ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติตามการรับรู้ของนักศึกษา วิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติตามการรับรู้ของนักศึกษา  วิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

ผู้รับผิดชอบ      อาจารย์อรัญญา บุญธรรม

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)           ซึ่งในปีการศึกษา 2556  ผู้รับผิดชอบวิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์รายวิชา รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 6 ด้านเป็นปีแรก ผู้วิจัยในฐานะผู้รับผิดชอบวิชาจึงต้องการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวว่า สามารถทำให้เกิดผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยการวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาตามการรับรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตามการรับรู้ของผู้เรียนในวิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

 

กลุ่มตัวอย่าง     นักศึกษาปี 1 ที่จบการเรียนการสอนวิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 81 คน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามหมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ ใน มคอ.3 วิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีลักษณะเป็น Likert Scale 5 ระดับ โดย 5หมายถึงเห็นด้วยมากที่สุด  4หมายถึงเห็นด้วยมาก   3หมายถึงเห็นด้วยปานกลาง    2หมายถึงเห็นด้วยน้อย    และ 1หมายถึงไม่เห็นด้วย มีจำนวน 12 ข้อ
  2. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อความเหมาะสมของเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอนและเวลาที่ใช้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอิงตาม มคอ.3 วิชา สม.1103 การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ หมวดที่ 5.1 แผนการสอน มีจำนวน 16 ข้อ [...]

Tags: , , , ,

การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

ครั้งที่ 1 วันที่  2 ธันวาคม 2556  เวลา 13.30 – 14.30 น.

ณ ห้องประชุมกลุ่ม 1  อาคารอำนวยการชั้น 1 วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

 

  1. เรื่อง  การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย                    และการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  9  คน  ได้แก่
    1. ดร.พรฤดี              นิธิรัตน์            ประธานกลุ่ม
    2. อ. สุมาลี               ราชนิยม                    สมาชิก
    3. อ. คณิสร              แก้วแดง          สมาชิก
    4. อ. รัชสุรีย์             จันทเพชร        สมาชิก
    5. อ. จริยาพร            วรรณโชติ         สมาชิก
    6. อ. สุภา                คำมะฤทธิ์        สมาชิก
    7. อ. จารุณี              ตฤณมัยทิพย์     สมาชิก
    8. อ. จารุวรรณ์          ท่าม่วง            สมาชิก
    9. อ. รัชชนก             สิทธิเวช           เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1. แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการในปีการศึกษา 2556  ควรมีแนวทางดังนี้

1.1 ฝ่ายวิจัยฯจัดโครงการเชิงกลยุทธ์เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านกระบวนการวิจัยทั้งหมด  ประเด็นการวิจัยที่น่าสนใจ  การละเมิดลิขสิทธิ์วิจัย  โดยจัดปีละ 1 ครั้ง  เริ่มโครงการ แรกในปีการศึกษา 2556 ทั้งนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทุกคนได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

1.2 ฝ่ายวิจัยฯจัดอบรมการเขียนตำรา  โดยส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนได้เข้าร่วมประชุม  และมีอาจารย์ที่สนใจเขียนตำราและผลิตผลงานให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2558

1.3 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยฯ ประชาสัมพันธ์แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในที่ประชุมอาจารย์  เพื่อให้มีหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานภายนอกที่นำผลงานวิจัยไปใช้  โดยงานวิจัย 1 เรื่อง  นำไปใช้ได้หลายประเด็นแต่ต้องไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน  และควรสอดคล้องกับข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ดังที่ปรากฏในเล่มหรือบทความวิจัยนั้น ๆ

1.4  ฝ่ายวิจัยฯ มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีการผลิตผลงานด้านการวิจัยและงานวิชาการ  ซึ่งศึกษาได้จากคู่มือฝ่ายวิจัยฯที่ได้แจกให้หัวหน้าภาควิชา 1 เล่ม และกรรมการวิจัยของแต่ละภาควิชา 1 เล่ม ขอให้กรรมการในภาควิชาช่วยประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดย ทั่วกัน  เช่น  การให้ลาไปผลิตผลงาน   การมีผู้ช่วยในการจัดซื้อจัดจ้าง   การมีแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย  เป็นต้น

