การจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
ครั้งที่ 1 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14.00 – 15.00 น.
ณ ห้องพักครูวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
เรื่อง การจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน
วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความรู้และประสบการณ์ในการดูแลและจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน ได้แก่
- นางราตรี อร่ามศิลป์
- นางพัทธยา เกิดกุล
- นางนันทวัน ใจกล้า
- ดร.พรฤดี นิธิรัตน์
- นางจารุณี ตฤณมัยทิพย์
- นางสาวลลิตา เดชาวุธ
- นายทองใหญ่ วัฒนศาสตร์
- นางสาววรรณศิริ ประจันโน
- นางสาวเสาวภา เล็กวงษ์
- นางสาวสายใจ จารุจิตร
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ |
สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เรื่องเล่าความสำเร็จ) |
อ้างอิง (ชื่อ-สกุล) |
1. ประเด็นปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านในการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาพย.1412นศ.ชั้นปี 4 |
พยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ในภาคการศึกษาที่ 2 ของ นศ.ชั้นปี 4 พบว่ามีประเด็นปัญหาและประสบการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจโดยเลือกกรณีผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดประเด็นความรู้และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน ดังนี้ ประเด็นการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน 1.1 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีการรักษา และได้รับยาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและ โรงพยาบาล พปก. ยาที่ได้รับมีการเก็บรักษาโดยใส่ถุงที่ได้รับมาจากรพ. วางในตำแหน่งหยิบใช้สะดวก 1.2 การรับประทานยาส่วนใหญ่รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด แต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุมักมองไม่เห็นคำอธิบายหน้าซองยาจะใช้การจำลักษณะตัวยาหรือแผ่นหุ้มยา ทำให้พบการรับประทานยาผิดขนาด และผิดเวลา นอกจากนั้นในบางรายจะมีการลด หรือเพิ่มขนาดยาเองตามความรู้สึกต่ออาการของตนเอง และพบว่ามีการลืมรับประทานยา/ไม่แน่ใจว่ารับประทานไปหรือยัง จึงพบว่าเมื่อไปเยี่ยมปริมาณยาที่เหลือไม่สัมพันธ์กับยาที่ได้รับมา 1.3 การดูแลเรื่องยาของผู้ดูแลในบ้านผู้ดูแลจะเป็นผู้ที่คอยติดตามการรับประทายยาในผู้ป่วยได้ดี ทำให้ไม่พบปัญหาการใช้ยา 1.4 ในการรักษาโดยใช้ยาฉีด พบปัญหาผู้สูงอายุมักมองเห็นตัวเลขที่ข้าง syringe ไม่ชัดเจน มีโอกาสได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่กำหนด ผู้ป่วยสามารถฉีดยาเองได้เป็นส่วนใหญ่ มีการเก็บยาในตู้เย็นถูกต้อง อีกประเด็นที่พบคือช่วงระยะเวลาในการฉีดยากับการรับประทานอาหารมีบางรายที่พบว่าหลังฉีดยาแล้วลืมรับประทานอาหาร จนเริ่มมีอาการจึงนึกได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่คนเดียวจะต้องเตรียมอาหารเองมักจะรับประทานอาหารเลยเวลาหลังฉีดยามากกว่า 30 นาที |
นางราตรี อร่ามศิลป์
นางพัทธยา เกิดกุล นางนันทวัน ใจกล้า ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ นางจารุณี ตฤณมัยทิพย์ นางสาวลลิตา เดชาวุธ นายทองใหญ่ วัฒนศาสตร์ นางสาววรรณศิริ ประจันโน นางสาวเสาวภา เล็กวงษ์ นางสาวสายใจ จารุจิตร |
2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชาพย. 1412 และ 1310 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 | 2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการสอนวิชา พย.1412 ผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้2.1 ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเน้นการทำความเข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลทั้งเรื่องขนาดยา เวลา โดยการนำความรู้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้
ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 1.2 เน้นให้นศ.รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้ป่วย และผู้ดูแลเกี่ยวกับยาที่ได้รับ ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการใช้ยา 1.3 ติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยจนมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับยา ตามแนวทางการรักษาของแพทย์ |
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
- การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านพบว่าเรื่องการใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาในการดูแลจึงจำเป็นต้องคอยติดตาม ทำความเข้าใจและตรวจสอบความเข้าใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาของแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงการให้ยาอยู่เสมอ
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
- การสอนนักศึกษาภาคปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ในรายวิชาพย.1412 และ 1310 อาจารย์ควรเน้นให้นักศึกษาดูแลในเรื่องยาทุกครั้ง เพราะการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อระดับน้ำตาลในเลือดอันอาจส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตจากภาวะช็อคได้
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เวลา 15.00 น.
(นางสาววรรณศิริ ประจันโน)
(นางสาวเสาวภา เล็กวงษ์)
ผู้จดบันทึก
พยาบาลวิชาชีพ