การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)

 

ผู้เขียน  อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

5. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

 

ภาวะตกเลือดหลังคลอด  เป็นสาเหตุการตายของมารดาหลังคลอดทั่วโลกประมาณ 1.5 แสนราย  สาเหตุของการตกเลือดมีหลายสาเหตุเช่น ตั้งครรภ์มากว่า 4ครั้ง มดลูกยืดขยายมาก ทารกตัวโต การคลอดยาวนาน หรือพบแม้ในมารดาที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น  องค์การอนามัยโลกได้ใช้ Active management of the third oh labor  พบว่าสามารถลดการเกิด PPH ได้มากว่าร้อยละ 60

หลักการวินิจฉัยและการดูแลพยาบาล  : PPH วินิจฉัยได้โดยมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 4 ประการ(4Ts) คือ Tone, Trauma, Tissue, Thrombin-Bleeding Disorders

 

Update Postpartum Hemorrhage : Labor management at Khonkhaen hospital

         

          การตกเลือดหลังคลอดองค์การอนามัยโลกกำหนดตัวชี้วัดไม่เกินร้อยละ 2 โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นกำหนดไม่เกินร้อยละ 5 พบสาเหตุที่เกิดPPH ในโรงพยาบาลจาก 4 สาเหตุ คือ การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี การฉีกขาดของช่องทางคลอด รกหรือเศษรกค้างและความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด

กระบวนการดูแลเริ่มตั้งแต่ในการคัดกรองภาวะเสี่ยงในระยะฝากครรภ์ การติดตามและแก้ไขความเข้มข้นของเม็ดเลือด  แต่มักมีปัญหาบางรายฝากครรภ์ช้าจึงได้รับการคัดกรอง  เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดจะมีการคัดกรองตามแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใช้หลัก AMTSLมาใช้ในกระบวนการคลอด  และเมื่อเกิดการตกเลือดหลังคลอดก็จะใช้ Clinical practice guideline : prevention and management of postpartum hemorrhage เมื่อได้ให้การดูแลตามสถานการณ์ต่างๆพบประเด็นความท้าทายทางการพยาบาลดังนี้

1.บริบทและระบบการให้การบริการของห้องคลอด : ปรับรูปแบบการปฏิบัติงานให้ขัดเจนและสะดวกต่อการใช้  ใช้ Flow chart update on postpartum hemorrhage ซึ่งใช้สัญลักษณ์สีเข้ามาช่วยให้เห็นบทบาทและการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น

2.สมรรถนะของพยาบาลห้องคลอด : พยาบาลในห้องคลอดสามารถตัดสินใจให้การดูแลรักษาระหว่างรอแพทย์โดยใช้ CPG มารองรับและเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน  ต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญและมีการประเมินทักษะอย่างต่อเนื่อง

3.บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์  : ห้องคลอดได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนระบบการดูในระยะที่ 3 ของการคลอด (เป็นระยะที่ให้การพยาบาล skin to skin contract) โดยลงมือปฏิบัติเชิงรุกผ่านโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว  พยายามปรับผังการดูแลคัดกรองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและเหมาะสม

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์ (ประวัติการเขียน 5 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags:

Comments are closed.