 ดร.พรฤดี  นิธิรัตน์

อ. สุมาลี   ราชนิยม

อ. คณิสร              แก้วแดง

อ. รัชสุรีย์   จันทเพชร

อ. จริยาพร  วรรณโชติ

อ. สุภา   คำมะฤทธิ์

อ. จารุณี   ตฤณมัยทิพย์

อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง         อ. รัชชนก  สิทธิเวช

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

1. การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ ควรมีการพัฒนา                อย่างสม่ำเสมอ  และประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทุกคนได้มีการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว

2. ฝ่ายวิจัยฯควรมีการจัดโครงการเชิงกลยุทธ์  มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน                  ให้อาจารย์มีการผลิตผลงานด้านการวิจัยและงานวิชาการ  รวมทั้งการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

          ดำเนินการจัดโครงการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการ          ของอาจารย์ภายในปีการศึกษา 2557  ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีการผลิตผลงานด้านการวิจัยและ                งานวิชาการแล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2558  รวมทั้งติดตามหลักฐานการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์            เป็นประจำทุกปี

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 1 เวลา 14.30 น.

 

 

 

(นางรัชชนก   สิทธิเวช)  ผู้จดบันทึก

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

 

Tags: , , ,

การแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ “Paliative care’

รายงานการประชุมชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)

หัวข้อ : Palliative care

วันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 10.00-12.00 น.

ณ ห้องรับรอง อาคารอำนวยการ

ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน

  1. อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร
  2. อ.สุชาดา     นิ้มวัฒนากุล
  3. อ.สาคร     พร้อมเพราะ
  4. อ.รัชสุรีย์    จันทเพชร
  5. อ.นวนันท์    ปัทมสุทธิกุล
  6. อ. สุปราณี  ฉายวิจิตร
  7. อ. ขวัญสุวีย์  อภิจันทรเมธากุล
  8. ดร. ทองสวย สีทานนท์
  9. อ. ยศพล     เหลืองโสมนภา
  10. อ.ปาลีรัญญ์  ฐาสิรสวัสดิ์
  11.  อ.รสสุคนธ์  เจริญสัตย์สิริ
  12. อ.รุ่งนภา    เขียวชะอ่ำ
  13. อ.จริยาพร   วรรณโชติ
  14. อ.นุชนาถ    ประกาศ
  15. อ.สุกัญญา   ขันวิเศษ
  16. อ.ปัทมา      บุญช่วยเหลือ
  17. อ.สุภา       คำมะฤทธิ์
  18. อ.อรพรรณ  บุญลือ
  19. อ.ปรีดาวรรณ บุญมาก

สรุปสาระสำคัญการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 พรบ. สุขภาพแห่งชาติ  2550  ม. 12  กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเลือกจะหยุดการยืดชีวิตแต่ในสังคมไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับกว้างถึงระดับ Mercy killing พรบ.จึงรักษาสิทธิให้กับผู้ป่วยระบุ good dead+ living will ได้ตามสิทธิผู้ป่วย (พรบ.มาตรา 53, 54, 55 ของรัฐธรรมนูญ 2550) สภาการพยาบาลจึงส่งเสริมพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลสนับสนุนจุดประสงค์ดังกล่าวและรองรับการพยาบาลดูแลในช่วงหลังจำหน่าย   ซึ่งบทบาทพยาบาลสามารถมีสมรรถนะดูแลช่วงรอยต่อนี้ในชุมชนได้ในบทบาท caregiver + support + coaching ฯลฯ

พ.ศ. 2556 สภาได้รับการสนับสนุนทุนจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำโครงการอบรมการ training for the trainer of palliative care ให้ผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง ดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน โดยเริ่มจากพยาบาล > ต่อไปทำอสม. > Caregiver specific care (Home ward) ความคาดหวังจากสภาการพยาบาลต่อผู้เข้าอบรม คือ

