การจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

ครั้งที่ 1 วันที่  10 กุมภาพันธ์  2557  เวลา  14.00 – 15.00 น.

ณ ห้องพักครูวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน   วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

 

เรื่อง  การจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความรู้และประสบการณ์ในการดูแลและจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  10  คน  ได้แก่

  1. นางราตรี  อร่ามศิลป์
  2. นางพัทธยา      เกิดกุล
  3. นางนันทวัน     ใจกล้า
  4. ดร.พรฤดี       นิธิรัตน์
  5. นางจารุณี     ตฤณมัยทิพย์
  6. นางสาวลลิตา   เดชาวุธ
  7. นายทองใหญ่   วัฒนศาสตร์
  8. นางสาววรรณศิริ   ประจันโน
  9. นางสาวเสาวภา   เล็กวงษ์
  10. นางสาวสายใจ  จารุจิตร

 

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1. ประเด็นปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านในการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาพย.1412นศ.ชั้นปี 4
  1. จากการสอนนักศึกษาภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการ

พยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ในภาคการศึกษาที่ 2 ของ นศ.ชั้นปี 4 พบว่ามีประเด็นปัญหาและประสบการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจโดยเลือกกรณีผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อนำไปสู่การกำหนดประเด็นความรู้และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน ดังนี้

ประเด็นการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน

1.1     พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีการรักษา และได้รับยาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและ โรงพยาบาล พปก. ยาที่ได้รับมีการเก็บรักษาโดยใส่ถุงที่ได้รับมาจากรพ. วางในตำแหน่งหยิบใช้สะดวก

1.2     การรับประทานยาส่วนใหญ่รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด แต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุมักมองไม่เห็นคำอธิบายหน้าซองยาจะใช้การจำลักษณะตัวยาหรือแผ่นหุ้มยา ทำให้พบการรับประทานยาผิดขนาด และผิดเวลา นอกจากนั้นในบางรายจะมีการลด หรือเพิ่มขนาดยาเองตามความรู้สึกต่ออาการของตนเอง และพบว่ามีการลืมรับประทานยา/ไม่แน่ใจว่ารับประทานไปหรือยัง จึงพบว่าเมื่อไปเยี่ยมปริมาณยาที่เหลือไม่สัมพันธ์กับยาที่ได้รับมา

1.3      การดูแลเรื่องยาของผู้ดูแลในบ้านผู้ดูแลจะเป็นผู้ที่คอยติดตามการรับประทายยาในผู้ป่วยได้ดี ทำให้ไม่พบปัญหาการใช้ยา

1.4     ในการรักษาโดยใช้ยาฉีด พบปัญหาผู้สูงอายุมักมองเห็นตัวเลขที่ข้าง syringe ไม่ชัดเจน มีโอกาสได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่กำหนด ผู้ป่วยสามารถฉีดยาเองได้เป็นส่วนใหญ่ มีการเก็บยาในตู้เย็นถูกต้อง อีกประเด็นที่พบคือช่วงระยะเวลาในการฉีดยากับการรับประทานอาหารมีบางรายที่พบว่าหลังฉีดยาแล้วลืมรับประทานอาหาร จนเริ่มมีอาการจึงนึกได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่คนเดียวจะต้องเตรียมอาหารเองมักจะรับประทานอาหารเลยเวลาหลังฉีดยามากกว่า 30  นาที

นางราตรี  อร่ามศิลป์

นางพัทธยา เกิดกุล

นางนันทวัน ใจกล้า

ดร.พรฤดี นิธิรัตน์

นางจารุณี ตฤณมัยทิพย์

นางสาวลลิตา เดชาวุธ

นายทองใหญ่ วัฒนศาสตร์

นางสาววรรณศิริ ประจันโน

นางสาวเสาวภา เล็กวงษ์

นางสาวสายใจ จารุจิตร

2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชาพย. 1412 และ 1310 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชา พย.1412  ผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้2.1 ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเน้นการทำความเข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลทั้งเรื่องขนาดยา เวลา โดยการนำความรู้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้

ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

1.2   เน้นให้นศ.รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้ป่วย

และผู้ดูแลเกี่ยวกับยาที่ได้รับ ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการใช้ยา

1.3   ติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยจนมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับยา

ตามแนวทางการรักษาของแพทย์

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

  1. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านพบว่าเรื่องการใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาในการดูแลจึงจำเป็นต้องคอยติดตาม ทำความเข้าใจและตรวจสอบความเข้าใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาของแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงการให้ยาอยู่เสมอ

 

แนวทางการนำความรู้ไปใช้ [...]

Tags: , ,

COP การสอนแนะ (coaching) รายวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล

ครั้งที่ 3 วันที่  3 มกราคม  2557  เวลา 14.00 – 15.00 น.

ณ ห้องพักครูภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล  อาคารคสล. 6 ชั้น  วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

 

  1. เรื่อง  การสอนแนะ (coaching)
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  14  คน  ได้แก่
    1. อ. จิตติยา             สมบัติบูรณ์       ประธานกลุ่ม
    2. ดร.ศรีสกุล             เฉียบแหลม     สมาชิก
    3. อ. โสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล      สมาชิก
    4. อ. พุฒตาล            มีสรรพวงศ์      สมาชิก
    5. อ. ภโวทัย             พาสนาโสภณ  สมาชิก
    6. อ. สุมาลี               ราชนิยม           สมาชิก
    7. อ. ธัสมน              นามวงษ์           สมาชิก
    8. อ. คณิสร              แก้วแดง          สมาชิก
    9. อ. นิศารัตน์           รวมวงษ์          สมาชิก
    10. อ. จีราภา             ศรีท่าไฮ           สมาชิก
    11. อ. วิภารัตน์           ภิบาลวงษ์       สมาชิก
    12. อ. บุษยารัตน์         ลอยศักดิ์       สมาชิก
    13. อ. จันจิรา             หินขาว             สมาชิก
    14. อ. รัชชนก            สิทธิเวช           เลขานุการ

 

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1. ข้อดีการนำ  การสอนแนะไปใช้ในวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  (นักศึกษาชั้นปีที่ 4) การนำการสอนแนะไปใช้ในวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  พบว่ามีข้อดีเพิ่มเติมจากการนำการสอนแนะไปใช้ในวิชาภาคทดลอง  ดังนี้1.1 ลดการเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น  เข็มตำมือ  มีดบาดมือ  ความผิดพลาดในการให้ยา  เป็นต้น1.2 ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีให้เหมาะสมกับการปฏิบัติในแต่ละแหล่งฝึก

1.3 ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้เรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1.4 ผู้เรียนทราบถึงข้อเด่นและข้อที่ควรพัฒนาตนเองเป็น รายบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลวิชาชีพ

1.5 ผู้เรียนและผู้สอนมีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  รวมทั้งมีการแบ่งปันเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน

 

อ. จิตติยา  สมบัติบูรณ์ดร.ศรีสกุล  เฉียบแหลมอ. โสภา  ลี้ศิริวัฒนกุล

อ. พุฒตาล  มีสรรพวงศ์

อ. ภโวทัย   พาสนาโสภณ

อ. สุมาลี   ราชนิยม

อ. ธัสมน  นามวงษ์

อ. คณิสร แก้วแดง

อ. นิศารัตน์  รวมวงษ์

อ. จีราภา  ศรีท่าไฮ

อ. วิภารัตน์  ภิบาลวงษ์

อ. บุษยารัตน์  ลอยศักดิ์

อ. จันจิรา  หินขาว

อ. รัชชนก  สิทธิเวช

2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนวิชา ปฏิบัติหลักการ และเทคนิคการพยาบาล  สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนวิชา ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล  ผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้2.1 ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงแนวทางการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการปฏิบัติงาน  และการนำความรู้ต่าง ๆไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย2.2 มีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล   เช่น  การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเหตุผลของการปฏิบัติการพยาบาลแต่ละกิจกรรม  โดยให้ผู้เรียนค้นคว้าคำตอบด้วยตนเองและนำมาอภิปรายร่วมกัน   นำตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วยมาคิดวิเคราะห์ร่วมกัน  เป็นต้น

