สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวช

จากการเปิดเผยโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ว่า โครงสร้างของประชากรของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้เข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เกินร้อยละ 10 จากประชากรรวมทั้งสิ้น 66.5 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขแล้วก็น่าเป็นห่วง เพราะโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่พบได้มากในปัจจุบันคือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในคนอายุ 60-64 ปี 1-2 % อายุ 70-74 ปี 12% 80-84 ปี 31% จากตัวเลขเหล่านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางจิตเวชจะพบได้มากขึ้น โดยเฉพาะ Alzheimer และ Stroke เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่สามารถช่วยตัวเองได้มากนัก รวมทั้งการมีอาการทางจิตร่วมด้วยจะเป็นปัญหาแก่ตัวผู้ป่วย ครอบครัว โดยเฉพาะ Caregiver ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ที่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 8 ปี สิ่งสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ผู้สงบ และผู้ดูแลไม่เครียดจำถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาตั้งแต่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคม ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความก้าวหน้าในการรักษาโรคนี้ยังไม่ค่อยได้ผล และการดูแลสุขภาพจิตของ Caregiver จะป้องกันการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ เพราะในอนาคตในประเทศไทยโรคซึมเศร้าจะมาเป็นอันดับสอง รองจากหัวใจและหลอดเลือด

Tags: , , , ,

การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  เรื่อง “การดูแลสตรีติดเชื้อเอชไอวี ” จัดโดยสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์(ไทย) ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 4-5 เมษายน 2555 ณ โรงแรมมณเฑียรพัทยา จ.ชลบุรี …………………………………………………………… ผู้เขียน  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อ.ธนพร ศนีบุตร  อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์  อ.จันทรมาศ เสาวรส              อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์  อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์  อ.อารีรัตน์ วิเชียรประภา  อ.จรัญญา ดีจะโปะ      อ.วรัญญา ชลธารกัมปนาท  อ.จารุวรรณ ท่าม่วง สรุปผลรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           งานอนามัยแม่และเด็กได้ตั้งเป้าหมายของการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกต้องเท่ากับศูนย์ ซึ่งประเทศไทยได้มีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก เรียกว่า Preventing Mother-to-child Transmission (PMTCT) of HIV ไว้ดังนี้ [...]

Tags: , , , ,