPA) ได้ดำเนินงาน ในปี 2550-2554 เพื่อสร้างรูปแบบบริการ ที่ส่งเสริมบทบาทให้ ผู้ชาย (สามี) มีส่วนร่วมในการป้องกัน HIV และการดูแลสุขภาพมารดาและทารก

การมีส่วนร่วมของผู้ชาย ในฐานะหุ้นส่วนของมารดา สามารถทำได้โดย [...]

Tags: , , , ,

การสร้างเสริมศักยภาพผู้นำพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

สรุปความรู้ที่ได้รับจาการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

………………………………………………………………………….

ชื่อ-สกุล นางทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมการประชุมเรื่อง การสร้างเสริมศักยภาพผู้นำพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

วัน/เดือน/ปี รุ่นที่ 3   วันที่  3-5  สิงหาคม 2554

หน่วยงานที่จัด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

สถานที่ ห้องประชุมอาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

ในหัวข้อแรกเป็นการปลุกพลังพยาบาลเพื่อการพัฒนา  โดยวิทยากรพยายามชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันวิชาชีพพยาบาลถึงแม้จะมีจำนวนมากขึ้นแต่ไม่มีอำนาจต่อรองในสังคมมากขึ้น กลับมีคดีฟ้องร้องมากขึ้น พยาบาลทุกคนควรกลับมารวมพลัง ปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล  ใช้กระบวนการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพเพราะตามกฎหมายแล้ววิชาชีพพยาบาลต้องปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลและมาตรฐานการพยาบาลที่กำหนดไว้  ปฏิบัติงานตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด  มิฉะนั้นแล้วถ้ามีการผิดพลาดเกิดขึ้น ถูกฟ้องร้องจากผู้รับบริการยากที่จะพ้นผิด เพราะปัจจุบันการฟ้องร้องคดีทางสาธารณสุขมักเป็นคดีแพ่งคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2550  โอกาสชนะคดีน้อยมาก ไม่เกินร้อยละ 10 เพราะเปลี่ยนจากฝ่ายโจทก์เป็นผู้หาพยานหลักฐานมายืนยัน  กลายเป็นฝ่ายจำเลยที่ต้องหาพยานหลักฐานมายืนยันว่าตัวเองไม่ผิด เช่น ไม่ผิดตามขอบเขตของกฎหมายหรือไม่ผิดตามหลักวิชาการหรือไม่ผิดตามมาตรฐานการพยาบาลที่กำหนด ซึ่งตอกย้ำให้พยาบาลทุกคนต้องกลับมาทบทวน การปฏิบัติงานของตนเอง ให้ปลอดภัยจากการฟ้องร้อง ซึ่งแม้จะมีคำสั่งให้ทำแต่ถ้าไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายก็เสี่ยงต่อความผิด พยาบาลควรปฏิบัติงานตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด  เมื่อเกิดกรณีฟ้องร้องสิ่งแรกที่จะใช้เป็นพยานเอกสารก็คือ การบันทึกรายงานหรือ nurse note   ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเขียน nurse note  ให้ครอบคลุมกระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมที่ปฏิบัติจริง  เน้นมีการประเมินผู้รับบริการก่อนรับงาน  มีการประชุมปรึกษาก่อนการปฏิบัติงาน มีการนิเทศทางการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพทุกระดับ   ระวังการปฏิบัติตามจริยธรรมแต่ผิดกฎหมาย  ควรให้ถูกทั้งจริยธรรมและกฎหมาย  ตัวอย่างกรณีศึกษา ถ้าไม่มีแผนการรักษา  retained  foley’s catheter   พยาบาลจะทำไม่ได้   ถ้าโรงพยาบาลเอกชน ให้พยาบาลเจาะ  Arterial    blood  gas พยาบาลมีสิทธิ์ปฏิเสธ เพราะผิดกฎหมาย    ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานในเวรที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลของรัฐ  ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องพยาบาลได้ต้องฟ้องหน่วยงานหรือองค์กร  หลังคดีเสร็จหน่วยงานจะเรียกร้องค่าเสียหายจากพยาบาลหรือไม่  ขึ้นอยู่ว่าเป็นการปฏิบัติโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่  แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนแม้ประมาทเลินเล่อธรรมดาก็สามารถไล่เบี้ยกับพยาบาลได้    ถ้าออกเวรแล้วทำผิดพลาด  ตัวพยาบาลต้องรับผิดชอบเอง  เหมือนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนที่ทำสัญญาเป็นการจ้างงาน   ไม่ใช่พนักงานขององค์กร [...]

Tags: ,

สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

………………………………………………………………………….

ชื่อ-สกุล นางทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์ และ ดร.กมลทิพย์  ตั้งหลักมั่นคง

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์

ชื่อ-สกุล นางนันทวัน  ใจกล้า  ดร.พรฤดี    นิธิรัตน์ และนางจารุณี   ตฤณมัยทิพย์

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา อนามัยชุมชนและจิตเวช

เข้าร่วมการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ครั้งที่ 4

วัน/เดือน/ปี วันที่  17-19  สิงหาคม 2554

หน่วยงานที่จัด กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่ Hall  9  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค  เมืองทองธานี  จังหวัดนนทบุรี

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนาวิชาการในการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ภายใต้ 6 เรื่องหลักเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพคนไทยให้มีสุขภาพดีและมีการจัดการอนามัยสี่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ได้แก่ 1)สุขภาพช่องปากกับสุขภาพองค์รวม : ปริทันต์อักเสบในหญิงตั้งครรภ์กับความเสี่ยงการเป็นเบาหวานและน้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย ซึ่งพบว่าโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์สามารถก่อให้เกิดอันตรายทั้งมารดาและทารก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการดูแลรักษาเบาหวานที่ดียิ่งขึ้นก็ตาม ความสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่สตรีตั้งครรภ์ไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง หรือตรวจวินิจฉัย ทำให้ไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรกจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานจากงานวิจัยในปัจจุบันเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเป็นโรคปริทันต์ในหญิงตั้งครรภ์ กับภาวะการตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการคลอดบุตรก่อนกำหนด ภาวะเด็กแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย กรมอนามัยจึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์ และแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมารับบริการตรวจและรักษาทางทันตกรรมด้วย [...]

Tags: ,