  1. ไปอบรมกลุ่มพยาบาลในพื้นที่ที่เรารับผิดชอบให้มีสมรรถนะการดูแลแบบ palliative care
  2. ส่งเสริมหน้าที่ประชาชนให้สามารถดูแลกันเองให้ผู้ป่วยเรื้อรังอยู่ในครอบครัว

ต่อไปสภาจะสร้างแนวความรู้ใช้เป็น Guidelines ของผู้ป่วย ผู้ใหญ่และเด็ก จะประกาศใช้ทั้งประเทศต่อไป มติ กระทรวงสาธารณสุขให้พยาบาลดู dependent aging ส่วน Semi – dependent ให้ อสม. ดู ดังนั้นสภาจะขอให้ APN (2000+คน) เปิดคลินิกการพยาบาลการผดุงครรภ์เพื่อดูแลกลุ่ม palliative ให้ทั่วถึง

จุดประสงค์ที่สภาการพยาบาลสร้างหลักสูตรฯ เนื่องจากแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้น ประชากรกลุ่มโรคเรื้อรังสูญเสียปีที่มีสุขภาพดี (DALY’S LOSS) มากกว่ากลุ่มโรคไม่เรื้อรังจำนวน 3 เท่า ประชากรที่มีอายุมากขึ้นแนวโน้มที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขและสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึง มอบหมายให้พยาบาลดูแลโดยใช้บทบาทอิสระ dependent care (สภากำลังผลักดันให้ APN เปิดคลินิกได้เพื่อเป็น case manager รองรับผู้ป่วย Palliative)

กระบวนการพยาบาลสำหรับ Palliative care ไม่ใช่ประเมินโรคแต่เน้นประเมินคน ถึงแม้โรคไม่หายก็มีความผาสุกได้โดยใช้เครื่องมือจำเพาะคือ ESAS (Edmonton symptom assessment scale) and   PPS (Palliative performance scale)    การสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้มี trust เกิดขึ้นระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย bio + pain & Psychosocial control > Psychosocial + experience > Spiritual + expectation เพื่อ- ลด suffering และเพิ่ม QOL ให้มี Holistic well being การ approach ที่ดีถือเป็น therapeutic ไปในตัว ถึงแม้การรักษาสิ้นสุดลงแล้ว แต่พยาบาลจะไม่ละทิ้งผู้ป่วยต้องทำ bereavement care (การบรรเทาความทุกข์โศกจากการเสียชีวิต) กับญาติด้วย

มิติของประเมิน

  1. Background  (ภูมิหลัง อาการที่ทุกข์ทรมาน)
  2. Physical  symptom
  3. Psychological  and  meaning of life
  4. Social  circumstance
  5. Spiritual  needs  and growth (การปล่อยวาง การให้อภัย)
  6. Practical  needs & anticipatory  planning  for death

          [...]

Tags: , , ,

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 2

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

สรุปผลการดำเนินการ CoP ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2557

วันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 – 10.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

……………………………………………………………………….

1. เรื่อง “กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”

2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้

          เพื่อเป็นการสรุปผลการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ รายวิชา พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2

3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ได้แก่

          1. นางขนิษฐา             เมฆกมล           ประธานกลุ่ม

2. นางธนพร               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม

3. นางทิพวรรณ           ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม

4. นางจันทรมาศ          เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม

5. นางสาวเพ็ญนภา       พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม

6. นางสาวชญาดา         เนตร์กระจ่าง     สมาชิกกลุ่ม

7. นางจันทร์เพ็ญ                   อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม

8. นางอารีรัตน์            วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม

9. นางสาวจรัญญา        ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม

10. นางสาววรัญญา       ชลธารกัมปนาท  สมาชิกกลุ่ม

11. นางสาวกรรณิการ์    แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม

12. นางสาวกฤษณี        สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม

13. นางสาวจารุวรรณ์    ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

 

1. สรุปผลการดำเนินการ

การดำเนินการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา    พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษาที่ 2/ปีการศึกษา 2556 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.1 ก่อนนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาโดยการสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.2 ภายหลังการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษา ได้มีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาเป็น   รายกลุ่มเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนและครอบครัว โดยได้เพิ่มเนื้อหาการเรียนการสอนที่ซับซ้อนขี้น ใช้เวลาในการปฐมนิเทศรายวิชาให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่อง     การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม การป้อนนมทารกด้วยวิธีการต่างๆ นมแม่..เมื่อลูกป่วย โดยใช้สื่อการสอนวิดิโอ และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และให้มีการอภิปรายซักถามเพิ่มเติม

