พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก

“ พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก ”

               จัดการความรู้จากการประชุม ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ  โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย

ผู้ร่วมจัดการความรู้

1. นางสาวศรีสกุล   เฉียบแหลม                ประธานและผู้เขียน

2. นางสาวจิตติยา   สมบัติบูรณ์                 กรรมการ

3. นางสาวพุฒตาล   มีสรรพวงษ์                 กรรมการ

4. นายภโวทัย        พาสนาโสภณ              กรรมการ

5. นางรัชชนก        สิทธิเวช                    กรรมการ

6. นางสุมาลี         ราชนิยม                             กรรมการ

7. นางสาวคณิสร    แก้วแดง                    กรรมการ

8. นางสาวนิศารัตน์  รวมวงษ์                    กรรมการ

9. นางสาวบุษยารัตน์  ลอยศักดิ์                 กรรมการ

10.นางสาวจันจิรา   หินขาว                     กรรมการ

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)   กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย  สิงค์โปร์   อินโดนีเซีย  บรูไน  เวียดนาม   กัมพูชา   และพม่า  รวม  10 ประเทศ

อาเซียนบวก (ASEAN Plus)  หมายถึงอะไร

ASEAN + 6  คือ  กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ บวกกับ  ประเทศจีน  อินเดีย  ญี่ปุ่น

เกาหลี    ออสเตรเลีย   และนิวซิแลนด์

ASEAN + 8        เพิ่มประเทศรัสเซีย  และอเมริกา

 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน    มีดังนี้

1.  เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง   การส่งเสริมประชาธิปไตย  หลักนิติรัฐและการเคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน  การระงับข้อพิพาทในภูมิภาคด้วยสันติวิธี

2.  สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคงทางการเงิน

3.  พัฒนาและลดความยากจน  ลดช่องว่างของระดับการพัฒนา เสริมสร้างให้เป็นสังคมเอื้ออาทร อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความรับผิดชอบต่อสังคม

พยาบาลควรมีการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร

ตามที่ ASEAN  Socio-Cultural  Community  Blueprint  2009 – 2015   ได้กำหนดการคุ้มครองและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของพยาบาล  5 ประการ  ได้แก่

1.  การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร

2.  การดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาวะ

3.  การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ

4.  การรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด

5.  การพร้อมรับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

หลักการสำคัญของข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์  (Mutual  Recognition Arrangement : MRA  on Nursing  Service )  มีดังนี้

               1.  เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน  MRA  สามารถเคลื่อนย้ายไปขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศ  ASEAN  อื่นได้

2.  อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตของพยาบาลต่างชาติในกลุ่ม  ASEAN มากขึ้น

3.  พยาบาลต่างชาติที่เข้าทำงานในประเทศอาเซียนอื่น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ของประเทศนั้น ๆ รวมทั้งต้องอยู่ภายในการประเมินขององค์กร/ หน่วยงานของประเทศนั้น

4.  เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพในภูมิภาค  โดยแลกเปลี่ยนข้อมูล/ องค์ความรู้ พัฒนาการฝึกอบรม  แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ

5.  พัฒนาคุณภาพของระบบการศึกษาและการบริการให้มีระดับใกล้เคียงกัน

6.   ให้คำนิยามคำว่า  พยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลร่วมกัน  ดังนี้

—  พยาบาล    หมายถึง    ผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพจากสถาบันที่ได้รับการรับรองและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากองค์กรที่มีอำนาจรับรองของประเทศในกลุ่มอาเซียน

—  การปฏิบัติการพยาบาล   หมายถึง   การให้บริการพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพครอบคลุม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยและการฟื้นฟูสภาพ   ซึ่งรวมการศึกษา

และการวิจัยด้วย

 

—  คุณสมบัติของพยาบาลที่กำหนดใน  MRA

1.  สำเร็จการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษาของประเทศนั้น ๆ

2.  มีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศ ASEAN

3.  มีประสบการณ์การประกอบวิชาชีพในประทศที่รับใบอนุญาต

4.  ไม่มีประวัติการทำความผิดร้ายแรงด้านเทคนิคมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ

5.  ปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวิชาชีพในการขอรับใบอนุญาตการประกอบอาชีพ

6.  ปฏิบัติตามกฎหมายอื่น ๆ ในประเทศที่เข้าไปให้บริการการพยาบาล

 

ภาวะสุขภาพในภาพรวมของอาเซียน   พบว่า  ร้อยละ 60   ประชากรเสียชีวิตจาก  NCD

โดยมีสาเหตุจากการสูบบุหรี่  ดื่ม Alcohol  ขาดการออกกำลังกาย   ดังนั้น  ทุกประเทศในอาเซียนควรดูแล

ผู้ป่วย  NCD  อย่างต่อเนื่อง   โดยเฉพาะ  โรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง  DM ชนิดที่

ไม่ใช่กรรมพันธุ์  โรคมะเร็ง   เป็นต้น

 

