การจัดการผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

ครั้งที่  2 วันที่  19  มิถุนายน 2557  เวลา 09.00-10.30 น.

……………………………………………………………………………

 

เรื่อง  การจัดการผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. นางราตรี         อร่ามศิลป์
  2. นางจารุณี        ตฤณมัยทิพย์
  3. นางสาวลลิตา    เดชาวุธ
  4. ดร.พรฤดี         นิธิรัตน์
  5. นายทองใหญ่     วัฒนศาสตร์
  6. นางสาวสายใจ   จารุจิตร
  7. นางสาววรรณศิริ   ประจันโน
  8. นางสาวเสาวภา    เล็กวงษ์

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ / ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อ้างอิง

  1. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จะมีแนวทางการดูแลอย่างไร
  2. ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน หลักการจะต้องมีการออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน   ส่วนการออกกำลังกาย จะต้องดูที่ ความหนัก ระยะเวลาในการออกกำลังกาย และความถี่ในการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานนั้นควรจะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก ควรมีระยะเวลาที่นานพอสมควรและควรทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่า การเดินเร็วเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะทำให้ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลงได้
  3. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน พบว่า มีความสัมพันธ์กับการไม่ออกกำลังกายและมีการควบคุมอาหารที่ไม่ดี
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่ดี จะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแรงสนับสนุนในครอบครัวมีหลายด้านด้วยกัน พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะได้รับแรงสนับสนุนในด้านอารมณ์ และเงินทองสิ่งของต่างๆ จะยังขาดในเรื่องของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรค
  5. พบว่าอิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ เพื่อน รองลงมาคือ การมีคนชวน  เพื่อนมีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน
  6. รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม คือ จะต้องประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การประเมินสภาพปัญหาของชุมชนนาผลมาจัดทำโครงการ โดยนักจัดการสุขภาพชุมชน

ระยะที่ 2 การวางแผนปฏิบัติการ จัดประชาคมชาวบ้านเพื่อหาแนวร่วมและเนื้อหาหลักสูตร ที่จัดอบรม

ระยะที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้จับคู่ผู้ดูแลสุขภาพและผู้ป่วยเบาหวานเข้าอบรมด้วยกัน จำนวน 3 วัน

ระยะที่ 4 การติดตามประเมินผล โดย ทีมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและ อสม. ออกติดตามเยี่ยมให้กำลังใจผู้ดูแลสุขภาพและผู้ป่วยพร้อมตรวจสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพ

 

Polikandrioti M. (2009)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาภา  ยังประดิษฐ

 

 

 

ทรรศนีย์  สิริวัฒนพรกุล และคณะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มยุเรศ ฤทธิ์ทรงเมือง และคณะ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

  1. สรุปปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เกิดจาก ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายได้
  2. แนวทางการดูแล  คือ  ควรจะมีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยยึดหลัก  3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ระดับครอบครัว ควรให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย ถ้ามีการปรับเปลี่ยนในระดับนโยบายร่วมด้วยก็จะดียิ่งขึ้น

นางสาวสายใจ  จารุจิตร

ผู้บันทึก

Print Friendly
ผู้เขียน อ.สายใจ จารุจิตร (ประวัติการเขียน 6 เรื่อง)


Tags: ,

Comments are closed.