สรุปการประชุมวิชาการ

สรุปการประชุมวิชาการ
ตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน
ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2556
การจัดกระบวนการการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ PLC
PLC เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพและคุณภาพของผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ร่วมมือ ร่วมใจ (Collaborative learning) การเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในพื้นที่ (field) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing learning) อย่างต่อเนื่อง
จุดเน้น ของ PLC
• เป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าการสอน
• การทำงานร่วมกัน
• ความรับผิดชอบต่อตนเอง

การเรียนรู้
สอนน้อย…..เรียนรู้มาก (Teach Less Learn More: TLLM)
การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนทั้งในและนอกห้องเรียน การสอนต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดใหม่ การวิเคราะห์รอบด้าน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมุ่งมั่นเพื่อการแสวงหาความรู้ เน้นคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เหตุผลของการจัดการเรียนรู้
1. ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดในมิติต่างๆ ได้แก่ ความต้องการความสนใจ แรงบันดาลใจ
2. กระตุ้นผู้เรียนให้ได้ใช้ศักยภาพของตนในการเรียนรู้
3. ช่วยผู้เรียนให้เกิดแนวคิดและการเรียนรู้ในสาระสำคัญของสิ่งที่เรียน
4. เตรียมผู้เรียนไปสู่การดำรงชีวิตในอนาคตมากกว่าการทดสอบต่างๆ
สิ่งที่จัดการเรียนรู้
1. คุณภาพของผู้เรียนทั้งตัวบุคคล
2. ความอยากรู้
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง
4. ความคิดวิจารณญาณ
5. กระบวนการเรียนรู้
6. ค่านิยม เจตคติ และระบบคิดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
7. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
วิธีการจัดการเรียนรู้
1. เชื่อมโยงสิ่งที่จัดการเรียนรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติ
2. เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แนะนำ เป็นตัวแบบให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
3. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
4. ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนรายบุคคล
5. ประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
6. ส่งเสริมจิตใจนวัตกรรม ความกล้าหาญในการสร้างสิ่งใหม่
การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1. การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1.1 ความรักความเมตตา
1.2 ใส่ใจข้อมูลของผู้รับบริการ
1.3 มีความเชิงระบบ
1.4 ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
1.5 ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
2. สุนทรียสนทนา
คือ ความสามารถในการสนทนาอย่างครุ่นคิด และผลิดอกออกผลเป็นกระบวนการพูดจา เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านการครุ่นคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ มุมมองใหม่ที่ผลิดอกออกผล เกิดการสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค

3. การคิดเชิงเป็นระบบ (System thinking)
3.1 สภาวะที่เป็นจริงของธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นวงกลม
3.2 แต่เรามักเห็นเป็นเส้นตรง เพราะกรอบความคิดแบบเชิงเส้น
3.3 ภาษาแบบเชิงเส้น เราจะเห็นเพียงการแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ
3.4 ภาษาแบบวงกลมเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน
3.5 ปัญหาปัจจุบันเกิดจากการแก้ปัญหาในอดีต
3.6 แรงกดดันยิ่งมาก แรงต้านยิ่งเยอะ
3.7 สิ่งต่างๆดูเหมือนจะดีในตอนต้น แต่กลับแย่ลงในตอนหลังทางออกง่ายๆ จะพาเรากลับมาที่เดิม
จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
คุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1) จิตบริการ (Service Mind)
2) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
3) การให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม (Participation)
ระบบครอบครัวเสมือน
เป็นการนำรากฐานความคิดของความรัก ความอบอุ่น ความมีมิตรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยของความเป็นครอบครัวในสังคมไทยมาเป็นรากฐานในการกำหนดคุณลักษณะที่มุ่งหวัง บทบาท หน้าที่ และกิจกรรมของครอบครัวเสมือนที่ให้แต่ละครอบครัวร่วมสร้างสภาวะครอบครัวเสมือนจริงอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณที่มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นวงจร เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การพัฒนานักศึกษาภายใต้ระบบครอบครัวเสมือนสู่จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบเชิงโครงสร้าง และรูปแบบเชิงกระบวนการ
รูปแบบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย
1. อาจารย์ มีบทบาทเป็นอาจารย์พ่อ อาจารย์แม่ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพ่อ แม่ของนักศึกษา อาจารย์ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพทุกปีการศึกษา
2. นักศึกษา มีบทบาทเป็นลูก โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จะถูกจัดแบ่งกุ่มคละกัน เข้าสู่ครอบครัว นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมในการทำบทบาทหน้าที่ของตนในครอบครัว ในบทบาทของลูกและพี่น้อง เรียนรู้บทบาทของตนเองและในครอบครัวและการอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุขในโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ทุกปีการศึกษา
3. บุคลากรสายสนับสนุน มีบทบาทเป็นลุง ป้า น้า อา ตามความเหมาะสมของวัยวุฒิในแต่ละครอบครัว โดยบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการเตรียมความพร้อมและเรียนรู้บทบาทหน้าที่ในครอบครัวในกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่พร้อมกับอาจารย์และนักศึกษาทุกปี
4. ผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับวิทยาลัย มีบทบาทเป็นปู่ ย่า ตา และยายในครอบครัวโดยความสมัครใจและเต็มใจ ทำหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวประดุจลูกหลาน มีการไปมาหาสู่กันในเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ ตลอดปีการศึกษา

รูปแบบเชิงกระบวนการ
การอยู่ร่วมกันของครอบครัวของครอบครัว จะใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา การฟังอย่างลึกซึ้ง การศึกษาด้วยใจที่ใคร่ครวญไม่ด่วนสรุป ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล โดยอาศัยโครงสร้างระบบครอบครัวเสมือนเป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างบริบท เนื่องจากครอบครัวเสมือนจะเป็นตัวเอื้อต่อการเกิดบรรยากาศคามเป็นกัลยาณมิตรระหว่างสมาชิกในครอบครัว และนำไปสู่การพัฒนาในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ด้วยการออกแบบกิจกรรมและใช้กิจกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่นการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และวัดและประเมินผลด้วยการถอดบทเรียน สรุปผล เรียนรู้ การสะท้องคิด เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Print Friendly
ผู้เขียน อ.สุภา คำมะฤทธิ์ (ประวัติการเขียน 2 เรื่อง)


Comments are closed.