การจัดการตนเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2

Tags:

CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการประชุมของ CoP การจัดการตนเอง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง

ครั้งที่ 1 วันที่ 21 เดือน กุมภาพันธ์ พศ. 2556 ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ เวลา 15.30 – 16.30 น.

  1. เรื่อง ปัจจัยสนับสนุนให้การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อการควบคุมน้ำหนัก ประสบความสำเร็จ
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมให้ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ที่เข้าร่วมโครงการ หนึ่งคืน สองวัน สร้างสรรค์สุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย จนกระทั่งสามารถลดน้ำหนักลงได้ (ในช่วงเวลา 2 เดือน ของการเข้าร่วมโครงการ)
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ..13……. คน ได้แก่

1. นางสาวพรฤดี  นิธิรัตน์            ประธาน

2. นางสาวมัณฑนา เหมชะญาติ      สมาชิก

3. นางพัทธยา  เกิดกุล                สมาชิก

4. นางจารุณี  ตฤณมัยทิพย์           สมาชิก

5. นางรัชชนก สิทธิเวช               สมาชิก

6. นางนันทวัน  ใจกล้า               สมาชิก

7. นางราตรี  อร่ามศิลป์              สมาชิก

8. นางสาวเพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์       สมาชิก

9. นางขนิษฐา  เมฆกมล              สมาชิก

10. นางสาวจิตติยา  สมบัติบูรณ์     สมาชิก

11. นางสาวจีรภา  ศรีท่าไฮ           สมาชิก

12. นางสาวสายใจ   จารุจิตร        สมาชิก

13. นางจันทรมาศ  เสาวรส           สมาชิก

 


กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ [...]

Tags: , , ,

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 2 – ปัญหานมแม่…แก้ไขได้

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
ครั้งที่ 2 วันที่  26เมษายน 2556    เวลา 10.00 – 10.40น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
  จันทบุรี 

1. เรื่อง“ กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”
2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้”
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน   11 คน  ได้แก่
1. นางขนิษฐา                    เมฆกมล          ประธานกลุ่ม
2. นางจันทร์เพ็ญ                 อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม
3. นางอารีรัตน์                   วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม
4. นางธนพร                               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม
5. นางทิพวรรณ                  ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม
6. นางจันทรมาศ                 เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม
7. นางสาวเพ็ญนภา              พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม
8. นางสาวจรัญญา               ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม
9. นางสาวกรรณิการ์            แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม
10.นางสาวกฤษณี                สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม
11.นางสาวจารุวรรณ์            ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันเสนอประเด็นในการทำโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมและนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล โดยสมาชิกกลุ่มสรุปว่าควรที่จะเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อยให้ได้ 6 เดือน นั้นก็คือเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวนม เต้านม และการให้นมของมารดาหลังคลอดที่กลับบ้านไปแล้ว
ดังนั้น ภาควิชาได้เห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดทำสื่อ เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” เพื่อใช้เผยแพร่สู่ผู้ที่สนใจต่อไป นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การปฎิบัติตนที่ถูกต้อง  ซึ่งทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จได้

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
-
การเลือกหัวข้อที่ใช้ในการทำบทโทรทัศน์ทางไกลต้องเลือกเรื่องที่คิดว่าเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจริงพบได้บ่อย และเป็นที่น่าสนใจของคนทุกกลุ่มรวมถึงต้องเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย เห็นเป็นรูปธรรม  ประกอบกับใช้รูปภาพที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
- การจัดทำโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” หรือเป็นโครงการอื่นๆก็ตาม ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหลากหลายฝ่าย พร้อมทั้งยังต้องมีการประสานงานที่ดี ทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าใจตรงกัน ส่งผลให้งานบรรลุเป้าหมาย

การนำไปใช้
ภาควิชาหรือผู้ที่สนใจ สามารถนำวีดีทัศน์ เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” ไปใช้เป็นสื่อในการสอนนักศึกษาพยาบาลในภาคการเรียนทฤษฎี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ วิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ในรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา เพิ่มความสนใจและการเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากยิ่งขึ้น
จบการประชุมครั้งที่ 2 เวลา 10.40 น
อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง ผู้บันทึก

Tags: , ,

พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก

“ พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก ”

               จัดการความรู้จากการประชุม ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ  โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย

