สรุปความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 5
ชื่อ-สกุล อ.ยศพล เหลืองโสมนภา
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ(ด้านการสอน)
สังกัดภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
เข้าร่วมประชุม โภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 5
วัน เดือน ปี 5 – 7 กันยายน 2554
หน่วยงานที่จัด สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ
สถานที่จัด ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
รายชื่ออาจารย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- อ. สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
- อ. สาคร พร้อมเพราะ
- อ. คงขวัญ จันทรเมธากุล
- อ. สุปราณี ฉายวิจิตร์
- อ. นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล
- อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร
- อ. วารุณี สุวรวัฒนกุล
- อ. จริยาพร วรรณโชติ
- อ. พจนาถ บรรเทาวงษ์
- อ. ศศิโสภิต แพงศรี
- อ. สุภา คำมะฤทธิ์
- อ. อรพรรณ บุญลือ
- ดร. ศรีสุดา งามขำ
- อ. คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
- ดร. ทองสวย สีทานนห์
- อ. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
- อ. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8 กันยายน 2554
สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับ
ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะหลังเกิดวิกฤติด้านอาหาร(Food crisis) ในช่วงปลายปีพ.ศ 2551 ต่อเนื่องจนถึงกลางปีพ.ศ 2552 ซึ่งธัญพืชโดยเฉพาะข้าวมีราคาสูงขึ้นมากและเป็นไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ทำให้หลายประเทศผู้ผลิตหวั่นวิตกถึงความขาดแคลนอาหารภายในประเทศ จนถึงกับมีบางประเทศห้ามส่งออกข้าวเลยทีเดียว สำหรับประเทศไทยนั้น อยู่ในสถานภาพผู้ผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรและอาหารเป็นลำดับต้นๆของโลก หากมองในภาพรวมแล้วไทยไม่น่ามีปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมด้านความต้องการอาหาร และความสามารถในการผลิตอาหารอย่างรอบคอบแล้ว ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องความความมั่นคงด้านอาหารไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ เพราะความต้องการด้านอาหารของประเทศไทยย่อมมากขึ้นด้วยจากสาเหตุต่างๆเช่น จำนวนประชาการที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคจากบริโภคพืชโดยตรงมาเป็นการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องเร่งการผลิตอาหารจำพวเนื้อสัตว์มากขึ้นตามไปด้วย หรือปัญหาของภัยธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดการเสียหายของอาหารที่เพาะปลูกได้ดังข่าวที่ปรากฏในปัจจุบัน การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเช่น ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของไทย การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหาร รวมถึงการเสนอทางรอดของประเทศไทยเรื่องความมั่นคงด้านอาหารด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้การประชุมยังได้นำเสนอความมั่นคงทางอาหารในระดับต่างๆอย่างชัดเจนได้แก่ ความมั่นคงด้านอาหารระดับนานาชาติและระดับประเทศ ความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน การพัฒนางานโภชนาการสู่ความเสมอภาคและยั่งยืน รวมถึงมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร และงานวิจัยด้านโภชนาการต่างๆด้วย ที่สำคัญอีกประการคือการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่ปีพ.ศ 2555 – พ.ศ 2559 ที่มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษา และยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งในส่วนของการศึกษาพยาบาลน่าจะมีความเกี่ยวข้องในยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษา เช่นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนทั้งผู้ที่ยังไม่ป่วยและป่วยแล้ว ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาท่านใดสนใจดูรายละเอียดเอกสารประกอบการประชุมทั้งหมด สามารถขอดูได้ที่ผู้เขียน
อาจารย์ไปกันกี่คน
เค้าให้ความสำคัญมากทางใต้ยังต้องเร่งมือในเรื่องนี้ด้วย เพราะอนาคตเด็กไทยจะได้รับสารอาหารไม่ครบ5หมู่
ไปคนเดียวครับ แต่กลับมาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ในภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เรื่องนี้ตอนนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้วด้วยเรื่องอาหารแพง บางที่ได้รับไม่พอกิน หรือได้กินก็เป็นอาหารไม่มีคุณภาพ ต่อไปคือคนไทยก็จะมีการทำงานของร่างกายที่ลดลงจากอาหารที่ไม่มีคุณภาพได้โดยเฉพาะการทำงานของสมอง
คิดว่าบางที่อาต้องมีการควบคุมคุณภาพและปริมาณข้าวให้ดีกว่านี้ค่ะ
แล้วช่วงนี้มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมด้วยอาจมีปัญหาที่ปริมาณข้าวลดลงและด้วยคุณภาพนะคะ
เรื่องกินเรื่องใหญ่…สมดังคำกล่าวแต่โบราณจริงๆ…อยากให้นักศึกษาพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยคำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก จากการนิเทศนักศึกษาพยาบาลบางคนยังไม่เห็นความสำคัญเรื่องภาวะโภชนาการของผู้ป่วย แท้จริงแล้วหากผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีประโยชน์เขาก็จะหายจากโรคได้เร็วขึ้น ในผู้ป่วยเด็กที่เคยให้การพยาบาลสามารถหายจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วมากเมื่อเริ่มกินอาหารได้ สุขภาพแข็งแรงกลับบ้านได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งคิดว่าทุกชีวิตเหมือนกันอยู่ได้เพราะอาหารจึงเป็นสิ่งทุกคนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
น่าจะนำมาสอดแทรกกับวิชาการพยาบาลดว้ย หลังจากเรียนการจัดอาหารจำเพาะโรคมาแล้ว โดยกำหนดจุดประสงค์ท้ง ด้านอาหารศึกษา (สารอาหาร จำเป็น แคลอรี)และด้านคุณภาพเช่นผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง๐
ต้องการทราบถึงโภชนาการหรืออาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤษ มีกล่าวถึงบ้างหรือเปล่่าคะ
รับประทานอาหารได้หรือไม่สำคัญกว่าคือการรับประทานอะไร อย่างไร ในยุคที่เกิดอุทกภัยอย่างหนักในเขตพื้นที่เกษตร การจัดการเรื่องอาหารสำคัญมากนอกจากแพงแล้ว ยังขาดแคลนมากอีกด้วย การวางแผนการดูแลของประชาทั้งปกติและเจ็บป่วยต้องมีการวางแผนที่ดี ทั้งระยะเร่งด่วนและในระยะยาว