1.3 ในขณะฝึกปฏิบัติงานนักศึกษามีการนำความรู้ไปให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวรายบุคคลเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งนักศึกษามีการตรวจและประเมินเต้านม หัวนม ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาหัวนม เต้านมในระยะหลังคลอด ให้คำแนะนำในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม การป้อนนมทารกด้วยวิธีการต่างๆ ร่วมกับนักศึกษาบางกลุ่มมีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด เช่น การนำลูกประคบมาใช้ในการเพิ่มการหลั่งของน้ำนม  การนำกะหล่ำปลีมาช่วยลดอาการนมคัด  การใช้ถุงถั่วเขียวและสมุนไพรมาประคบแก้ไขปัญหา  คัดตึงเต้านม

1.4 อาจารย์นิเทศสังเกตการให้ความรู้ คำแนะนำของนักศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่นักศึกษา

1.5 หลังการขึ้นฝึกปฏิบัติงานมีการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาโดยสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

2. สรุปผลการประเมิน พบว่า

2.1 จากการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน พบว่าความรู้และทัศนคติของนักศึกษาอยู่ในระดับดี แต่การสอบถามมั่นใจในการนำความรู้ไปให้คำแนะนำพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจ

2.2 จากการสังเกตการให้ความรู้ คำแนะนำของนักศึกษาขณะปฏิบัติงาน ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า พบว่านักศึกษาสามารถให้ความรู้และคำแนะนำได้ แต่การปฏิบัติในแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความยาก เช่น มารดาที่มีปัญหาเต้านมคัดมากๆ  หัวนมแตก  น้ำนมไม่ไหล  การจัดท่าทารก นักศึกษายังขาดความรู้และความมั่นใจและต้องเจ้าหน้าที่จากคลินิกนมแม่มาช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอดพบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

2.3 การประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังขึ้นฝึกปฏิบัติงาน พบว่าความรู้และทัศนคติของนักศึกษาอยู่ในระดับดี และนักศึกษาส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น

3. ข้อเสนอแนะจากทีม CoP นมแม่ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ควรวางแผนเพิ่มการให้ความรู้ด้านทักษะการปฏิบัติแก่นักศึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งทางด้านมารดาและทารก เนื่องจากนักศึกษายังขาดการนำความรู้และทักษะไปใช้ในการปฏิบัติการดูแลให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ซับซ้อน และควรส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย                                                                                             อ.จารุวรรณ์  ท่าม่วง

ผู้บันทึก

Tags: , ,

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน CoP ภาคสูติฯ ครั้งที่ 2 ปี 2557

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

สรุปผลการดำเนินการ CoP ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2557

วันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 – 10.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

……………………………………………………………………….

1. เรื่อง “กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”

2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้

          เพื่อเป็นการสรุปผลการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ รายวิชา พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2

3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ได้แก่

          1. นางขนิษฐา             เมฆกมล           ประธานกลุ่ม

2. นางธนพร               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม

3. นางทิพวรรณ           ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม

4. นางจันทรมาศ          เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม

5. นางสาวเพ็ญนภา       พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม

6. นางสาวชญาดา         เนตร์กระจ่าง     สมาชิกกลุ่ม

7. นางจันทร์เพ็ญ                   อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม

8. นางอารีรัตน์            วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม

9. นางสาวจรัญญา        ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม

10. นางสาววรัญญา       ชลธารกัมปนาท  สมาชิกกลุ่ม

11. นางสาวกรรณิการ์    แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม

12. นางสาวกฤษณี        สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม

13. นางสาวจารุวรรณ์    ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

 

1. สรุปผลการดำเนินการ

การดำเนินการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา    พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษาที่ 2/ปีการศึกษา 2556 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ [...]

Tags: , ,