กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 2 – ปัญหานมแม่…แก้ไขได้

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
ครั้งที่ 2 วันที่  26เมษายน 2556    เวลา 10.00 – 10.40น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
  จันทบุรี 

1. เรื่อง“ กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”
2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้”
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน   11 คน  ได้แก่
1. นางขนิษฐา                    เมฆกมล          ประธานกลุ่ม
2. นางจันทร์เพ็ญ                 อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม
3. นางอารีรัตน์                   วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม
4. นางธนพร                               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม
5. นางทิพวรรณ                  ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม
6. นางจันทรมาศ                 เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม
7. นางสาวเพ็ญนภา              พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม
8. นางสาวจรัญญา               ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม
9. นางสาวกรรณิการ์            แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม
10.นางสาวกฤษณี                สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม
11.นางสาวจารุวรรณ์            ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันเสนอประเด็นในการทำโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมและนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล โดยสมาชิกกลุ่มสรุปว่าควรที่จะเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อยให้ได้ 6 เดือน นั้นก็คือเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวนม เต้านม และการให้นมของมารดาหลังคลอดที่กลับบ้านไปแล้ว
ดังนั้น ภาควิชาได้เห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดทำสื่อ เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” เพื่อใช้เผยแพร่สู่ผู้ที่สนใจต่อไป นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การปฎิบัติตนที่ถูกต้อง  ซึ่งทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จได้

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
-
การเลือกหัวข้อที่ใช้ในการทำบทโทรทัศน์ทางไกลต้องเลือกเรื่องที่คิดว่าเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจริงพบได้บ่อย และเป็นที่น่าสนใจของคนทุกกลุ่มรวมถึงต้องเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย เห็นเป็นรูปธรรม  ประกอบกับใช้รูปภาพที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
- การจัดทำโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” หรือเป็นโครงการอื่นๆก็ตาม ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหลากหลายฝ่าย พร้อมทั้งยังต้องมีการประสานงานที่ดี ทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าใจตรงกัน ส่งผลให้งานบรรลุเป้าหมาย

การนำไปใช้
ภาควิชาหรือผู้ที่สนใจ สามารถนำวีดีทัศน์ เรื่อง “ปัญหานมแม่…แก้ไขได้” ไปใช้เป็นสื่อในการสอนนักศึกษาพยาบาลในภาคการเรียนทฤษฎี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ วิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ในรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา เพิ่มความสนใจและการเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากยิ่งขึ้น
จบการประชุมครั้งที่ 2 เวลา 10.40 น
อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง ผู้บันทึก

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง (ประวัติการเขียน 12 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: , ,

Comments are closed.