2.3 มีการอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเทคนิคการพยาบาลที่มีความแตกต่างกันเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติงาน  แต่อยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักการ

2.4 รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้เรียนด้วยความเข้าใจ   รวมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เรียนเพิ่งเริ่มต้นการฝึกปฏิบัติงาน  ต้องได้รับการฝึกทักษะเพิ่มเติม

2.5 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย  และมีวิธีการหาคำตอบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2.6 บอกข้อเด่นและข้อที่ควรพัฒนาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามความเหมาะสม

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

1. การสอนแนะมีข้อดีหลายประการที่ช่วยทำให้บรรลุวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้

2. การนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลควรมีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม

 

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

นำวิธีการสอนแนะไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ วิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล  ปีการศึกษา 2556  โดยดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติเพื่อนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนวิชา ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

 

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 3 เวลา 15.00 น.

 

 

 

(นางรัชชนก   สิทธิเวช)  ผู้จดบันทึก

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

 

Tags: , , ,

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน CoP ภาคสูติฯ ครั้งที่ 3 ปี 2557

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

สรุปผลการดำเนินการ CoP ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2557

วันที่ 6 มกราคม 2556 เวลา 10.00 – 10.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

……………………………………………………………………….

1. เรื่อง “กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”

2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้

          เพื่อเป็นการวางแผนการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ รายวิชา พย.1322 B/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 B

3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ได้แก่

          1. นางขนิษฐา             เมฆกมล           ประธานกลุ่ม

2. นางธนพร               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม

3. นางทิพวรรณ           ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม

4. นางจันทรมาศ          เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม

5. นางสาวเพ็ญนภา       พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม

6. นางสาวชญาดา         เนตร์กระจ่าง     สมาชิกกลุ่ม

7. นางจันทร์เพ็ญ                   อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม

8. นางอารีรัตน์            วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม

9. นางสาวจรัญญา        ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม

10. นางสาววรัญญา       ชลธารกัมปนาท  สมาชิกกลุ่ม

11. นางสาวกรรณิการ์    แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม

12. นางสาวกฤษณี        สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม

13. นางสาวจารุวรรณ์    ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

 

1. การวางแผนดำเนินการ

การวางแผนดำเนินการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา พย.1322 B/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1B ณ แหล่งฝึกห้องคลอดต่างจังหวัด สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ในภาคการศึกษาที่ 3/ปีการศึกษา 2556 มีการวางแผนการดำเนินงานโดยการจัดทำโครงการบูรณาการรายวิชาพย.1322 B กับการบริการวิชาการ เรื่อง นมแม่…เรื่องน่ารู้สู่การปฎิบัติ ซึ่งมีรายละเอียดการวางแผนดำเนินการ ดังนี้ [...]

Tags: , ,

กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 3

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

สรุปผลการดำเนินการ CoP ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2557

วันที่ 6 มกราคม 2556 เวลา 10.00 – 10.30 น.

ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

……………………………………………………………………….

1. เรื่อง “กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”

2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้

          เพื่อเป็นการวางแผนการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ รายวิชา พย.1322 B/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 B

3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ได้แก่

          1. นางขนิษฐา             เมฆกมล           ประธานกลุ่ม

2. นางธนพร               ศนีบุตร           สมาชิกกลุ่ม

3. นางทิพวรรณ           ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิกกลุ่ม