5  เรื่องสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพที่อาเซียนต้องร่วมกันดำเนินการ  คือ

1.  การเข้าถึงบริการของผู้ป่วย  DM   Hypertension   (กลุ่ม  NCD)

2.  การควบคุมบุหรี่ – สุรา   โดยเฉพาะควบคุมบุหรี่เถื่อน

3.  การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ( Universal Health Coverage )

4.  การลดปัญหาโรคเอดส์  Triple  Zers  Targets

5.  ความร่วมมือสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนาม

 

ข้อควรคำนึงในการดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรม

พยาบาลควรเน้นการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ( Humanistic care ) ผู้ป่วยเป็น

ศูนย์กลาง  (Patient  center )  และมีจรรยาบรรณวิชาชีพในการพยาบาล  การดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรม

จำแนกตามศาสนา  ดังนี้

ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือ

ศาสนาอิสลาม

ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือ

ศาสนาคริสต์

ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือ

ศาสนาพุทธ

- ซาอุดิอาระเบีย

- คูเวต

- โอมาน

- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

- กาตาร์

- ประเทศแถบตะวันตก  เช่น

อเมริกา   ฝรั่งเศส  แคนาดา

อังกฤษ   อิตาลี   กรีก  สวีเดน

เยอรมนี ฯลฯ

- ไทย

- พม่า

- ลาว

- กัมพูชา

- อินเดีย   ฯลฯ

- บาห์เรน

- อินโดนีเซีย

- มาเลเซีย  ฯลฯ

 

 

 

 

ข้อควรคำนึง

—  ช่วงถือศีลอด : เดือนรอมฎอน

ประกอบพิธีฮัจญ์

- จัดสถานที่ละหมาด

- มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทำพิธี

หรือจัดทำอ่างน้ำสำหรับอาบน้ำ

ละหมาดแบบเคลื่อนที่สำหรับผู้ป่วยที่เคลื่อนที่ลำบาก

- การจัดเตียงผู้ป่วยให้หันศีรษะไปทางนครเมกกะห์ (ทิศตะวันตก)

- ปรับวิธีการจ่ายยาในเดือน

รอมฎอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต

- งดนัดผู้ป่วยนอกในเดือน

รอมฎอน

- การจัดมื้ออาหาร ยา

(Insulin) ในช่วงถือศีลอด

- การดูแลบุคคลหลังเสียชีวิต

ห้ามผ่าศพชันสูตร

— ห้ามถ่ายรูปชาวมุสลิมที่ปิดหน้า-ตา

— ห้ามแตะต้องคัมภีร์อังกุรอาน

— ห้ามทำหมัน  ทำแท้ง

— ต้องทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง

— ห้ามโกนขนถ้าไม่จำเป็น

— ห้ามเรียกเขาว่า “ คนแขก ”

ข้อควรคำนึง

— ก่อนเข้าห้องผู้ป่วยต้องล้างมือ

ให้สะอาด  กล่าวทักทาย แนะนำ

ตัว  ให้นามบัตร  อธิบายให้ผู้ป่วย

เข้าใจก่อนทุกครั้งที่จะให้การพยาบาล

— ถามชื่อก่อนให้ยา ฉีดยา ทำ

หัตถการต่าง ๆ

— มีการวางแผนการดูแลร่วมกับ

ผู้ป่วย  โดยใช้ white  board

เขียนขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยใน

แต่ละวัน (setting  gcal)

— คนญี่ปุ่น ห้ามจ้องตาเขานาน ๆ

(หลีกเลี่ยง eye contact)  ไม่ชอบ

พยาบาลเล็บยาว  ทาเล็บ  ใส่น้ำหอม  รองเท้าไม่สะอาด ไม่ควร

เยี่ยมไข้ด้วยดอกเบญจมาศหรือ

ดอกไม้สีสด

- คนพม่านั่งชักโครกไม่เป็นจะถ่ายลงพื้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ท่านควรปรับตัวและพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง  เพื่อเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน

1.  ปรับแนวคิดเชิงบวกของตนเองเกี่ยวกับ  ASEAN

2.  การฝึกให้วัฒนธรรมคุณภาพเป็นวินัยในการทำงาน

3.  ฝึกทักษะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน

4.  ฝึกทักษะต่าง ๆ ด้านการพยาบาลให้มีฝีมือ

5.  ศึกษาปัญหาสุขภาพของประเทศเพื่อนบ้าน

6.  เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ของประเทศอาเซียนและชาติที่มาใช้บริการ

7.  ใช้  IT   ในการทำงาน

8.  ติดตามข่าวสารของประชาคมอยู่เสมอ

9.  รู้จักสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองของชาติ

10. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

………………………………………………….

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม (ประวัติการเขียน 4 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ


Tags: , , , ,

One Response to “พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก”

  1. ขอขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ สนใจเรื่องนี้มาก และอยากมีส่วนร่วมในการ ลปรร ค่ะ