ผู้ร่วมจัดการความรู้

1. นางสาวศรีสกุล   เฉียบแหลม                ประธานและผู้เขียน

2. นางสาวจิตติยา   สมบัติบูรณ์                 กรรมการ

3. นางสาวพุฒตาล   มีสรรพวงษ์                 กรรมการ

4. นายภโวทัย        พาสนาโสภณ              กรรมการ

5. นางรัชชนก        สิทธิเวช                    กรรมการ

6. นางสุมาลี         ราชนิยม                             กรรมการ

7. นางสาวคณิสร    แก้วแดง                    กรรมการ

8. นางสาวนิศารัตน์  รวมวงษ์                    กรรมการ

9. นางสาวบุษยารัตน์  ลอยศักดิ์                 กรรมการ

10.นางสาวจันจิรา   หินขาว                     กรรมการ

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)   กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย  สิงค์โปร์   อินโดนีเซีย  บรูไน  เวียดนาม   กัมพูชา   และพม่า  รวม  10 ประเทศ

อาเซียนบวก (ASEAN Plus)  หมายถึงอะไร

ASEAN + 6  คือ  กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ บวกกับ  ประเทศจีน  อินเดีย  ญี่ปุ่น

เกาหลี    ออสเตรเลีย   และนิวซิแลนด์

ASEAN + 8        เพิ่มประเทศรัสเซีย  และอเมริกา

 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน    มีดังนี้

1.  เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง   การส่งเสริมประชาธิปไตย  หลักนิติรัฐและการเคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน  การระงับข้อพิพาทในภูมิภาคด้วยสันติวิธี

2.  สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคงทางการเงิน

3.  พัฒนาและลดความยากจน  ลดช่องว่างของระดับการพัฒนา เสริมสร้างให้เป็นสังคมเอื้ออาทร อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความรับผิดชอบต่อสังคม

[...]

Tags: , , , ,

การจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

 เรื่อง“การจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา”

วันที่ 4-5 เมษายน 2556  ณ อิงธารรีสอร์ท จ.นครนายก

หลักเกณฑ์ของการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้หลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

  1. ทบทวนลักษณะวิชาของทุกรายวิชาเพื่อจัดทำเป็น Curriculum Mapping เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวสำหรับการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย ในภาพรวมของ Curriculum Mapping ในทั้ง 6 Domain  ของทุกรายวิชาจะต้องสมดุลกันและในภาพรวมของแต่ละชั้นปี ก็ควรจะต้องสมดุลกันด้วย ซึ่งรวมทั้งหลักสูตรควรจะมีประมาณ 400 Subdomain เฉลี่ยชั้นปีละ 100 Subdomain
  2. วิชาทฤษฎีจะต้องมีครบทั้ง 5 domain ส่วนวิชาปฏิบัติจะต้องมีครบทั้ง 6 domain
  3. การพิจารณาว่า Subdomain ใดเป็นหลักหรือรอง ให้พิจารณาว่าในวิชานั้นๆ มีการเรียนการสอนที่จะทำให้นักศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อนั้นๆได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการวัดและประเมินผลทั้ง Subdomain ที่เป็นหลักและรอง
  4. ในแต่ละวิชา วงกลมดำแต่ละวิชาควรจะมีประมาณ 7-15 วง หรือเฉลี่ยประมาณ 10 ข้อต่อรายวิชา

 

ทั้งนี้การนำข้อมูลของ  Curriculum Mapping มาลงจัดทำเป็น มคอ.3   1  รายวิชา พบว่ามีทั้งวงกลมดำและขาวเกิน 15 วง เมื่อพิจารณาวงกลมดำทั้งหมดทุกชั้นปีรวมกันมีจำนวนมากกว่า 400 วง ดังนี้จึงมีข้อเสนอแนะด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

  1. ฝ่ายวิชาการควรมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนความเข้าใจในการปรับปรุง Curriculum Mapping ใหม่ก่อนจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.4 ในปี 2556
  2. มีการทบทวนแบบฟอร์มของ มคอ.3 และ มคอ.4 ที่ถูกต้องตาม TQF
  3. มีการทบทวนการจัดทำแผนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและภาคทดลอง โดยปรับทั้งแบบฟอร์มและสาระสำคัญที่สอดคล้องกับ มคอ.3 และ มคอ.4
  4. มีการทบทวนความเข้าใจร่วมกันในการพัฒนาบัณฑิตให้เกิดคุณลักษณะตามอัตลักษณ์บัณฑิต (SAP) และเพื่อให้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติจริงเพื่อให้เห็นผลการเรียนรู้จึงเสนอให้เพิ่ม S (Service mind), A (Analytical thinking, P (Participation)  ในการจัดทำตาราง Curriculum Mapping

โดยเพิ่ม S ใน Domain ที่ 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นข้อที่ 1.9

เพิ่ม A ใน Domain ที่ 3 ด้านทักษะทางปัญญา เป็นข้อที่ 3.7

เพิ่ม P ใน Domain ที่ 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ เป็นข้อที่ 4.5

[...]

Tags: , , , ,