4. นางจันทรมาศ          เสาวรส           สมาชิกกลุ่ม

5. นางสาวเพ็ญนภา       พิสัยพันธุ์         สมาชิกกลุ่ม

6. นางสาวชญาดา         เนตร์กระจ่าง     สมาชิกกลุ่ม

7. นางจันทร์เพ็ญ                   อามพัฒน์         สมาชิกกลุ่ม

8. นางอารีรัตน์            วิเชียรประภา    สมาชิกกลุ่ม

9. นางสาวจรัญญา        ดีจะโปะ          สมาชิกกลุ่ม

10. นางสาววรัญญา       ชลธารกัมปนาท  สมาชิกกลุ่ม

11. นางสาวกรรณิการ์    แซ่ตั๊ง             สมาชิกกลุ่ม

12. นางสาวกฤษณี        สุวรรณรัตน์      สมาชิกกลุ่ม

13. นางสาวจารุวรรณ์    ท่าม่วง            เลขานุการกลุ่ม

 

1. การวางแผนดำเนินการ

การวางแผนดำเนินการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงสู่การเรียนการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา พย.1322 B/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1B ณ แหล่งฝึกห้องคลอดต่างจังหวัด สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ในภาคการศึกษาที่ 3/ปีการศึกษา 2556 มีการวางแผนการดำเนินงานโดยการจัดทำโครงการบูรณาการรายวิชาพย.1322 B กับการบริการวิชาการ เรื่อง นมแม่…เรื่องน่ารู้สู่การปฎิบัติ ซึ่งมีรายละเอียดการวางแผนดำเนินการ ดังนี้

1.1 ก่อนนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ณ แหล่งฝึกต่างจังหวัด จะดำเนินการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษาโดยการสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย    นมแม่ (Pre-test)

1.2 ภายหลังการประเมินความรู้และทัศนคติของนักศึกษา จะดำเนินการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาเป็นรายกลุ่มเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว     ในเคสที่นักศึกษาทำคลอดและต้องไปติดตามเยี่ยมเคสหลังคลอด โดยจะดำเนินการให้ความรู้และเพิ่มเติมทักษะปฏิบัติให้กับนักศึกษา เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าในการให้นมและการให้ลูกอมหัวนม การป้อนนมทารกด้วยวิธีการต่างๆ นมแม่..เมื่อลูกป่วย โดยใช้สื่อการสอนวิดิโอ และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้ Power point การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และให้มีการอภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม

1.3 ในขณะนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน วางแผนให้นักศึกษานำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย  นมแม่ไปให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวในเคสของตนเองที่ตนเองทำคลอดและติดตามเยี่ยมหลังคลอด และให้ผู้รับบริการประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา

1.4 อาจารย์นิเทศแต่ละแหล่งฝึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาทุกครั้งที่ไปนิเทศเกี่ยวกับผลของการนำความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปบริการวิชาการแก่ผู้รับบริการ

1.5 หลังสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานจะดำเนินการประเมินนักศึกษาโดยสอบถามความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.6 สมาชิก CoP นมแม่ ร่วมกันทำ AAR เพื่อวางแผนการดำเนินการโครงการครั้งต่อไป

2. ข้อเสนอแนะจากทีม CoP นมแม่ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

2.1 ควรมีการให้นักศึกษาบันทึกข้อมูลการนำความรู้ในแต่ละเรื่องไปให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการโดยอาจไม่ใช่ความรู้ทั้งหมดแต่เป็นความรู้ที่ตรงกับปัญหาของผู้รับบริการ

2.2 การให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว นักศึกษาสามารถรวมกันให้คำแนะนำแก่มารดาและครอบครัวที่อยู่ในตึกเดียวกันได้เพื่อให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจ

2.3 การประเมินผลควรประเมินให้ครบถ้วนทั้งจากผู้รับบริการ นักศึกษาและจากการประเมินจากอาจารย์แต่ละครั้งที่ไปนิเทศซึ่งไม่ใช่ความพึงพอใจเพียงด้านเดียว                                                                                                                                อ.จารุวรรณ์  ท่าม่วง

ผู้บันทึก

Tags: , ,

แนวปฏิบัติการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิก

Tags: , , ,