กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน CoP ภาคสูติฯ ครั้งที่ 2 ปี 2557
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
สรุปผลการดำเนินการ CoP ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2557
วันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 – 10.30 น.
ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
……………………………………………………………………….
1. เรื่อง “กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”
2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้
เพื่อเป็นการสรุปผลการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ รายวิชา พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ได้แก่
1. นางขนิษฐา เมฆกมล ประธานกลุ่ม
2. นางธนพร ศนีบุตร สมาชิกกลุ่ม
3. นางทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ สมาชิกกลุ่ม
4. นางจันทรมาศ เสาวรส สมาชิกกลุ่ม
5. นางสาวเพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ สมาชิกกลุ่ม
6. นางสาวชญาดา เนตร์กระจ่าง สมาชิกกลุ่ม
7. นางจันทร์เพ็ญ อามพัฒน์ สมาชิกกลุ่ม
8. นางอารีรัตน์ วิเชียรประภา สมาชิกกลุ่ม
9. นางสาวจรัญญา ดีจะโปะ สมาชิกกลุ่ม
10. นางสาววรัญญา ชลธารกัมปนาท สมาชิกกลุ่ม
11. นางสาวกรรณิการ์ แซ่ตั๊ง สมาชิกกลุ่ม
12. นางสาวกฤษณี สุวรรณรัตน์ สมาชิกกลุ่ม
13. นางสาวจารุวรรณ์ ท่าม่วง เลขานุการกลุ่ม
1. สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา พย.1424/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษาที่ 2/ปีการศึกษา 2556 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ก่อนนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาโดยการสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1.2 ภายหลังการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษา ได้มีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาเป็น รายกลุ่มเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนและครอบครัว โดยได้เพิ่มเนื้อหาการเรียนการสอนที่ซับซ้อนขี้น ใช้เวลาในการปฐมนิเทศรายวิชาให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม การป้อนนมทารกด้วยวิธีการต่างๆ นมแม่..เมื่อลูกป่วย โดยใช้สื่อการสอนวิดิโอ และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และให้มีการอภิปรายซักถามเพิ่มเติม
1.3 ในขณะฝึกปฏิบัติงานนักศึกษามีการนำความรู้ไปให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวรายบุคคลเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งนักศึกษามีการตรวจและประเมินเต้านม หัวนม ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาหัวนม เต้านมในระยะหลังคลอด ให้คำแนะนำในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม การป้อนนมทารกด้วยวิธีการต่างๆ ร่วมกับนักศึกษาบางกลุ่มมีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด เช่น การนำลูกประคบมาใช้ในการเพิ่มการหลั่งของน้ำนม การนำกะหล่ำปลีมาช่วยลดอาการนมคัด การใช้ถุงถั่วเขียวและสมุนไพรมาประคบแก้ไขปัญหา คัดตึงเต้านม
1.4 อาจารย์นิเทศสังเกตการให้ความรู้ คำแนะนำของนักศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่นักศึกษา
1.5 หลังการขึ้นฝึกปฏิบัติงานมีการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาโดยสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. สรุปผลการประเมิน พบว่า
2.1 จากการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน พบว่าความรู้และทัศนคติของนักศึกษาอยู่ในระดับดี แต่การสอบถามมั่นใจในการนำความรู้ไปให้คำแนะนำพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจ
2.2 จากการสังเกตการให้ความรู้ คำแนะนำของนักศึกษาขณะปฏิบัติงาน ณ ตึกสูติกรรมชั้น 3 โรงพยาบาลพระปกเกล้า พบว่านักศึกษาสามารถให้ความรู้และคำแนะนำได้ แต่การปฏิบัติในแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความยาก เช่น มารดาที่มีปัญหาเต้านมคัดมากๆ หัวนมแตก น้ำนมไม่ไหล การจัดท่าทารก นักศึกษายังขาดความรู้และความมั่นใจและต้องเจ้าหน้าที่จากคลินิกนมแม่มาช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอดพบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
2.3 การประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังขึ้นฝึกปฏิบัติงาน พบว่าความรู้และทัศนคติของนักศึกษาอยู่ในระดับดี และนักศึกษาส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
3. ข้อเสนอแนะจากทีม CoP นมแม่ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ควรวางแผนเพิ่มการให้ความรู้ด้านทักษะการปฏิบัติแก่นักศึกษาในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งทางด้านมารดาและทารก เนื่องจากนักศึกษายังขาดการนำความรู้และทักษะไปใช้ในการปฏิบัติการดูแลให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ซับซ้อน และควรส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย อ.จารุวรรณ์ ท่าม่วง
ผู้บันทึก